วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ส่งท้าย


5月16日(火)
ส่งท้าย

   เราลงวิชานี้เพราะคิดว่าเป็นวิชาต่อจาก Jp ling เมื่อเทอมก่อน ก็คิดว่าน่าจะเรียนเหมือนเทอมที่แล้วแต่แค่ลึกขึ้น อะไรประมาณนั้น


   จนได้มานั่งอยู่ในคาบแรกนั่นแหละถึงได้รู้ว่ามันไม่ใช่เลย




   รีวิวจากพี่ที่เคยเรียนล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าวิชานี้คือ "วิชาเขียนบล็อก" ซึ่งก็เป็นตามนั้นจริงๆ แต่จะว่าเขียนบล็อกก็ไม่ถูก เพราะเนื้อหาของบล็อกก็คือสิ่งที่ได้เรียนได้ทำในคาบ แค่เปลี่ยนจากการเขียนวิเคราะห์ตัวเองส่งครูเป็นแผ่นๆ หรือเป็นรูปเล่มรายงาน เป็นการเขียนลงบล็อกเท่านั้นเอง

   เอาจริงๆ มันเป็นวิชาที่ดีและมีประโยชน์สำหรับการไปแลกเปลี่ยนมากๆ นะ เพราะในทุกคาบสัดส่วนการเรียนคือ input 30% และ output 70% พูดง่ายๆ คือฝึกปฏิบัติล้วนๆ

   タスク ที่คิดว่าได้พัฒนามากที่สุดคือที่เกี่ยวกับการเขียน ทั้ง 説明文 และ 空想文 เพราะรู้สึกว่ามันต่างจากวิชา writing ที่เรียนมาตั้งแต่ปีสองนิดหน่อย เป็นการเขียนที่ไม่เคยเขียนมาก่อน และที่สำคัญคือไม่มีการชี้แนะใดๆ ก่อน ลงมือเขียนก่อนเลย แล้วค่อยขัดเกลาไปเรื่อยๆ 

   タスク พูดก็ทำเยอะเหมือนกัน แต่อันนี้ฝึกมาตั้งแต่คอนเวอร์ปีหนึ่ง ก็เหมือนได้ฝึกมากขึ้น (โดยเฉพาะเรื่องข้อดีข้อเสียตัวเอง มีทั้งในคาบนี้ คาบไรท์ และคาบคอนเวอร์พร้อมๆ กัน เหมือนได้ทำซ้ำกันสามรอบ)

   สิ่งที่ทำให้รู้สึกถึงพัฒนาการ (ทั้งขึ้นและลง) ของตัวเองก็คือการเขียนบล็อกนี่แหละ ปกติแล้วถ้าแค่รับฟีดแบ็คจากอาจารย์ อายแป๊บเดียวก็ลืม แต่พอต้องมาเขียนทุกอาทิตย์ๆ มันก็ทำให้ความอายนั้นเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น (ฮา) อายยังไง อายทำไม อายแล้วยังไงต่อ ก็ต้องจับความคิดความเข้าใจเหล่านั้นมาเขียนให้เป็นรูปธรรม ก็เหมือนทำให้เข้าใจตัวเองมากขึ้นนิดหนึ่ง เข้าหลักการที่ว่า "เจ็บจนกว่าะจำ"

   พอมาไล่ย้อนดูการเขียนบล็อก จะเห็นว่าบล็อกเรายาวขึ้นเรื่อยๆ 内省 ครั้งแรกเขียนนิดเดียวเพราะกลัวเงื่อนไขที่ว่า "ต้องอ่านจบได้ในสามถึงห้านาที" แต่พอไปอ่านบล็อกของเพื่อนๆ พี่ๆ ก็พบว่าคนอื่นเขียนยาวมาก ละเอียดมากกกกก อ่านแล้วเข้าใจ มีสาระกว่าของเราเยอะ เลยเริ่มเขียนละเอียดขึ้นเรื่อยๆ

   แต่ความจริงแล้วที่บล็อกเรายาว ส่วนหนึ่งเพราะเราจะใส่รูปคั่นเยอะ เป็นคนไม่ชอบอ่านอะไรติดกันเป็นพรืด เลยใส่รูปคั่นไว้เป็นพักๆ หรือบางอันก็ใช้ภาพเล่าเรื่องแทน (อย่างเฮียวกะ) ดังนั้นตัวเนื้อหาจริงๆ ก็ไม่ได้ยาวขนาดนั้น...

