วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

タスク 3.1 ―HP 紹介文 (final version) ―


3月5日(日)

タスク 3.1 ―HP 紹介文 (final version) ―


   จบกับเรื่องแนะนำตัวแล้วก็ถึงเวลาเขียนแนะนำอย่างอื่นแล้วค่ะ คราวนี้เป็นการเขียน HP 紹介文 หรือเขียนแนะนำมหาวิทยาลัยลงโฮมเพจ ไม่เกิน 400 ตัวอักษร โดยให้เลือกว่าจะแนะนำมหาวิทยาลัยหรืออักษร เราตอนแรกว่าจะเอาเรื่องโปรแกรมเกียรตินิยม แต่ข้อมูลค่อนข้างน้อย แถมภาษาน่าจะยาก เลยเปลี่ยนเป็นแนะนำอาคารของคณะอักษรค่ะ


   เริ่มจากตอนแรกก็ไปหาข้อมูลแล้วเรียบเรียงเป็นภาษาไทยก่อน แล้วค่อยแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นส่งให้อาจารย์ช่วยเช็ค และสุดท้ายก็ไปปรู๊ฟกับ Lang8 เป็นขั้นสุดท้ายค่ะ ดังนี้




*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

   ประเด็น : อาคารในอักษรศาสตร์

   จุดขาย : “เทวาลัย” เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แลนด์มาร์กของจุฬาฯ


   ข้อมูลที่อาจใช้ได้ :


   อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ออกแบบโดยนายช่างชาวเยอรมันและอังกฤษเมื่อ พ. ศ. 2456 วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2458 ใช้แบบไทยโบราณที่สุโขทัยและสวรรคโลกมาสร้างเป็นแบบ 


   อาคารมหาวชิราวุธ เป็นที่ตั้งของสำนักคณบดี สำนักงานเลขานุการคณะอักษรศาสตร์ สมาคมนิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ ศูนย์เรียนรู้ด้วยตนเอง ห้องพิพิธพัสดุ์ไท-กะไดและห้องโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ



http://www.memocent.chula.ac.th/downloader/d4c859b167a991e05eca2cc6f5cb58d3/

   อาคารบรมราชกุมารี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2537 และอาคารมหาจักรีสิรินธร ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพฯ ก่อสร้างในปี 2550 (ครบรอบ 90 ปี) เป็นอาคารของคณะอักษรศาสตร์








แนะนำอาคารในอักษรศาสตร์ ร่างแรก (ภาษาไทย)

   คณะอักษรศาสตร์มีอาคารประจำคณะอยู่ 3 หลัง ได้แก่ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ซึ่งนิสิตมักเรียกกันว่า “เทวาลัย” โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้น เป็นอาคารหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้สร้างอาคารมหาวชิราวุธขึ้นโดยมีทางเชื่อมกับอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เป็นที่ตั้งของสำนักงานต่างๆ และห้องสมุดคณะ ส่วนอาคารที่ใช้เรียนอีก 2 หลังได้แก่อาคารบรมราชกุมารีที่มีทั้งสิ้น 13 ชั้นและอาคารมหาจักรีสิรินธร ขนาดสูง 9 ชั้น เป็นที่ตั้งของศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ (สรรพศาสตร์สโมสร) ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล และโรงอาหารประจำคณะอีกด้วย

   หลังจากตัดๆ เพิ่มๆ ข้อมูลจนพอใจแล้วก็ลงมือแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นค่ะ



*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


文学部の建物の紹介

   チュラーロンコーン大学の文学部における建物は三棟あります。1915年にラーマ6世によって設立された「マハーチュラーロンコーンビール」は最も古い歴史を持っています。文学部の最初の建物であり、大学の第一の建物であります。その後、マハーチュラーロンコーンビールへの廊下とともに、学部の事務所と図書館が付属する「マハワチラウットビール」が設立されました。この二棟は一般に「テーワーライ」とー棟のように呼ばれています。昔、授業設備のある校舎でした。現在校舎は二棟あり、「バロムラチャクマリーベール」がより先設立されました。二階にコンピュターセンター、三階から六階に教室、七階から十三階に各専門の事務所が付属しています。文学部創立90周年に、九階の校舎が建てられ、シリントーン王女殿下の名前から「マハチャクリシリントーンビール」と表記されていました。こちらにもう一つの図書室の「サパサートサモーソーン」があります。(397文字)




*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*



https://media.giphy.com/media/5npBFUpB2Djpu/giphy.gif

   ...ไม่ต้องให้คนอื่นบอกก็รู้ว่าพลาดอะไรบ้าง รวมฟีดแบ็คจากอาจารย์และเพื่อนแล้วสรุปเป็นข้อๆ ได้ประมาณนี้ค่ะ

   1) ไม่แบ่งย่อหน้า การเขียนครั้งนี้เป็นภาษาทางการ ศัพท์ยากก็เยอะ ศัพท์เฉพาะก็เยอะ เขียนเรียงเป็นพรืดขนาดนี้คงไม่มีใครอยากอ่าน


