วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2560

タスク 5.1ーあいづちー


4月24日(月)
タスク 5.1ーあいづちー

   อัพบล็อกรัวๆ เพราะอาทิตย์หน้าไฟนอลแล้ว ไม่ได้ดองงานนะ แต่เทอมนี้งานเทเข้ามาวันต่อวันจริงๆ เสร็จงานนี้ก็มีงานนี้ต่อ ทำเท่าไหร่ก็ไม่หมด เรียนกี่คาบต่ออาทิตย์ก็มีจำนวนงานเท่านั้นแหละ ฮือ เทอมที่แล้วยกให้เป็นเทอมแห่ง "การพรีเซ้นต์" ส่วนเทอมนี้ขอยกให้เป็นเทอมแห่ง "การเขียน" เลย เขียนกันมือหงิก


   อารมภบทชักยาว เข้าเรื่องดีกว่าค่ะ ต่อเนื่องจากคราวที่แล้ว ครั้งนี้ก็ยังอยู่ในเรื่องของ あいづち ค่ะ ตั้งแต่คาบที่แล้วก็เริ่มจากลองพูดกันก่อน ตามด้วยไปฟังของคนญี่ปุ่น แล้วค่อยกลับมาพูดใหม่อีกทีในคาบนี้

   ความเปลี่ยนแปลงน่ะเหรอ

   ...มี...มั้ยนะ...
   
https://img.gifmagazine.net/gifmagazine/images/500728/original.gif?1439694644

   การพูดครั้งที่สองนี้เรา 意識 เรื่องการแทรกให้น้อยลงค่ะ เพราะคราวที่แล้วรู้สึกจะ あいづち เยอะไปหน่อย สรุปการตอบรับในฐานะผู้ฟังออกมาดังนี้ค่ะ

   ครั้งแรก (赤ちゃん) : うん 7 ครั้ง ・ああ 2 ครั้ง・ーん 1 ครั้ง・へー 1 ครั้ง・そうか 1 ครั้ง・ทวนคำ 3 ครั้ง

   ครั้งที่สอง (飛行機) : うん 5 ครั้ง・うーん 1 ครั้ง・え!? 2 ครั้ง・แสดงความรู้สึก 1 ครั้ง (よかったね、乗れなくて)

   ดังนั้นบล็อกนี้เลยจะลองสรุปข้อดีข้อเสียของการใช้ あいづち ของตัวเองค่ะ

   ① คำที่ใช้และสถานการณ์

   อย่างที่บอกในบล็อกที่แล้วว่าเราติดคำว่า うん มากกว่าคำอื่น นับเป็นสักหกสิบเปอร์เซ็นต์ได้ แต่ก็มีคำอื่นๆ ที่ใช้ลดหลั่นกันลงมาเหมือนกันค่ะ เรียงลำดับตามนี้ค่ะ

   แค่ตอบรับเฉยๆ : うん(うんうん)→ うー(เป็นเสียงอือในภาษาไทยค่ะ) → ああ → ーん (แค่ส่งเสียงในคอ) หรือถ้ากับอาจารย์จะใช้ はい ลูกเดียว (ไม่ใช้ ええ ด้วย) ทั้งหมดนี้มักมาคู่กับการพยักหน้า ไม่ก็แค่พยักหน้าเฉยๆ หรือหัวเราะ

   แสดงความเห็นด้วย : うん→ ね →そうだね → หัวเราะ

   แสดงความตกใจ・แปลกใจ : へー → えっ?・ええーっ! → ホー → หัวเราะ

   แสดงความคิดเห็น : よかったね → 大変だよね → そっか ฯลฯ อันนี้ขึ้นอยู่กับบริบทเลยค่ะ

   กระตุ้นให้พูดต่อ・ให้กำลังใจ : うん → 何?→ で? → ทวนคำซ้ำ 

   จะสังเกตว่า うん ของเราใช้ในหลายความหมายมากๆ เลยไม่แปลกที่จะเป็นคำที่ติดปากที่สุด เรื่อง シフト ไม่ค่อยมีปัญหานะ แล้วแต่ว่าคุยกับใคร ระดับภาษาก็จะเปลี่ยนอัตโนมัติเอง

   อีกข้อหนึ่งที่พบคือเราจัดว่าการ "หัวเราะ" เป็นหนึ่งใน あいづち หลายประเภทเลยค่ะ เห็นด้วยก็หัวเราะ ตกใจก็หัวเราะ เพราะบางทีก็ไม่รู้จะพูดอะไร หัวเราะแทนแล้วกัน

   ส่วนอันที่ไม่ค่อยได้ใช้คือการตอบรับหลัง ね・よ เพราะคุยกับเพื่อนด้วยกันเอง แค่แต่งประโยคก็ยากแล้ว ไม่ค่อยมีใครถาม ね・よ มาให้ตอบรับสักเท่าไหร่ แต่พอมาคิดดูดีๆ ตอนที่คุยกับเพื่อนชาวญี่ปุ่น เขาก็พูดๆ ไปแล้ว ね กับเราเป็นพักๆ เหมือนกัน ก็เป็นอีกหนึ่งความใส่ใจให้อีกฝ่ายเข้าร่วมบทสนทนา ไม่ใช่พูดอยู่ฝ่ายเดียว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเราก็ตอบด้วย うん・うーん เหมือนเดิมนั่นแหละ5555

https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/originals/fa/23/
49/fa2349f30bbf9d259dc313d5a4021d89.gif

   ② จังหวะและความถี่

   อันนี้แหละค่ะที่คิดว่าใช้ต่างจากเจ้าของภาษา อย่างที่เขียนไปในคราวก่อนแล้วเหมือนกันว่าเรามักจะ あいづち ตอนที่รอเพื่อนคิด ซึ่งมักจะเป็นหลังคำช่วยหรือการเว้นวรรคใดๆ ก็ตามเลย ทำให้เราจะ うん ค่อนข้างบ่อย

   ขณะที่คนญี่ปุ่นจะส่งเสียงตอบรับหลังช่วงวรรคประโยค (หลัง「、」) หรือไม่ก็หลังจากที่จบประโยคไปแล้ว อย่างที่ฟังคราวก่อนพิธีกรผู้หญิงหัวเราะบ่อยมากและขำแรงมาก แต่ก็ไม่ได้ขัดจังหวะคนเล่าแต่อย่างใดเพราะรอให้เขาพูดจบประโยคไปก่อน

   ก็คิดว่าตรงนี้ต้องปรับปรุงให้ตอบรับ "น้อยลง" คือรอให้ถึงจังหวะพักหายใจ ตอนจบประโยค หรือจังหวะที่เขาต้องการการตอบรับจากเราน่าจะดีกว่า (แต่โดยส่วนตัวคิดว่าที่ あいづち เยอะเพราะด้วยความที่ไม่ใช่ภาษาแม่ เลยพยายามตอบรับให้คนฟังรู้ว่า "เข้าใจนะ พูดต่อได้เลย" ก็คงต้องบาลานซ์ให้ดี ไม่มากไปไม่น้อยไป)




   ③ อวจนะภาษา

   คนญี่ปุ่นจะสังเกตปฏิกิริยาของคนฟังเสมอ ดังนั้นเวลาพูดจะมองเราไปด้วย ขณะที่เราเป็นพวก "ไม่ค่อยสบตาคน" ยิ่งเวลาต้องใช้ความคิดแล้วยิ่งหลบตา มองเพดาน มองฟ้า มองดิน มองทุกอย่างที่ไม่ใช่ตาเขา แต่ก็จะกลับมามองหน้าเขาตลอดนะ เพียงแค่ไม่ได้ "จ้องตา" มากเท่านั้นเอง (คือตวัดตากลับมาดูให้เห็นสีหน้าอย่างเดียว)

   ตอนที่โดนจ้องเรารู้สึกสองแบบค่ะ คือถ้าไม่รู้สึกประทับใจว่าเขาตั้งใจฟังมากก็เขินไปเลย ดังนั้นเลยคิดว่าจะเอามา adapt แค่นิดหน่อย คือจะไม่จ้องหน้าตลอดเวลา แต่พยายามสบตาให้มากขึ้น


https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/originals/5c/da/
c5/5cdac5fb29d889928c19ea10eaeb4d16.gif

