3月15日(日)
タスク 4 ーストーリーテリングー
ตอนเด็กๆ ชอบอ่านนิทานกันไหมคะ
เราชอบให้แม่อ่านนิทานให้ฟังก่อนนอนมากๆ แต่แทนที่ฟังแล้วจะหลับเหมือนเด็กอื่น นิทานยิ่งเป็นตัวปลุกสมองเราเลยค่ะ เพราะนิทานจะทำให้เรา "จินตนาการตาม" ค่ะ
นั่นคือความสามารถของ 描写 หรือการพรรณนา
การพรรณนาต่างจากการ "อธิบาย" ตรงที่มีจุดประสงค์หลักคือการทำให้ "เห็นภาพ" นี่แหละค่ะ
คาบเรียนคราวนี้เปลี่ยนจากให้เขียนกลับมาเป็นให้พูดอีกครั้ง โดยโจทย์คือการบรรยายภาพที่เห็นให้เพื่อนเข้าใจ
เราได้ภาพนี้ค่ะ
เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ชายคนหนึ่งที่นั่งว่างๆ อยู่ในล็อบบี้ ข้างๆ มีคุณลุงนั่งกางหนังสือพิมพ์อ่านอยู่ เหม่ออยู่ดีๆ ผู้ชายคนนั้นก็ดันไปสบตากับคุณลุงชาวต่างชาติถือแผนที่ทำท่าเหมือนกำลังหลงทางอยู่ คุณลุงได้จังหวะก็เดินเข้ามาหวังจะถามทาง แต่ผู้ชายคนนี้ดูท่าจะไม่ค่อยภาษาต่างประเทศเลยเหงื่อแตก ไม่รู้จะทำอย่างไร จวนตัวมากๆ เข้าก็แวบไปหลบหลังหนังสือพิมพ์ที่คุณลุงคนข้างๆ อ่านอยู่ โดยมีคุณลุงชาวต่างชาติทำท่ายัวะ
พอจะนึกภาพออกไหมคะ ไปดูภาพจริงกันเลยค่ะ
เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ชายคนหนึ่งที่นั่งว่างๆ อยู่ในล็อบบี้ ข้างๆ มีคุณลุงนั่งกางหนังสือพิมพ์อ่านอยู่ เหม่ออยู่ดีๆ ผู้ชายคนนั้นก็ดันไปสบตากับคุณลุงชาวต่างชาติถือแผนที่ทำท่าเหมือนกำลังหลงทางอยู่ คุณลุงได้จังหวะก็เดินเข้ามาหวังจะถามทาง แต่ผู้ชายคนนี้ดูท่าจะไม่ค่อยภาษาต่างประเทศเลยเหงื่อแตก ไม่รู้จะทำอย่างไร จวนตัวมากๆ เข้าก็แวบไปหลบหลังหนังสือพิมพ์ที่คุณลุงคนข้างๆ อ่านอยู่ โดยมีคุณลุงชาวต่างชาติทำท่ายัวะ
พอจะนึกภาพออกไหมคะ ไปดูภาพจริงกันเลยค่ะ
*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*
たぶん、ロビーで男の人が座ってる。そして、その男の人の隣に(あの)ある、他の人が新聞を読んでいる。そして、何もしていない男の人のほうが、おじいさん...たぶん外国人のおじいさんが地図を持って、迷っているようで...。(あの)そして、そのおじいさんと男の人が目があった。で、そのおじいさんが地図を持って、その男の人のほうに歩いてきた。でも、(えー)男の人が困ったそうな顔をして、隣の新聞を読んでいる人に、(あの)新聞の裏に隠した。...ということです。
*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*
そして多すぎ!!フィラー超多すぎー!!