   2) ยังใช้คำผิด ด้วยความที่คราวนี้ต้องเขียนเป็นภาษาสวยๆ จะมา ここにこれがあります เหมือนปกติก็ไม่ได้แล้ว แต่ศัพท์สูงก็ใช้ยาก จะสังเกตว่ามีคำที่ใช้แบบงูๆ ปลาๆ อยู่เยอะ เช่น 付属する ก็ใช้คำช่วยมั่วเป็น が หรืออย่าง 表記されていました แปลว่าอะไรยังไม่แน่ใจเลย (ฮา)


   3) สัดส่วนการอธิบายแต่ละส่วนไม่ค่อยเท่ากัน บางที่พูดถึงมาก ขณะที่บางที่พูดถึงแค่ผ่านๆ


   4) ตัวเลขปนกัน บางอันใช้ตัวเลขอารบิค บางอันใช้เป็นคันจิ ข้อนี้รู้สึก 違和感 ตั้งแต่ตอนเขียนแล้ว เพราะเลขปีรู้สึกว่าควรใช้เป็นอารบิค แต่เลขชั้นหรือจำนวนหลังอยากใช้เป็นคันจิ แต่ก็ควรเลือกใช้อย่างเดียวไปเลยจริงๆ นั่นแหละ


   5) ไม่ต้องมีบทสรุปก็ได้ อันนี้ไม่ได้อยู่ในดราฟท์แรก แต่ใส่เข้าไปในการแก้ครั้งที่สองค่ะ คือเพิ่มการสรุปว่า "ถึงจะมีแค่สามตึก แต่เพราะอย่างนั้นนิสิตอักษรเลยผูกพันกับที่นี่มาก" ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเนื้อเรื่องที่กล่าวมาตอนต้น ดังนั้นข้อมูลแบบนี้บางทีก็ไม่จำเป็นต้องมีสรุปก็ได้ค่ะ


   หลังให้อ.ช่วยปรับ โยนลง Lang8 และตบๆ ตีๆ ขั้นสุดท้ายแล้วก็ออกมาดังนี้ค่ะ




*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


文学部の建物の紹介

(Final version)

 チュラーロンコーン大学の文学部の建物は4棟あります。

 1915年にラーマ6世によって設立されたマハーチュラーロンコーンビル」は文学部の最初の建物であり、大学の最古の建物であります。その後、学部の事務所と図書館のある「マハワチラウットビル」が設置されました。

 上記の2棟を合わせて一般に「テーワーライ」と呼ばれています。タイ風建築の建物のテーワーライはその伝統的なタイスタイルの美しさで、大学のランドマークと認められています。

 現在校舎は2棟あり、「バロムラチャクマリービル(BRK)」がより先に設立されました。2階はコンピュターセンター、3階から6階は教室、7階から13階は各専門の事務所となっています。

 文学部創立90周年に、9階建て校舎が建てられ、シリントーン王女殿下のお名前からマハチャクリシリントーンビル(MCS)」と名づけられました。学部の図書室と演劇学科劇場がこちらに付属しています。(391文字)



*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

   สรุปแล้วหลักๆ ที่โดนแก้มีดังต่อไปนี้ค่ะ


   1) การใช้คำศัพท์ที่ถูกต้อง เป็นธรรมดาอยู่แล้วที่จะผิด เพราะคำไหนที่ไม่คุ้นเคยก็ย่อมไม่แปลกที่จะใช้ไม่เป็นอยู่แล้ว ในที่นี้ก็ขอสรุปเอาไว้ 4 ข้อที่ควรจำไปใช้ต่อไปค่ะ

   ① 付属する อย่างที่พูดถึงไปข้างบน โดยปกติแล้วคำนี้จะใช้กับ สถานที่+に+付属する(+คำนาม)ตอนแรกเราใช้เป็น 学部の事務所と図書館付属する「マハワチラウットビール」ซึ่งเป็นการใช้ที่ผิด แต่พอใช้ว่า 学部の図書室と演劇学科劇場こちら付属していますก็ผ่าน Lang8 มาได้ด้วยดี

   ② となっている ต้องการจะสื่อว่าอาคารนี้ "ประกอบด้วย" อะไรบ้าง คำนี้ตอนแรกใช้ว่า OO階にOO、OO階にOOから構成されています。แต่คนญี่ปุ่นช่วยแก้มาให้ดังนี้ค่ะ




   คนญี่ปุ่นเสนอวิธีเขียนมาให้ถึงสามวิธีเลยค่ะ แต่เนื่องจากคนญี่ปุ่นที่มาแก้ให้ทั้งสองคนแก้มาเป็น となっています ทั้งคู่ เลยเลือกใช้ตามเป็น 階はコンピュターセンター、3階から6階は教室、7階から13階は各専門の事務所となっています。


   ③上記 เป็นคำที่เห็นบ่อยมากถึงมากที่่สุด ใช้ไม่ยาก แต่ไม่เคยใช้ ต่อจากนี้จะพยายามเอาไปใช้แน่นอน

