วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560

氷菓ศึกษา (5) ーบูรณาการวิชาประวัติวรรณคดีญี่ปุ่นー


3月4日(土)
氷菓ศึกษา (5) ーบูรณาการวิชาประวัติวรรณคดีญี่ปุ่นー

   ประเด็นศึกษาเพิ่มเติมชักจะเยอะกว่า タスク ซะแล้ว (´・ω・`) แต่เนื่องจากเพิ่งสอบวิชาประวัติวรรณคดีมาหมาดๆ เลยอยากบันทึกไว้ค่ะ

   บล็อกครั้งนี้ไม่เชิงเป็นประเด็นศึกษา แต่เป็นแค่การบันทึกมากกว่า เรื่องของเรื่องมันมีอยู่ว่า ขณะกำลังอ่านประวัติวรรณคดีอย่างคร่ำเคร่ง ไม่รู้คิดยังไงอยู่ดีๆ ก็เดินไปเปิดเฮียวกะเล่มสามมาอ่านเล่นแก้เครียด แล้วก็ยังไม่วายเจอ 徒然草 ซึ่งเป็นหนึ่งในเนื้อหาที่จะสอบ

https://mytokyoblues.files.wordpress.com/2015/12/stops-reading.gif?w=560

   นี่อุตส่าห์ว่าจะอ่านคลายเครียดแล้วยังจะเจออีกเรอะ!

   ความจริงแล้วนี่ไม่ใช่ครั้งแรกค่ะ ตอนเรียนปีสองก็เจอเนื้อหาที่เรียนตอนนั้นพอสมควรเหมือนกัน เพราะอย่างไรเสีย นี่ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "ชมรมวรรณกรรมคลาสสิก" อย่ากระนั้นเลย ไหนๆ ก็มีวิชาที่ให้เขียนบล็อกโดยเฉพาะแล้วก็จดไว้สักหน่อยดีกว่า (แฮะๆ)

   กำหนดขอบเขตไว้แค่เล่มสาม(クドリャフカの順番)เล่มสี่(遠まわりする雛)และเล่มห้า (ふたりの距離の概算)ผลการรวบรวมเป็นดังนี้


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   ★เล่มสาม(クドリャフカの順番)★

   ① 世阿弥・観阿弥

   เล่มนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับงานวัฒนธรรมค่ะ ชมรมวรรณกรรมคลาสสิกต้องจัดทำหนังสือรวมบทความเฮียวกะขึ้น ขณะเดียวกันชมรมวิจัยการ์ตูนที่อิบาระเป็นสมาชิกควบอยู่ด้วยก็ทำหนังสือรวมบทความเช่นกันค่ะ ได้แก่เล่มนี้



   漫研の目玉は、古今の漫画を百本集めレビューした文集、「ゼアミーズ」。なぜ、「ゼアミーズ」なのかと訊いたら、去年のが「カンアミーズ」だったからそうだ。なぜ去年「カンアミーズ」だったなのかは、馬鹿馬鹿しくて訊く気がしなかった。

   หนังสือรวมบทความของพวกอิบาระชื่อ "เซอามีซ์" ค่ะ เหตุผลก็เพราะหนังสือรวมบทความปีที่แล้วชื่อว่า "คันอามีซ์" ทั้งสองเล่มนี้ตั้งชื่อตามสองพ่อลูก 観阿弥 และ 世阿弥 นักแสดงละครโนในสมัยมุโรมาจิที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการละครโน โดยคันอามิได้ใส่ศิลปะชั้นสูงเข้าไปเพื่อพัฒนาให้ละครโนเป็นที่นิยมของชนชั้นสูง ต่อมาเซอามิก็ได้ทำให้ละคนโนแพร่หลายจนได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งละครโน"

   เพิ่งเรียนและสอบไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเลยค่ะ (;´▽`;)

   นอกจากนี้ เซอามิได้เขียนตำราละครโนชื่อ 風姿花伝 ไว้ค่ะ ในหนังสือเล่มนี้มีข้อความหนึ่งกล่าวว่า「秘すれば花。秘せざれば花なるべからず。」แปลว่า การแสดงให้ผู้ชมเห็นเพียงส่วนหนึ่งแล้วจึงค่อยเปิดเผยในจังหวะที่เหมาะสม จะสามารถทำให้ผู้ชมประทับใจ ต่อมาการใช้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กลายมาเป็นสำนวน 「言わぬが花」ซึ่งเทียบได้กับ "พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง" ของไทย