   ④ ความรู้สึกที่ส่งออกมา

   เวลาพูดอะไรกับใครเราจะรู้สึกใช่ไหมคะว่าคนนี้ฟังเราอยู่หรือเปล่า คนที่ตอบอืมๆ ตลอดแต่รู้เหมือนฟังหูซ้ายทะลุหูขวา หรือคนที่มองเราตลอดแต่เหมือนเหม่ออยู่มากกว่า หรือคนที่หัวเราะและตอบรับมากจนเหมือนเสแสร้งก็มีใช่ไหมคะ ดังนั้นไม่ใช่แค่ 意識 ใน "สิ่งที่ควรทำ" ที่เขียนไว้ข้างต้นเท่านั้น แต่ "ความจริงใจ" ก็สำคัญค่ะ

   ยอมรับเลยว่าเป็นคนหน้าง่วง ไม่ได้ง่วงเลยหน้าก็เพื่อนก็ยังทักว่าไม่ได้นอนเหรอ ยิ่งตอนง่วงจริงบ้าง ง่วงม้ากมากบ้าง ถึงจะตั้งใจฟังแต่ก็ยังแอบรู้สึกว่าหน้าเหนื่อยไปรึเปล่า เขาจะคิดว่าเราเบื่อหรือเปล่า จุดนี้ก็คงต้องพยายามนิดหนึ่งล่ะค่ะ ทำตัวให้แจ่มใสขึ้น ให้เขารู้สึกถึงความตั้งใจของเราให้ได้ (เท่าที่ทำได้น่ะนะ...)

http://i.imgur.com/z56yK.gif

   และบางที 作り笑い ก็จำเป็นค่ะ อ่านๆ มาแล้วอาจจะ อ้าว...นี่พูดเรื่องความจริงใจอยู่ไม่ใช่เรอะ แกล้งหัวเราะนี่มันจริงใจตรงไหน เราคิดว่าเราไม่มีทางสนใจทุกเรื่องที่ทุกคนพูดได้หรอก ก็อย่าตัดรอน แต่ก็อย่าถึงขั้นเสแสร้งค่ะ สร้างออร่าความเป็นมิตรเล็กๆ ขึ้นมาให้เขาไม่รู้สึกแย่ที่คุยกับเราก็พอ (แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ เขาก็คงรู้เองแหละ...)

   อืม...เหมือนจะมีสาระ แต่ก็เป็นแค่ความคิดเห็นและการวิเคราะห์ตัวเองของเราค่ะ แต่ละคนก็มีสไตล์การพูดที่ต่างกันไป มันไม่มีแบบแผนตายตัวหรอกว่า あいづち ที่ดีที่สุดคือคำไหน จังหวะไหน บ่อยแค่ไหน ทั้งคนที่ あいづち上手 ก็มี ทั้งคนที่พูดน้อย ไม่ค่อยมองหน้า แต่เรารู้สึกว่าเขาตั้งใจฟังก็มี ก็ขึ้นอยู่กับบุคลิกของแต่ละคนและคู่สนทนาในสถานการณ์นั้นๆ ค่ะ



プリム


1 ความคิดเห็น:

  1. น้องพริมเขียนบล็อกละเอียดมากเลย ประทับใจ :D
    เห็นด้วยกับที่บอกว่า "ไม่มีแบบแผนตายตัวว่า あいづち ที่ดีที่สุดคือคำไหน" เราก็ว่าขึ้นอยู่กับสไตล์คนมากกว่า ดูอย่างADรายการ日天ที่หัวเราะเยอะๆ ส่งรับเป็นบางจุด บางคนก็บอกหัวเราะเยอะไปไม่ชอบ บางคนก็ว่าดีดูอินกับเรื่อง บางคนว่าส่งรับกำลังดีทำให้เรื่องดำเนินไปได้โดยคนพูดไม่รู้สึกว่าโดนขัด

    ตอบลบ