   แต่ก็จะไม่ปฏิเสธว่าวิชานี้มันหนัก ในคาบคุณต้องเป็น active learner (ข้อนี้อาจจะทำได้ไม่ดีเท่าไหร่ ขอโทษค่ะ ฮือ) อย่างน้อยต้องพูด ต้องเขียน ต้องร่วมกิจกรรม กลับบ้านไปก็ต้องทำการบ้านและเขียนบล็อกส่งแทบทุกอาทิตย์ (บางอาทิตย์หลายงานด้วย) บวกกับวิชาอื่นๆ ในปีสามแล้วมันทั้งหนักทั้งเหนื่อยจนลงวิชาอื่นเพิ่มไม่ได้เลยทีเดียว (อันนี้ก็แล้วแต่คนนะ) บางทีถ้ามีเวลาเยอะๆ อาจจะเรียนสนุกกว่านี้ ทุ่มเทกับงานได้มากกว่านี้

   โดยสรุปแล้ว คิดว่าวิชานี้เป็นวิชาที่เหนื่อย แต่สนุก และได้ติดตามตัวเองแบบเรียลไทม์สำหรับคนที่ยังลังเลว่าจะลงดีไหมก็ขอแนะนำว่า "ลองดู เดี๋ยวก็รู้ว่าไหวไม่ไหว" เอาจริงๆ ทุกวิชาก็หนักหมดนั่นแหละ แค่หนักคนละแบบกัน ยิ่งถ้าใครพอจะมีเวลา คิดว่าเรียนไหว ทำงานไหวก็แนะนำให้ลงนะคะ

   ยังไงซะ พวกเราปีนี้ก็รอดมาได้ทุกคนค่ะ (笑)





プリム

วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

氷菓ศึกษา (8) ー過去になる前にー


5月12日(金)
氷菓ศึกษา (8) ー過去になる前にー

   ปิดเทอมอย่างเป็นทางการ


https://media.tenor.co/images/5ee94572da6711df937f8f2e3d1c59c9/tenor.gif

   ความจริงคงไม่มีความจำเป็นต้องอัพบล็อกแล้ว และคงไม่มีใครเข้ามาดู แต่แค่รู้สึกไม่อยากทิ้งไว้อย่างนี้ เพราะก็อุตส่าห์ทำเป็นประเด็นศึกษาเพิ่มเติมอย่างจริงจังมาทั้งเทอม เดดไลน์อัพบล็อกก็ตั้งวันที่ 17 และไหนๆ ก็ไม่สบายได้แต่กลิ้งอยู่บ้านเหงาๆ อยู่แล้ว...เลยอยากอัพปิดท้ายสักหน่อย

   เราเลือกเฮียวกะเป็นประเด็นศึกษาด้วย 2 เหตุผลคือ หนึ่ง ความชอบส่วนตัว และสอง มีเรื่องให้ค้นเยอะดี

   เรื่องที่คันไม้คันมืออยากทำวิจัยจริงๆ คือ 2 ประเด็นแรก ได้แก่ 春 และ 秋 ตั้งใจแต่แรกแล้วว่าเรื่องแรกๆ จะเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่เรื่องถัดๆ มาคือต้องกลับไปเปิดอ่านแล้วเลือกสิ่งที่อยากค้นเพิ่มเติมออกมา

   ซึ่งมันเยอะกว่าที่คิดมาก และก็ทำให้ดีใจนะว่าเราสามารถนำอะไรก็ได้ในนั้นไปต่อยอดได้...อะไรก็ได้จริงๆ ก็คิดว่าได้ทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ นำจุดที่น่าสนใจในเรื่องมาค้นคว้าเพิ่มเติม โดยมีทั้งในเชิงไวยากรณ์・คำศัพท์ (春・秋がいい・とも) และวัฒนธรรม (お茶を飲む・อาหาร・生雛祭り・บูรณาการวิชาประวัติวรรณคดี)