   เราเอาข้อมูลตรงนี้ไปใช้ประกอบรายงานวิชาภาษาในสังคมญี่ปุ่นด้วยค่ะ



   徒然草

   มาแล้วตัวจุดประกายให้เขียนประเด็นศึกษานี้ เพิ่งเจอไปสดๆ ร้อนๆ เทอมนี้เลยค่ะ หลังจากพยายามอ่านสอบแต่ก็ไม่ค่อยจะเข้าหัวเท่าไหร่นัก ก็เลยตัดสินใจพักชั่วคราว ไปหยิบเอาเล่มสามมาอ่านแบบสุ่มๆ

   ในงานวัฒนธรรมนี้ ซาโตชิลงสมัครแข่งตอบปัญหาเพื่อหวังจะโปรโมทชมรม (และแน่นอนว่าเพื่อความสนุกของตัวเอง) แต่เนื่องจากชมรมวรรณกรรมคลาสสิคแทบจะไม่ได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับ "วรรณกรรม" เลย ตอนแนะนำชมรมซาโตชิจึงบอกว่า


   "แต่ชมรมวรรณกรรมคลาสสิคของพวกผมก็ไม่ได้มานั่งวิเคราะห์วรรณกรรมจำพวก 'ข้อเขียนจากความว่าง' กันหรอกนะครับ"

   พอเหลือบมองเชิงอรรถก็เจอ 徒然草 เข้าเต็มๆ ถ้าดื่มน้ำอยู่ก็คงสำลักล่ะค่ะ

   อุตส่าห์หนีมาแท้ๆ...(ノ_・。)

   徒然草 เขียนโดย 兼好法師 เป็นวรรณกรรมประเภทเรียงความ ที่ฉบับแปลใช้ว่า "ข้อเขียนจากความว่าง" เป็นเพราะ 徒然 แปลว่าความเบื่อหน่าย พระเค็งโกเขียนเรื่องนี้ระหว่างที่นั่งเบื่อหน่ายอ้างว้างอยู่ นึกอะไรได้ก็เขียนออกมา เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับการมองชีวิตมนุษย์และธรรมชาติ

   อธิบายได้แม่นไม่ต้องเปิดหนังสือเลยทีเดียว ( ̄ω ̄)ぷっ


     わらしべ長者
   
   ตอนเช้าของวันงานวัฒนธรรม พี่สาวของโฮทาโร่ได้ให้ปากกาหมึกซึมที่พังแล้วมา ไม่รู้ว่าจะให้ทำไมเหมือนกัน แต่โฮทาโร่ก็ถือว่า 書けない พ้องเสียงกับคำว่า 欠けない จึงคิดเสียว่าเป็นลางดี

   ในงานวัฒนธรรมสมาชิกแต่ละคนต้องแยกไปทำงานของตัวเอง โฮทาโร่รับหน้าที่เป็นคนขายหนังสืออยู่ที่ห้องโดยวางเจ้าปากกาหมึกซึมไว้บนโต๊ะ จะไม่เกิดอะไรขึ้นเลยถ้านักเรียนคนนี้ไม่เดินเข้ามา



   ในจังหวะที่หนุ่มพังค์นี่กำลังจะซื้อเฮียวกะก็ดันเหลือบไปเห็นปากกาหมึกซึมที่วางอยู่และทำท่าตื่นเต้นมาก เพราะเห็นว่าปากกานี่เป็นเครื่องประดับที่เข้ากับชุดของตัวเอง (ตรงไหนกันนะ...) โฮทาโร่ที่ไม่ต้องการมันอยู่แล้วจึงยกให้ นักเรียนคนนั้นเลยแลกปากกากับบัตรเข้าหลังเวทีของชมรมตัวเอง




   หลังจากนั้นบรรดาคนที่แวะเวียนมาที่ห้องชมรมก็แลกของกับโฮทาโร่ไปเรื่อยๆ จากปากกาเป็นบัตร จากบัตรเป็นปืนกล็อค จากปืนกล็อคเป็นแป้งสาลี แป้งสาลีเป็นเข็มกลัด (ในอนิเมะเปลี่ยนเป็นกระจกอย่างที่เห็นค่ะ) จากเข็มกลัด (กระจก) เป็นหนังสือการ์ตูนที่ช่วยให้โฮทาโร่ไขปริศนาของงานวัฒนธรรมได้สำเร็จ