ฝึกมากี่ครั้งกี่หนแล้ว โฮ่ยยยยยยยยย
รายละเอียดก็ขาดเยอะมากกกกกกก Tense ก็มั่วไปหมดดดดดดด
รายละเอียดก็ขาดเยอะมากกกกกกก Tense ก็มั่วไปหมดดดดดดด
穴掘って埋まってますぅーっ!!ー萩原雪歩ー
![]() |
http://i47.tinypic.com/28cnh40.gif |
อะแฮ่ม...โวยวายไปก็ไม่ได้อะไร มาพูดถึงวิธีแก้ดีกว่า
ปัญหาของภาพนี้คือตัวละครทั้
บางคนแก้ปัญหาด้วยการแยกเป็น 子ども กับ 新聞を読んでる男の人 และ おじいさん ก็เข้าใจง่ายดี (เพียงแต่ในรูปมันไม่ค่อยเหมือนเด็กเท่านั้นเอง)
อีกปัญหาคือ expression ของตัวละครค่ะ เราที่เป็นคนเห็นภาพย่อมเข้าใจความรู้สึกของตัวละครอยู่แล้ว แต่เพื่อนที่หันหลังอยู่จะไม่สามารถรู้ได้ถ้าจินตนาการไม่กล้าแกร่งพอ (ฮา)
ดังนั้นการบรรยาย สีหน้า อารมณ์ความรู้สึก และบรรยากาศของภาพให้เพื่อนจินตนาการได้จึงเป็นเรื่องสำคัญค่ะ
สรุปหลักสำคัญที่ทำให้ 描写 ต่างจาก 説明文 ได้ดังนี้
1. พรรณนาให้ละเอียด อธิบายการกระทำทุกขั้นตอน รวมทั้งสีหน้าท่าทางของตัวละคร เอาให้ภาพในหัวคนฟังคล้ายกับภาพที่เราเห็นมากที่สุด แยกตัวละครให้ดี ถ้ามีตัวละครเยอะก็ใช้สรรพนามแยกแยะให้คนฟังเข้าใจว่าใครเป็นใคร
2. ใช้ 表現 มุมมองต่างๆ เช่น ていく・てくる เพื่อแสดงทิศทางต่อบุคคลนั้นๆ เช่น おじいさんが男の人のほうに歩いてきた
3. 表現 แสดงอารมณ์ เช่น てしまう・そう・よう・らしい เช่น その外国人のおじいさんと目があってしまった รวมทั้งคำแสดงอารมณ์/เพิ่มสีสัน เช่น なんと・すると ให้ดูมีจังหวะจะโคน มีไคลแม็กซ์ ไม่ใช่เล่าไปเรื่อยเปื่อย
4. ใส่คำพูดประกอบเข้าไปเพื่อสร้างอรรถรส (ฮา) เช่น 男の人が「しまったー!」と思って ก็จะทำให้ผู้ฟังนึกหน้าและสถานการณ์ได้ง่ายขึ้น
5. การเลือกใช้คำ เช่น ถ้าใช้ว่า 新聞を開いた จะเห็นภาพกางหนังสือพิมพ์มากกว่าแค่ 新聞を読んでた
6. Tense อันนี้เป็นการพูดสด จะผิดก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่จะพยายามใช้ให้เป็น Tense เดียวกันมากกว่านี้ รวมถึงรูปสุภาพกับรูป普通 ด้วย
จินตนาการคนฟังจะกล้าแกร่งขนาดไหน แต่ถ้าทำให้เขาเห็นภาพที่เราต้องการจะสื่อไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์ค่ะ แต่ละหลักที่ว่ามาก็เป็นเรื่องพื้นฐานที่เคยเรียนกันทั้งนั้น ดังนั้นพยายามขุดสิ่งที่อยู่ก้นกรุขึ้นมา "ประยุกต์" กันเถอะค่ะ
ครั้งนี้ขอเป็นสั้นๆ แค่นี้ก่อนค่ะ วีคจุฬาเอ็กซ์โปหนักมากจริงๆ (ตายแป๊บ) นึกอะไรได้อาจจะมาเพิ่มเติมทีหลังนะคะ
ครั้งนี้ขอเป็นสั้นๆ แค่นี้ก่อนค่ะ วีคจุฬาเอ็กซ์โปหนักมากจริงๆ (ตายแป๊บ) นึกอะไรได้อาจจะมาเพิ่มเติมทีหลังนะคะ
![]() |
http://media2.giphy.com/media/NlpnSfpBdjwxG/giphy.gif |
プリム
เรื่อง テンス เวลาบรรยาย เป็นเรื่องที่ยากแต่น่าสนใจ ลองสังเกตดูว่าปกติเขาใช้ テンスหรือ รูปอะไรนะคะ
ตอบลบだいぶ前のタスクですが・・・
ตอบลบ自分が経験したことでもない場面を聞き手に生き生きと伝えるのは難しいですよね。おじいさんが迷っている様子、ソファにいる男性が困ったような様子を見せたこと、伝えよう伝えようとしていた姿勢はよくわかります。いいですね。まずは、どの人物について話しているのか整理して伝えるだけでも場面がはっきりしてくると思います。