วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

すべてのタスクーまとめー


5月7日(日)
すべてのタスクーまとめー

   บล็อกที่ผ่านมาทั้งหมดจะมีแต่ 内省 ของแต่ละ タスク คือมีแต่ 気づき และ アウトプット แต่ไม่เคยพูดถึง "เนื้อหา" หรือ インプット เลย อาศัยอ่านสรุปของบล็อกชาวบ้านเอา (ขอโทษค่ะ...) ตอนนี้มีเวลาแล้วเลยอยากสรุปสิ่งที่ได้เรียนในห้องไว้สักหน่อยค่ะ


    เริ่มจากเรื่องแรกสุด 応用言語学 ≠ 一般言語学 ค่ะ ภาษาศาสตร์พื้นฐานที่เรียนไปเทอมที่แล้วจะเป็นเรื่องของทฤษฎีและความถูกต้อง หรือ 正しさ ขณะที่ภาษาศาสตร์ประยุกต์จะเป็นการนำความรู้จากภาษาศาสตร์พื้นฐานไปใช้อย่างเหมาะสม หรือ ふさわしさ ค่ะ

*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

    บุคคลสำคัญที่มีชื่อปรากฏทุกคาบคือ クラッシェン (Stephen Krashen) ค่ะ เป็นนักภาษาสาสตร์ที่กล่าวเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาที่สอง (第二言語習得 Second Language Acquisition หรือ SLA) โดยได้กล่าวถึงทฤษฎีสำคัญไว้ 5 ประการ ตามนี้



    ① 習得学習仮説 (Acquisition-learning Hypothesis)

    習得 (Acquisition) คือการเรียนโดยธรรมชาติ เช่นจากการรับรู้ในชีวิตประจำวันทั่วไป ส่วน 学習 (Learning) นั้นคือการเรียนรู้ผ่านการเรียนการสอน ต้องมีผู้สอนคอยชี้แนะ เหมือนที่เราเรียนกับครูในโรงเรียน

    ② モニター仮説 (Monitor Hypothesis)

    ก็คือการมอนิเตอร์หรือ "สำรวจ" ตัวเอง (自己モニター) ว่าสิ่งที่พูดหรือเขียนออกไปมันถูกต้องไหม เหมาะสมหรือเปล่า มีอยู่ 3 ลักษณะคือ 

    1) Over users หรือพวกที่ใช้มอนิเตอร์มากเกินไป จะพะวงความถูกต้องตลอดจนไม่ค่อย アウトプット และทำให้ขาดความคล่องในการใช้ (เราอาจจะเป็นประเภทนี้ กลัวผิดไปหมด...)

    2) Under users ตรงข้ามกับพวกแรกคือไม่คิดเลย ไม่สำรวจตัวเองเลย ใช้มั่วๆ ไปก็ไม่รู้ตัว ทำให้ขาดความถูกต้องและเหมาะสม

    3) Optimal users พวกสายกลาง คอยสำรวจและแก้ไข แต่ก็ไม่กังวลเกินไปจนไม่กล้าใช้ แน่นอนว่าประเภทนี้ดีที่สุด

    ③ 自然習得仮説 (Natural order acquisition) 

    คือทฤษฎีที่ว่าด้วย "ลำดับ" ของการเรียนรู้ คือในการเรียนไวยากรณ์ภาษาใดภาษาหนึ่งจะมีหลักที่ fixed เอาไว้ว่าจะต้องเริ่มเรียนจากอะไรก่อน เช่นถ้าเป็นภาษาอังกฤษ เราจะเรียนเป็นลำดับดังนี้

    1) He is walking. He has a lot of books. He is a doctor.
    2) He is walking. He likes the book.
    3) He came to my house.
    4) He visited my house. He walks to school every day. He is driving his brother‘s car

    ตรงนี้จำไม่ได้ว่าเรียนภาษาอังกฤษมาตามนี้หรือเปล่า จำได้แค่ present → past → future  → present continuous...ฯลฯ แต่สรุปก็คือเป็นโครงสร้างลำดับการเรียนตามอัตโนมัติ เข้าใจเรื่องนี้เพื่อเข้าใจเรื่องนี้ต่อเป็นลำดับๆ ไป ซึ่งสามารถลำดับคาดเดาได้เพราะถูก fixed ไว้แล้ว

    ④ インプット仮説

    - 大量のインプット (Lots of input) ต้องมีข้อมูลมาก
    - 理解可能なインプット (Comprehensible input) ข้อมูลนั้นต้องสามารถทำความเข้าใจได้
    - i+1 คือการเรียนแบบต่อยอด คือสมมติว่าเรามีสิ่งที่เป็นพื้นอยู่แล้วคือ i ก็ค่อยๆ เพิ่มจากตรงนั้นแค่ 1 ไปเรื่อยๆ ไม่ใช่มี i แล้วเพิ่มรวดเดียว 10 แบบนี้




    นอกจากนี้ก็มีเรื่องของลักษณะการให้ インプット นั้นกับผู้เรียน ได้แก่ Natural Approach ที่ว่าด้วยการสอนภาษาที่สองโดยไม่ใช้ภาษาแม่ (สอนญี่ปุ่นด้วยภาษาญี่ปุ่น) based on การทำกิจกรรมและพูดคุยมากกว่าการเรียนรู้ไวยากรณ์ 

    กับอีกเรื่องคือ TPR (Total Physical Response) หรือการเรียนรู้ด้วยการกระทำ เช่นผู้เรียนเอารูปเครื่องบินให้ดูและพูดว่า "Fly your plane" พร้อมกับทำท่าปาจรวด เด็กก็จะจำได้ง่ายกว่าการพูดคำว่าเครื่องบินๆ กรอกหูเด็ก แบบวิดีโอต่อไปนี้



