วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

氷菓ศึกษา (3) ーお茶を飲むだけー



2月12日(土)
氷菓ศึกษา (3) ーお茶を飲むだけー

   ประเด็นศึกษาคราวนี้มาจากเล่ม 2 (愚者のエンドロール) ค่ะ แอบสารภาพว่าในบรรดาห้าเล่ม อ่านเล่มนี้บ่อยน้อยที่สุด เพราะเนื้อหาช่างหนักเหลือเกิน สงสารโฮทาโร่มาก เพราะอะไรน่ะเหรอ...ไม่บอกค่ะ เพราะไม่เกี่ยวกับเรื่องที่จะพูดถึง (ノ≧ڡ≦) ลองไปหาอ่านกันดูนะคะ

   เนื้อหาคร่าวๆ มีดังนี้ค่ะ

   ชมรมวรรณกรรมคลาสสิคได้รับเชิญให้ไปช่วยดูหนังที่นักเรียน ม.5 ห้อง F ทำขึ้นเพื่อฉายในงานวัฒนธรรมของโรงเรียน แต่ดันถ่ายทำไม่เสร็จเพราะคนเขียนป่วยจนเขียนต่อไม่ได้ เพื่อนร่วมห้องสามคนพยายามคิดเนื้อเรื่องต่อจากคนเขียนคนเดิมโดยอาศัยจากบันทึกที่เจ้าตัวจดไอเดียไว้ รุ่นพี่อิริสุ (入須先輩)ที่เป็นคนคุมงานต่อรู้จักกับจิทันดะเลยมาขอความเห็นจากคนนอกว่าไอเดียของใครน่าจะเป็นเนื้อเรื่องที่แท้จริงที่คนเขียนคนแรกตั้งใจจะเขียน

   หลังจากรับฟังความเห็นของทั้งสามคนแล้ว เย็นวันนั้นรุ่นพี่อิริสุก็ได้มายืนรอโฮทาโร่เพื่อจะขอคุย โดยเริ่มต้นด้วยประโยคนี้ค่ะ


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*



入須先輩 :「少し、お茶を飲むだけの時間を貰えないかな?」

不思議と、素直に首を 横 縦に振れた。




入須先輩 :「何か?」


奉太郎:「いや、茶というのが本当にお茶だと思いませんでした


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   ค่ะ ประโยคนี้แหละค่ะ

   お茶を飲むだけの時間を貰えないかな?」

   อย่างที่รู้กันว่าญี่ปุ่นเป็นชาติที่ชอบพูดอ้อมค้อม...อ้อมจนไม่รู้เรื่อง ปฏิเสธก็ไม่พูดตรงๆ ชวนก็ไม่ชวนตรงๆ พูดอย่างหนึ่งไพล่ไปถึงอีกอย่างหนึ่ง (โว้ะ!!) 

   การพูดแบบนี้เรียกว่า 「社交辞令」หรือแปลเป็นไทยว่า "คำพูดตามมารยาท" (วาทกรรมนั่นแล) ฟังแล้วต้องเอามาตีความต่ออีกทอดหนึ่ง เป็นที่น่าปวดเศียรเวียนเกล้าของเราๆ ชาวต่างชาติยิ่งนัก

   ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นเป็นสังคมแบบ High context culture ค่ะ คือพวกที่เข้าใจกันโดยไม่ใช้คำพูด ผลลัพธ์ก็คือการพูดอ้อมโลก การรักษาน้ำใจกันนี่แหละ คนญี่ปุ่นมีภาษาและนัยแฝงที่เป็นที่เข้าใจกันดีในกลุ่มเดียวกัน แต่สำหรับคนนอกอย่างเราแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องคอยเรียนรู้และจดจำเอาเองค่ะ

   สำหรับคนที่เรียนภาษาญี่ปุ่น สำนวนนี้คงเป็นสำนวนที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แม้ในสถานการณ์นี้อิริสุจะใช้เพื่อชวนไปดื่มชาจริงๆ แต่โดยปกติแล้ว 「お茶しましょう」จะหมายถึงการ "ไปกินอะไรสักอย่าง" (ซึ่งโดยส่วนมากก็ไม่ใช่ชา 笑)

   「ちょっとお茶にしない?」 อาจจะหมายความได้ถึง →「ご飯が食べたい」「トイレに行きたい」(?!) หรือ 「休みたい」เลยทีเดียว

   ยิ่งถ้าคู่สนทนาเป็นหญิงชายแล้วล่ะก็ยิ่งซับซ้อนเลยค่ะ ถ้าลองเสิร์ชดูจะเจอกระทู้จำพวกนี้เป็นพรืดเลย

http://detail.chiebukuro.yahoo.co.jp/qa/question_detail/q116652176
   มันน่าสนใจตรงนี้ค่ะ

   กระทู้นี้ http://detail.chiebukuro.yahoo.co.jp/qa/question_detail/q116652176 ถามว่าอย่างนี้ค่ะ

   จะชวนคนที่สนใจไปเดท ควรพูดอย่างไรดี?

   คำตอบเทไปที่ข้อ ② กับ ③ เลยค่ะ ข้อแรกทุกคนมีความเห็นตรงกันว่า "ไม่ค่อยจริงใจ" ทำให้คนฟังลังเล...สรุปว่าชวนจริงไหม พูดตามมารยาทหรือเปล่า ชวนในฐานะเพื่อนหรืออะไร หรืออย่างดีที่สุดคือ 古いナンパかよ」

   กระทู้อื่นๆ ก็เหมือนกันค่ะ ส่วนใหญ่แล้วคำตอบของคำถามที่ถามว่า "จะชวนสาวไปเดท ใช้สำนวนนี้ดีไหม" จะโดนชาวเน็ตปัดทิ้งแทบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะมีความเป็นวาทกรรมสูงมาก ให้ใช้เป็น ご飯に行きましょう ไปเลยดีกว่า ไม่งั้นอาจเสี่ยงชวดได้ (ฮา)

   เห็นได้ชัดว่าส่วนใหญ่แล้ว 「お茶にしよう」จะถูกใช้เป็นประโยค 社交辞令 จึงไม่แปลกที่โฮทาโร่จะตกใจที่รุ่นพี่พาไปดื่มชาจริงๆ


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   ประโยคจำพวกนี้ไม่ได้มีแค่นี้ค่ะ

   Top 5 ของประโยคที่ใช้เวลาต้องการจะพูดตามมารยาท ได้แก่

   1位 「参考にさせていただきます/参考になります」

   2位 「勉強になります」

   3位 「また近いうちにお会いしましょう」

   4位 「前向きに検討します」

   5位 「今度飲みに行きましょう/飲みに連れていってください」


   และ Top 5 ของประโยคที่คนฟังรู้สึกว่าเป็นแค่คำพูดตามมารยาท ได้แก่

   1位 「一度(ずっと)お会いしたいと思っていました」

   2位 「今度飲みに行きましょう/飲みに連れていってください」

   3位 「前向きに検討します」

   4位 「近くに来たら、いつでもお立ち寄りください」

   5位 「もうお帰りになるんですか。残念だな」


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   ซึ่งประโยคทั้งสองประเภทนี้จะให้ความรู้สึกว่า 「嘘っぽいなぁ…」ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้เมื่อต้องการจะสื่ออย่างนั้นจริงๆ ไม่งั้นอาจถูกมองว่าแค่พูดไปอย่างนั้นได้ หรือถ้ามีคนพูดประโยคเหล่านี้ด้วยก็เผื่อใจไว้สักหน่อยว่าเขาไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้นจริงๆ 

   อย่าว่าแต่ชาวต่างชาติเลยค่ะ เรื่องสำนวนมารยาทนี่คนญี่ปุ่นก็มาตั้งกระทู้ถามอยู่เนืองๆ เหมือนกันว่า "เขาหมายความอย่างนั้นจริงๆ หรือเปล่า" (เวรกรรมย่ำตึกจริงๆ...)

   ถ้ามีคนญี่ปุ่นมาพูดประโยคเหล่านี้ใส่ก็คงต้องพิจารณาบุคคล สถานการณ์และความสนิทกันเอาเองล่ะค่ะว่าควรจะตอบยังไง ก็อย่างที่บอกว่าของแบบนี้ก็ต้องค่อยๆ เรียนรู้ไปเองล่ะเนอะ ・゜・(Ω ω Ω)・゜・

   
http://img.gifmagazine.net/gifmagazine/images/729638/original.gif?1456736457


プリム



3 ความคิดเห็น:

  1. 社交辞令・・・なかなかむずかしいですね。
    わたしは高校を出た頃、お茶を習っていました。お抹茶ではなくお煎茶です。そのときの師に、「お茶は心でいれる。お茶は心をみがかないといれられない」と教えられました。なので古くからある話とはいえ、「お茶」を口説き文句に使われるのは嫌だなあ、と。
    ところで、奉太郎は入須先輩のことばに首を縦ではなく横に振ったんですか?それなのにお茶してる。。。不思議です。

    ตอบลบ
  2. お茶は心をみがかないといれられない…とてもいい言葉ですね!
    最後の文、間違いました。(´・_・`;) 横ではなくて、縦に振ったんです。すみませんでした。教えてくれてありがとうございます!

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ああ、縦ですね。それなら納得です(笑)
      心をみがくのはそうそう簡単なことじゃないですよね。どうしたらよいのでしょう。。。

      ลบ