   โฮทาโร่ถึงกับรำพันกับตัวเองว่า「なんかわらしべ長者みたい」

   わらしべ長者 เป็นหนึ่งในเรื่องเล่าที่อยู่ใน「今昔物語集」เรื่องนี้ไม่เชิงว่าได้เรียนในคาบ แต่เหมือนอ. เล่าเพิ่มให้ฟังมากกว่า

   เป็นเรื่องเกี่ยวกับทาโร่ที่มีชีวิตความเป็นอยู่ลำบากยากแค้น แต่เป็นคนขยันและซื่อสัตย์ นับถือเจ้าแม่กวนอิม คืนหนึ่งเจ้าแม่กวนอิมก็มาเข้าฝันว่าให้กำสิ่งแรกที่ฉวยได้เมื่อออกจากศาลเอาไว้ให้ดี สิ่งที่ทาโร่คว้ามาได้คือฟางเส้นหนึ่ง ทาโร่ก็เดินถือฟางนั้นไปเรื่อยๆ ก็มีแมลงปอมาเกาะ พอเดินผ่านขบวนขุนนาง ลูกขุนนางคนหนึ่งก็ร้องจะเอาฟางแมลงปอของทาโร่และแลกกับส้มสามผล ระหว่างทางก็มีคนมาขอแลกของกับทาโร่เรื่อยๆ ส้มแลกกับผ้าไหม ผ้าไหมแลกกับม้า ม้าแลกกับที่นา จนสุดท้ายทาโร่ก็กลายเป็นเศรษฐี โดยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์จะสอนให้เป็นคนดีและนับถือเจ้าแม่กวนอิม สิ่งดีๆ ก็จะตามมา

   ของโฮทาโร่ก็เป็นลักษณะเดียวกัน (ชื่อแอบคล้ายกันอีกแน่ะ) เพียงแต่ของที่ได้มานั้นไม่ได้มีมูลค่าสูงขึ้น แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่แลกๆ มาก็นำไปสู่การไขปริศนาและแก้ปัญหาของชมรม (คืออะไรนั้นไปอ่านเอาเอง ฮา)


   ★เล่มสี่(遠まわりする雛)★

   เล่มสี่นี้ไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกันทั้งเล่มเหมือนสามเล่มที่ผ่านมา แต่เป็นการรวมตอนสั้นๆ ที่เนื้อหาแยกกันมาไว้ด้วยกันค่ะ


    天満宮

   บทที่ 5 「あきましておめでとう」เป็นช่วงปีใหม่ค่ะ โฮทาโร่ที่นั่งๆ นอนๆ อยู่กับบ้านทั้งวันก็ได้รับโทรศัพท์จากจิทันดะชวนไปไหว้พระปีใหม่ด้วยกัน


   千反田:「元日に何か予定がありますか?」

   奉太郎:「いや、特に」

   すると千反田の声が華やいだ。

   千反田:「そうですか。では、初詣に行きませんか?」

   奉太郎:「...まさか天満宮じゃないだろうな」

   千反田:「え、天満宮がいいんですか?でも遠いですよ。...かなり」

   ที่โฮทาโร่ระบุชัดเจนว่า "คงไม่ใช่ศาลเจ้านี้หรอกนะ" เพราะเคยถูกพี่สาวลากไปไหว้ขอพรตอนที่พี่จะเข้ามหาวิทยาลัยค่ะ ฉากของเรื่องเฮียวกะอยู่ที่เมือง 高山 (จังหวัด 岐阜) ค่ะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ 飛騨天満宮 ศาลเจ้าเท็นมังงูเป็นศาลเจ้าที่บูชา 菅原道真 ที่เป็นเทพแห่งการศึกษา มักนิยมไปขอพรเกี่ยวกับการเรียนการสอบกัน

   อย่างไรก็ตาม เนื่องจากศาลเจ้าเท็นมังงูอยู่ค่อนข้างไกล จิทันดะจึงชวนโฮทาโร่ไป 荒楠神社 แทน ศาลเจ้าอาคุเรสึนี้เป็นชื่อสมมติค่ะ ต้นแบบจากสถานที่จริงคือ 日枝神社 (ศาลเจ้าฮิเอะ)

http://livedoor.blogimg.jp/shika7/imgs/7/e/7ec13749.jpg

http://blog-001.west.edge.storage-yahoo.jp/res/blog-b8-52/
fujisyuu01/folder/437095/83/9417583/img_15?1347081182

   เราได้เรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปตอนปีสอง ข้อนี้จึงเป็นหนึ่งในสองข้อที่ได้เรียนก่อนได้อ่านนิยายค่ะ (เพราะตอนนั้นนิยายแปลยังไม่ออก)

   ⑤ 

   ฉากเดียวกันกับข้อที่แล้วเลยค่ะ พวกโฮทาโร่จับโอมิกุจิกัน และสิ่งที่โฮทาโร่ได้ก็คือ



   どうしようもない。神社のどかかに捨てていくしかないが、そこいらに放り出すのも気が引ける。に結べばいいのだろうか。

   อีกข้อที่ได้เรียนก่อนอ่านค่ะ เรียนพร้อมๆ กับเท็นมังงูข้างบนเลย กิ่งต้นซากากิถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเขตแดนของเทพเจ้าที่บรรจบกับมนุษย์ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้บนหิ้งบูชาหรือในพิธีกรรมของศาลเจ้า และมักปลูกในศาลเจ้า พูดง่ายๆ คือเป็นต้นไม้มงคล โฮทาโร่เลยจะเอาใบเซียมซี "โชคร้าย" ไปผูกกับกิ่งซากากิเพื่อแก้เคล็ด


   ★เล่มห้า(ふたりの距離の概算)★


   ⑥ 百人一首

   อันนี้ปรากฏมาแค่ชื่อคำเดียวเท่านั้นแหละค่ะ (笑) ว่าในโรงเรียนนี้มีชมรม「百人一首部」นี้ด้วย ความจริงชมรมนี้เคยโผล่มาในอนิเมะตอนงานวัฒนธรรมแล้วค่ะ แต่ในนิยายไม่ได้กล่าวถึงแต่อย่างใด



   อนึ่ง กลอนที่ตัวละครกล่าวในตอนนี้ได้แก่ 

「つくばねの...」ที่มาจาก つくばねの峰よりおつるみなの川こひぞつもりて淵となりける

「はるすぎて...」 จาก 春過ぎて夏きたるらし白妙の衣ほしたり天の香具山

「たちわかれ...」 จาก たち別れいなばの山の峰に生ふるまつとしきかば今帰り来む

「ひさ...」จากひさかたの 光のどけき 春の日に 静心なく 花の散るらむ

   กลอนบทสุดท้ายคือที่จิทันดะลงไปเล่นค่ะ ด้วยความที่เป็นคนประสาทไว คนอ่านพูดได้แค่ 「ひさー」นางก็ตบแล้ว ∑( ̄ロ ̄|||) แต่เท่าที่หาดูก็ไม่มีบทอื่นนะ คิดว่าน่าจะมาจากกลอนบทนี้แหละค่ะ

   อันนี้ก็เพิ่งเรียนไปเทอมนี้ค่ะ แต่รู้จักมานานพอสมควรแล้ว ขอข้ามรายละเอียดนะคะ


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

 
จริงๆ ไม่ได้มีแค่นี้นะคะ แต่ที่ตรงกับที่เรียนเป๊ะๆ ก็ประมาณนี้

   เพราะไม่ค่อยถนัดวิชาประวัติศาสตร์ เลยพลอยไม่ชอบประวัติศาสตร์ไปด้วย แต่เวลาอ่านหนังสือแล้วเจอสิ่งที่เคยเรียน หรือได้เรียนในสิ่งที่เคยอ่านก็ทำให้เนื้อหานั้นๆ สนุกขึ้นนะคะ เวลาเก็ทพวกมุกความรู้ทั้งหลายก็ยิ่งสนุก ถ้ายิ่งฐานข้อมูลกว้างก็ยิ่งเข้าใจได้เร็ว

   คงต้องทิ้งอคติแล้วตั้งใจเรียนประวัติศาสตร์มากกว่านี้ล่ะมั้ง (笑)

   แต่การตั้งใจ "อ่าน" ก็สำคัญไม่แพ้กันค่ะ ถ้าแค่อ่านผ่านๆ ไปก็ไม่มีทางจำเรื่องพวกนี้ได้ ส่วนตัวแล้วเป็นคนชอบอ่านเชิงอรรถค่ะ (ฮา) ชอบอ่านแบบ "ทุกตัวอักษร" ไม่ใช่แค่เอาความ (เฉพาะนิยายนะคะ...(¬ω¬;)~>) เวลาเจอข้อมูลอะไรในหนังสือก็จะจำๆ ไว้ นึกออกบ้างนึกไม่ออกบ้างก็ไว้ว่าทีหลัง

   แบบนี้ก็สนุกดีค่ะ


プリム


1 ความคิดเห็น:

  1. น่าสนใจมาก นำสิ่งที่เรียนมาบันทึกเชื่อมโยงได้ดีค่ะ

    ตอบลบ