   伝統的な อันนี้ใส่เพิ่มเข้าไปในร่างฉบับที่สอง อาจารย์แก้ให้ในห้องค่ะ คือตอนแรกใช้เป็น 伝統的な美しさで、大学のランドマークとも言えます。แต่อ.บอกว่าถ้าใช้เป็น 伝統的な美しさ เลยจะดูแปลกๆ เลยใส่ タイスタイル เข้าไปตรงกลาง ให้คำว่า "โบราณ" ไปขยายคำว่า "แบบไทย" คือเป็น "ความงามแบบไทยโบราณ" ไม่ใช่ "ความงามโบราณ"

   และตรงสุดท้ายควรเป็น "การยอมรับให้เป็นแลนด์มาร์กของจุฬาฯ" จึงควรใช้ 認められています หรือ 評価されています ซึ่งพอเขียนเป็น 認められています ไป คนญี่ปุ่นก็ไม่ได้แก้กลับมา


   ⑤ การใส่วงเล็บซ้อนวงเล็บ ชื่อตึกของจุฬาฯ ยาวๆ ทั้งนั้นค่ะ คนไทยเราอาจจะย่อเป็น "บรม" หรือ "มหาจักร" ก็เข้าใจกันได้ แต่สำหรับคนต่างชาติแล้วควรจะมีชื่อย่อแบบเป็นทางการให้ด้วย เช่น ของตึกบรมฯ คือ BRK 

   แต่ประเด็นคือใส่เครื่องหมายคำพูดครอบชื่อไปแล้วรอบหนึ่งไง แล้วควรจะทำอย่างไรกับวงเล็บที่จะเพิ่มเข้าไป คนญี่ปุ่นใน Lang8 ก็บอกให้วงเล็บซ้อนไปเลยค่ะ 「バロムラチャクマリービル(BRK)」แบบนี้ไปเลย

   2) จัดย่อหน้า จุดประสงค์ของการเขียนแนะนำนี้คือ "เพื่อให้คนที่ไม่รู้จักจุฬาฯ อ่าน" จึงควรจัดย่อหน้าแบ่งเป็นเรื่องๆ ไป เอาให้กราดตาผ่านแล้วจับจุดได้ว่าตรงนี้กำลังพูดถึงอะไร จะน่าอ่านขึ้นเยอะเลยค่ะ

   3) การจัดเนื้อหา ต้องไม่มากไป ไม่น้อยไป ยาวไปคนก็ไม่อ่าน น้อยไปก็ไม่ได้สาระอะไร กำหนดจุดประสงค์ให้ชัดและอธิบายส่วนนั้นไปเลย ที่สำคัญคือต้องมีเอกภาพ พูดเรื่องเดียวกันตั้งแต่ต้นจนจบอย่างมีลำดับ ไม่จำเป็นต้องจบสวยงามแบบ 校長先生のスピーチ ก็ได้เพราะนี่คือข้อเขียน "ให้ข้อมูล"

   4) คำนึงถึงคนอ่านเป็นสำคัญ ไม่ใช่สิ่งที่อยากเขียน ข้อมูลส่วนไหนที่จะมีประโยชน์กับเขา เช่น ชื่อตึก ไม่มีตารางเรียนไหนยัดชื่อเต็มของอาคารได้หรอก ก็ต้องใช้ชื่อย่อทั้งนั้น ในการแนะนำก็ควรจะให้ชาวต่างชาติรู้ว่า BRK หรือ MCS คืออะไรก็ดี หรืออย่างที่เราๆ ชาวอักษรเรียกเทวาลัยๆ กัน ถ้าคนต่างชาติหาในเว็บก็อาจสับสนได้เพราะมันคือสองตึกรวมกัน



*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   สรุปแล้วบทเรียนในครั้งนี้ก็คือการใช้ภาษาทางการและคำศัพท์สวยๆ สิ่งที่สามมาก็คือการใช้ผิดความหมายหรือใช้คำช่วยผิด แต่อย่างสำนวนที่ว่า 聞くは一時の恥、聞かぬは一生の恥 นั่นแหละค่ะ ลองใช้ๆ ไปก่อน ไม่เข้าใจก็ถาม ผิดก็จำ ดีกว่ามัวสงสัยไม่กล้าใช้ไปเรื่อยๆ

   เรื่องสำคัญอีกเรื่องคือ "การเขียนเพื่อให้คนอ่าน" การเลือกข้อมูล แบ่งย่อหน้าและเรียบเรียงให้เข้าใจง่ายเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้มีคนมาอ่านข้อความของเราค่ะ

   ก็เป็นเรื่องเบสิคนะ แต่ไม่ง่ายเลยจริงๆ ค่ะ 


http://24.media.tumblr.com/04fe5199ccdb5fc36d8c146fca0d9a50/
tumblr_mk4oetsYMb1rrvz9so1_500.gif


プリム


2 ความคิดเห็น:

  1. อยากเห็นเวอร์ชั่นแก้สุดท้ายจังค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. อันที่สองคือเวอร์ชั่นแก้สุดท้ายแล้วค่ะ ไม่ได้ลงที่แก้ครั้งที่ 2 เพราะกลัวจะเยอะเกิน เลยแค่ร่างแรกสุดกับครั้งสุดท้ายไปเลยค่ะ ^ ^;

      ลบ