   やっぱり本はすごいなあ…❤

   จริงๆ ยังมีอีกหลายเรื่องที่สนใจ แต่คิดไปคิดมา สิ่งที่อยากจะเขียนส่งท้ายก็คงเป็นเรื่องนี้จริงๆ นั่นแหละ ไม่ใช่ไวยากรณ์ ไม่ใช่วัฒนธรรม แต่จะขอปิดด้วยประโยคที่ชอบค่ะ


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   เราอยากดูเรื่องนี้เพราะเพลงเปิดค่ะ

   ถ้าจำไม่ผิดเหมือนจะเคยเข้าไปดูภาพคีย์วิชวลในเว็บเกียวอนิแล้วก็ชอบลายเส้น แต่ยังไม่ได้อยากดูจริงจังเท่าไหร่นัก แต่พอได้ดูเพลงเปิดเท่านั้นแหละ ก็ตั้งใจแน่วแน่วว่าจะดู ถึงแม้จะเปิดเทอมแล้วก็ยังตามดูอาทิตย์ต่ออาทิตย์ ทั้งๆ ที่ปกติแล้วจะรอจนกว่าจะจบแล้วดูรวดเดียว

   เพลงที่ว่าคือเพลงนี้ค่ะ


   Opening 1 優しさの理由 ร้องโดยคุณ Choucho ค่ะ

   เป็นเพลงที่เหมือนจะแต่งเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ เพราะธีมเพลงเป็นธีมหลักของคดีแรก หรือคดี 「氷菓」นี้เอง ที่อยากให้ฟังคือประโยคสุดท้ายของเพลงค่ะ

   「全部、過去になる前に見つけに行こう」

   ซึ่งในเรื่องเองก็มีประโยคคล้ายๆ แบบนี้อยู่เช่นกัน และเราคิดว่ามันเป็นหนึ่งในแก่นเรื่องที่น่าคิดมากๆ เรื่องหนึ่ง

   จิทันดะที่เห็นความสามารถในการวิเคราะห์ของโฮทาโร่ยอมเปิดเผยอดีตของตัวเองและขอร้องให้โฮทาโร่ช่วยเธอคิดให้ออกว่าคุณลุงของเธอเคยพูดกับเธอว่าอะไร

   คุณลุงของเธอเคยอยู่ชมรมวรรณกรรมคลาสสิกมาก่อน ครั้งหนึ่งจิทันดะถามคำถามบางอย่างเกี่ยวกับชมรมนี้ คำตอบนั้นทำให้เธอร้องไห้ออกมา แต่คุณลุงที่ใจดีคนนั้นกลับไม่คิดจะปลอบเธอแม้แต่น้อย ตอนนี้ครอบครัวของคุณลุงกำลังจะยื่นหนังสือแจ้งตายเนื่องจากเขาหายสาบสูญไปใกล้จะเจ็ดปีแล้ว จิทันดะจึงอยากนึกให้ออกก่อนเวลานั้น

   โฮทาโร่ไม่อยากรับผิดชอบเรื่องของคนอื่น แต่เมื่อคิดว่าจิทันดะต้องรวบรวมความกล้าแค่ไหนมาขอร้องเขา เขาเลยตกลงยอมช่วยสืบหาความจริงด้วย

https://myanimelist.net/forum/?topicid=438333

https://myanimelist.net/forum/?topicid=438333

   พวกเขาพยายามตามหาหนังสือ "เฮียวกะ" ของชมรมเพื่อหาว่าจะมีบันทึกอะไรที่เป็นประโยชน์ไหม จิทันดะจำได้ว่าสิ่งที่เธอถามไปเกี่ยวกับเฮียวกะเล่มที่สองนี้เอง คำนำของมันเขียนไว้ว่า

   "...ทั้งหมดจะค่อยๆ สูญเสียอัตวิสัยและกลายเป็นวรรณกรรมสมัยเก่า ณ ดินแดนไกลโพ้นในห้วงมิติแห่งประวัติศาสตร์ แล้วสักวันหนึ่งเรื่องของพวกเราที่อยู่ในยุคปัจจุบันนี้ย่อมกลายเป็นวรรณกรรมสมัยเก่าของใครในอนาคตเช่นกัน" 

   จิทันดะที่แน่วแน่มาตลอดเกิดความลังเลขึ้น บางทีเรื่องราวในอดีตนั้นอาจร้ายแรงกว่าที่คิด อาจจะควรปล่อยให้ถูกลืมเลือนไป

   奉太郎 : 「調べてみればいいさ。三十三年のことを」

   千反田 :「でも」

   千反田の眉が曇る。

   千反田 :「憶えていてはならない、って書いてあります」

   その怯みを僕は意外に思った。

   奉太郎 : 「思い出したいんだろう?」

   千反田 :「もちろんです。でも、もし調べたら」言い淀んで、「…もし調べたら、不幸なことになるかもしれません。忘れた方がいい事実というものは、存在するでしょう?」

   奉太郎 : 「三十年も前のことでも?」

   千反田 :「違うんですか?」

   僕は首を横に振った。

   奉太郎 : 「違うさ。そこに書いてあるじゃないか。『全ては主観性を失って、歴史的遠近法の彼方で古典になっていく』」

   「時効ってことさ」

   千反田 :「…はい」

   ในเมะข้อความเปลี่ยนไปนิดหน่อยค่ะ

http://i.imgur.com/cjTRIPn.jpg

   奉太郎 : 「まあ、謎が解けなかったとしても、いつかお前の中で時効になっていくかもなあ」

   อย่างไรก็ตาม คำว่า 時効 ก็กระทบจิทันดะเข้าอย่างจัง

http://25.media.tumblr.com/tumblr_m4a62hV3Ee1qbvovho1_500.gif

   จิทันดะขอร้องโฮทาโร่เพียงคนเดียวเพราะไม่อยากป่าวประกาศเรื่องของตนให้ใครต่อใครฟัง แต่สุดท้ายเมื่อเจอเหตุการณ์แบบนี้เธอกลับยอมฟังคำโน้มน้าวของโฮทาโร่และขอความช่วยเหลือจากสมาชิกคนอื่นๆ โดยง่าย

   ในนิยายไม่ได้พูดถึงอีก โฮทาโร่เพียงแค่คิดว่าจิทันดะคงตระหนักได้ว่าต้องขอความช่วยเหลือจริงๆ หรือไม่งั้นก็คงเป็นความโลเลของคุณหนู แต่ในเมะกลับมาย้ำเรื่องนี้ตอนไขปริศนาได้แล้วอีกครั้งค่ะ


   奉太郎 : 「前、里志と伊原にも協力を求めたらどうかといっただろう?最初は渋ってたのに、どうして急にその気になったんだ?」


   千反田 : 「ああそれは。あの時、折木さんは言いましたよね。『叔父の謎が解けなくても、いつかは時効になっていくのかも』と」

   「確かに十年後の私は気にしないのかも知れません。でも今感じた私の気持ち、それが将来どうでもよくなっているかもなんて、今は 思いたくないんです。」


   「わたしが生きてるのは、今なんです。だから…」


   「すみません。まだよくわからないんです」

   ตรงนี้เองที่ตอกย้ำกับเพลงเปิดของเมะ มันคือการออกไปตามหาบางสิ่ง ออกไปทำบางอย่าง ก่อนที่เรื่องนั้นจะกลายเป็นเพียงอดีตไป


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   คติประจำใจของโฮทาโร่คือ 「やらなくてもいいことなら、やらない。やらなければならないことは手短に」หรือ "เรื่องไหนไม่จำเป็นก็ไม่ทำ เรื่องไหนจำเป็นก็ทำให้เสร็จโดยเร็วที่สุด"

   แต่การปรากฏตัวของคุณหนูขี้สงสัยอย่างจิทันดะก็ทำให้โฮทาโร่ต้องยอมละทิ้งคติตัวเองและเข้าไปวุ่นกับปริศนาโน่นนี่ตลอดเวลา ทว่าขณะเดียวกันก็ทำให้เขาหันมาทบทวนตัวเองในหลายๆ เรื่องเช่นกัน

https://media.giphy.com/media/84Z29kwfbsr6M/giphy.gif

   เพราะได้ทำในสิ่งที่ไม่จำเป็นหลายๆ อย่าง เขาถึงได้ตระหนักถึงความสามารถของตัวเอง รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่อาจไม่เกิดขึ้นด้วย บางครั้งการทำในสิ่งที่ไม่จำเป็นก็อาจจะจำเป็นก็ได้

   「全部、過去になる前に見つけに行こう」

   เราว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่หลายคนไม่ให้ความสนใจ หลายๆ คนเสียเวลาไปกับการฝืนทำสิ่งที่ไม่ชอบ การพยายามทำตามความหวังของคนอื่น การหลงทาง หรือที่หนักกว่าคือการไม่สนใจอะไรเลย

   เวลาเดินอยู่ตลอดเวลา ทุกๆ เรื่องมี "อายุความ" ของมัน หนึ่งปี...ห้าปี...สิบปี ความฝันบางอย่างอาจหายไป ความปรารถนาบางอย่างอาจเสื่อมคลายลงระหว่างที่เรากำลังเสียเวลา เรื่องบางเรื่องอาจทำได้แค่ "ตอนนี้" เท่านั้น

   แน่นอนว่าเวลาย่อมผ่านไป ปัจจุบันในตอนนี้จะกลายเป็นประวัติศาสตร์ในวันหน้า แต่อดีตแบบไหนกันที่อยากจดจำ อดีตแบบไหนที่ย้อนกลับมามองแล้วจะไม่เสียใจ

   ทำในสิ่งที่มีความสุข และมีความสุขในสิ่งที่ทำ...ไม่ดีกว่าเหรอ

   ก็อยากทิ้งท้ายไว้ประมาณนี้ค่ะ

   ปล. ถ้ามีโอกาสอย่าลืมไปลองหาอ่านหาดูกันนะคะ มันดีมากจริงๆ (ขายตรงมากี่รอบแล้วเนี่ย555)


プリム


วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

すべてのタスクーまとめー


5月7日(日)
すべてのタスクーまとめー

   บล็อกที่ผ่านมาทั้งหมดจะมีแต่ 内省 ของแต่ละ タスク คือมีแต่ 気づき และ アウトプット แต่ไม่เคยพูดถึง "เนื้อหา" หรือ インプット เลย อาศัยอ่านสรุปของบล็อกชาวบ้านเอา (ขอโทษค่ะ...) ตอนนี้มีเวลาแล้วเลยอยากสรุปสิ่งที่ได้เรียนในห้องไว้สักหน่อยค่ะ


    เริ่มจากเรื่องแรกสุด 応用言語学 ≠ 一般言語学 ค่ะ ภาษาศาสตร์พื้นฐานที่เรียนไปเทอมที่แล้วจะเป็นเรื่องของทฤษฎีและความถูกต้อง หรือ 正しさ ขณะที่ภาษาศาสตร์ประยุกต์จะเป็นการนำความรู้จากภาษาศาสตร์พื้นฐานไปใช้อย่างเหมาะสม หรือ ふさわしさ ค่ะ

*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

    บุคคลสำคัญที่มีชื่อปรากฏทุกคาบคือ クラッシェン (Stephen Krashen) ค่ะ เป็นนักภาษาสาสตร์ที่กล่าวเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาที่สอง (第二言語習得 Second Language Acquisition หรือ SLA) โดยได้กล่าวถึงทฤษฎีสำคัญไว้ 5 ประการ ตามนี้



    ① 習得学習仮説 (Acquisition-learning Hypothesis)

    習得 (Acquisition) คือการเรียนโดยธรรมชาติ เช่นจากการรับรู้ในชีวิตประจำวันทั่วไป ส่วน 学習 (Learning) นั้นคือการเรียนรู้ผ่านการเรียนการสอน ต้องมีผู้สอนคอยชี้แนะ เหมือนที่เราเรียนกับครูในโรงเรียน

    ② モニター仮説 (Monitor Hypothesis)

    ก็คือการมอนิเตอร์หรือ "สำรวจ" ตัวเอง (自己モニター) ว่าสิ่งที่พูดหรือเขียนออกไปมันถูกต้องไหม เหมาะสมหรือเปล่า มีอยู่ 3 ลักษณะคือ 

    1) Over users หรือพวกที่ใช้มอนิเตอร์มากเกินไป จะพะวงความถูกต้องตลอดจนไม่ค่อย アウトプット และทำให้ขาดความคล่องในการใช้ (เราอาจจะเป็นประเภทนี้ กลัวผิดไปหมด...)

    2) Under users ตรงข้ามกับพวกแรกคือไม่คิดเลย ไม่สำรวจตัวเองเลย ใช้มั่วๆ ไปก็ไม่รู้ตัว ทำให้ขาดความถูกต้องและเหมาะสม

    3) Optimal users พวกสายกลาง คอยสำรวจและแก้ไข แต่ก็ไม่กังวลเกินไปจนไม่กล้าใช้ แน่นอนว่าประเภทนี้ดีที่สุด

    ③ 自然習得仮説 (Natural order acquisition) 

    คือทฤษฎีที่ว่าด้วย "ลำดับ" ของการเรียนรู้ คือในการเรียนไวยากรณ์ภาษาใดภาษาหนึ่งจะมีหลักที่ fixed เอาไว้ว่าจะต้องเริ่มเรียนจากอะไรก่อน เช่นถ้าเป็นภาษาอังกฤษ เราจะเรียนเป็นลำดับดังนี้

    1) He is walking. He has a lot of books. He is a doctor.
    2) He is walking. He likes the book.
    3) He came to my house.
    4) He visited my house. He walks to school every day. He is driving his brother‘s car

    ตรงนี้จำไม่ได้ว่าเรียนภาษาอังกฤษมาตามนี้หรือเปล่า จำได้แค่ present → past → future  → present continuous...ฯลฯ แต่สรุปก็คือเป็นโครงสร้างลำดับการเรียนตามอัตโนมัติ เข้าใจเรื่องนี้เพื่อเข้าใจเรื่องนี้ต่อเป็นลำดับๆ ไป ซึ่งสามารถลำดับคาดเดาได้เพราะถูก fixed ไว้แล้ว

    ④ インプット仮説

    - 大量のインプット (Lots of input) ต้องมีข้อมูลมาก
    - 理解可能なインプット (Comprehensible input) ข้อมูลนั้นต้องสามารถทำความเข้าใจได้
    - i+1 คือการเรียนแบบต่อยอด คือสมมติว่าเรามีสิ่งที่เป็นพื้นอยู่แล้วคือ i ก็ค่อยๆ เพิ่มจากตรงนั้นแค่ 1 ไปเรื่อยๆ ไม่ใช่มี i แล้วเพิ่มรวดเดียว 10 แบบนี้




    นอกจากนี้ก็มีเรื่องของลักษณะการให้ インプット นั้นกับผู้เรียน ได้แก่ Natural Approach ที่ว่าด้วยการสอนภาษาที่สองโดยไม่ใช้ภาษาแม่ (สอนญี่ปุ่นด้วยภาษาญี่ปุ่น) based on การทำกิจกรรมและพูดคุยมากกว่าการเรียนรู้ไวยากรณ์ 

    กับอีกเรื่องคือ TPR (Total Physical Response) หรือการเรียนรู้ด้วยการกระทำ เช่นผู้เรียนเอารูปเครื่องบินให้ดูและพูดว่า "Fly your plane" พร้อมกับทำท่าปาจรวด เด็กก็จะจำได้ง่ายกว่าการพูดคำว่าเครื่องบินๆ กรอกหูเด็ก แบบวิดีโอต่อไปนี้



    ⑤ 情意フィルター仮説 (Affective Filter Hypothesis)

    พูดง่ายๆ ก็คือตัวกรอง "ความรู้สึก" ของผู้เรียน ถ้าผู้เรียนมี filter สูง เช่น วิชานี้ข้อสอบยาก การบ้านเยอะ สอนไม่รู้เรื่อง ความรู้สึกอยากเรียนก็จะลดลงและทำให้การเรียนไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้สอนจึงควรหาทางให้เด็กมี filter ต่ำๆ เอาไว้


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


    จบแล้วค่ะ ทฤษฎีของ クラッシェン ต่อไปจะพูดเรื่องของ The process of learning implicit knowledge มีคีย์เวิร์ดสำคัญตามรูปต่อไปนี้



    การสอนมี 2 แบบคือ Implicit Knowledge (暗示的知識) คือการอธิบายแบบยกตัวอย่างให้ผู้เรียนเข้าใจเอง กับ Explicit Knowledge (明示的知識) คือการอธิบายบอกความหมายและวิธีใช้ตรงๆไปเลย

    ซึ่งข้อมูลที่เข้ามาให้หัวผู้เรียนจะเป็นแค่ input เมื่อผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ (気づき) ด้วยการเปรียบเทียบหรือสำรวจตรวจสอบตัวเอง ข้อมูลนั้นก็จะกลายเป็น intake คือผู้เรียนเข้าใจข้อมูลนั้นและดูดซึมมันเข้าไปเป็นความทรงจำระยะสั้น ต่อมาเมื่อได้นำข้อมูลนั้นไปประยุกต์ใช้จริง (統合) ได้ถูกต้องก็จะพัฒนาเป็นความทรงจำระยะยาว และทำให้สามารถ output ออกมาได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรมชาติต่อๆ ไป

    นี่คือเวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่นค่ะ จะละเอียดกว่า แต่ถ้าเขียนหมดจะยาวไป (นี่ไงล่ะผลของการดอง) ขอสรุปแค่สั้นๆ ด้านบนนะคะ





*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


    แต่มันไม่ง่ายอย่างนั้นใช่ไหมล่ะคะ เรียนมีกี่ปีดีดัก จุดที่ยังผิดแล้วผิดอีกก็มี จุดที่สับสนอยู่นั่นแล้วก็มี จุดที่ยังไงก็ต้องใช้เวลานึกก็มี (คนที่ไม่เคยสัมผัสประสบการณ์นี้ก็ดีใจด้วยค่ะ...) กว่าจะเปลี่ยนจากภาษาแม่เป็นภาษาที่สองได้ จึงต้องผ่าน "ช่วงเปลี่ยนผ่าน" หรือ Interlanguage (中間言語) ก่อน

    เพราะอย่างนั้นเราจึงต้องอาศัยการ Rehearsal หรือการทำซ้ำๆ อาจจะเป็น Elaborative Rehearsal (精緻化リハーサル) คือการทำซ้ำโดยทำความเข้าใจแล้วเชื่อมโยงระหว่างแต่ละสิ่งที่เรียนไป หรือเพิ่มข้อมูลเข้าไปผสมกัน บางอย่างที่เข้าใจแล้วก็ต้องทำ Maintenance Rehearsal (維持リハーサル) อยู่ดี คือการท่องบ่อยๆ นั่นแหละ เช่นคำว่า なければならない กว่าจะพูดให้ลิ้นไม่พันกันได้ก็ต้องใช้การฝึกค่ะ

    อ่านมาถึงตรงนี้จะสังเกตได้ว่า ส่วนใหญ่แล้วหัวใจของการเกิด アウトプット ก็คือการ アウトプット ค่ะ ฝึกใช้ สังเกต ปรับปรุง ใช้ใหม่ ฝึกฝนไปเรื่อยๆ ก็คือการเรียนรู้จากความผิดพลาด (誤用) ถ้ามัวแต่อายไม่ยอมใช้ก็จะไม่มีวันผิดพลาด แต่ก็จะไม่มีวันเข้าใจ นี่คือสิ่งที่เราคิดว่าคาบนี้โฟกัสมากๆ จะต้องให้ทำจริงทุกครั้ง (และทำเยอะด้วย...)


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


    ก็เป็นประมาณนี้ค่ะ จริงๆ มีรายละเอียดยิบย่อยอีกมาก แต่ถ้าจะเขียนออกมาคงอ่านไม่หมด สุดท้ายนี้จะขอทิ้งท้ายทฤษฎีการเรียนรู้ของนักภาษาศาสตร์ 3 คนค่ะ คือ

    Krashen กล่าวว่า Input เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเรียนรู้

    Swain โต้ว่า Output ต่างหากทำให้เกิดการเรียนรู้ และยังทำให้รู้ว่าเราทำอะไรได้ไม่ได้บ้าง

    Long เถียงทั้ง 2 คนว่า มีแค่ input กับ output จะไปพออะไร ต้องมี Interaction สิถึงจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด

    คงไม่มีใครผิดใครถูกหรอกค่ะ แต่สำหรับเรา เราเห็นด้วยกับ Long ค่ะ input ก็สำคัญ แต่ถ้าไม่ output เลยก็เป็นได้แค่คนเจ้าทฤษฎี แต่ถ้าไม่ได้รับ input ที่เหมาะสมก็ยากที่จะ output ได้ถูกต้อง เลยขอเลือกทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ของ Long ที่ดูอยู่ตรงกลางแล้วกันค่ะ

    แล้วสำหรับเพื่อนๆ ล่ะคะ เห็นด้วยกับใครมากที่สุด?



     
プリム