    ⑤ 情意フィルター仮説 (Affective Filter Hypothesis)

    พูดง่ายๆ ก็คือตัวกรอง "ความรู้สึก" ของผู้เรียน ถ้าผู้เรียนมี filter สูง เช่น วิชานี้ข้อสอบยาก การบ้านเยอะ สอนไม่รู้เรื่อง ความรู้สึกอยากเรียนก็จะลดลงและทำให้การเรียนไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้สอนจึงควรหาทางให้เด็กมี filter ต่ำๆ เอาไว้


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


    จบแล้วค่ะ ทฤษฎีของ クラッシェン ต่อไปจะพูดเรื่องของ The process of learning implicit knowledge มีคีย์เวิร์ดสำคัญตามรูปต่อไปนี้



    การสอนมี 2 แบบคือ Implicit Knowledge (暗示的知識) คือการอธิบายแบบยกตัวอย่างให้ผู้เรียนเข้าใจเอง กับ Explicit Knowledge (明示的知識) คือการอธิบายบอกความหมายและวิธีใช้ตรงๆไปเลย

    ซึ่งข้อมูลที่เข้ามาให้หัวผู้เรียนจะเป็นแค่ input เมื่อผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ (気づき) ด้วยการเปรียบเทียบหรือสำรวจตรวจสอบตัวเอง ข้อมูลนั้นก็จะกลายเป็น intake คือผู้เรียนเข้าใจข้อมูลนั้นและดูดซึมมันเข้าไปเป็นความทรงจำระยะสั้น ต่อมาเมื่อได้นำข้อมูลนั้นไปประยุกต์ใช้จริง (統合) ได้ถูกต้องก็จะพัฒนาเป็นความทรงจำระยะยาว และทำให้สามารถ output ออกมาได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรมชาติต่อๆ ไป

    นี่คือเวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่นค่ะ จะละเอียดกว่า แต่ถ้าเขียนหมดจะยาวไป (นี่ไงล่ะผลของการดอง) ขอสรุปแค่สั้นๆ ด้านบนนะคะ





*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


    แต่มันไม่ง่ายอย่างนั้นใช่ไหมล่ะคะ เรียนมีกี่ปีดีดัก จุดที่ยังผิดแล้วผิดอีกก็มี จุดที่สับสนอยู่นั่นแล้วก็มี จุดที่ยังไงก็ต้องใช้เวลานึกก็มี (คนที่ไม่เคยสัมผัสประสบการณ์นี้ก็ดีใจด้วยค่ะ...) กว่าจะเปลี่ยนจากภาษาแม่เป็นภาษาที่สองได้ จึงต้องผ่าน "ช่วงเปลี่ยนผ่าน" หรือ Interlanguage (中間言語) ก่อน

    เพราะอย่างนั้นเราจึงต้องอาศัยการ Rehearsal หรือการทำซ้ำๆ อาจจะเป็น Elaborative Rehearsal (精緻化リハーサル) คือการทำซ้ำโดยทำความเข้าใจแล้วเชื่อมโยงระหว่างแต่ละสิ่งที่เรียนไป หรือเพิ่มข้อมูลเข้าไปผสมกัน บางอย่างที่เข้าใจแล้วก็ต้องทำ Maintenance Rehearsal (維持リハーサル) อยู่ดี คือการท่องบ่อยๆ นั่นแหละ เช่นคำว่า なければならない กว่าจะพูดให้ลิ้นไม่พันกันได้ก็ต้องใช้การฝึกค่ะ

    อ่านมาถึงตรงนี้จะสังเกตได้ว่า ส่วนใหญ่แล้วหัวใจของการเกิด アウトプット ก็คือการ アウトプット ค่ะ ฝึกใช้ สังเกต ปรับปรุง ใช้ใหม่ ฝึกฝนไปเรื่อยๆ ก็คือการเรียนรู้จากความผิดพลาด (誤用) ถ้ามัวแต่อายไม่ยอมใช้ก็จะไม่มีวันผิดพลาด แต่ก็จะไม่มีวันเข้าใจ นี่คือสิ่งที่เราคิดว่าคาบนี้โฟกัสมากๆ จะต้องให้ทำจริงทุกครั้ง (และทำเยอะด้วย...)


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


    ก็เป็นประมาณนี้ค่ะ จริงๆ มีรายละเอียดยิบย่อยอีกมาก แต่ถ้าจะเขียนออกมาคงอ่านไม่หมด สุดท้ายนี้จะขอทิ้งท้ายทฤษฎีการเรียนรู้ของนักภาษาศาสตร์ 3 คนค่ะ คือ

    Krashen กล่าวว่า Input เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเรียนรู้

    Swain โต้ว่า Output ต่างหากทำให้เกิดการเรียนรู้ และยังทำให้รู้ว่าเราทำอะไรได้ไม่ได้บ้าง

    Long เถียงทั้ง 2 คนว่า มีแค่ input กับ output จะไปพออะไร ต้องมี Interaction สิถึงจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด

    คงไม่มีใครผิดใครถูกหรอกค่ะ แต่สำหรับเรา เราเห็นด้วยกับ Long ค่ะ input ก็สำคัญ แต่ถ้าไม่ output เลยก็เป็นได้แค่คนเจ้าทฤษฎี แต่ถ้าไม่ได้รับ input ที่เหมาะสมก็ยากที่จะ output ได้ถูกต้อง เลยขอเลือกทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ของ Long ที่ดูอยู่ตรงกลางแล้วกันค่ะ

    แล้วสำหรับเพื่อนๆ ล่ะคะ เห็นด้วยกับใครมากที่สุด?



     
プリム




1 ความคิดเห็น: