วันเสาร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2560

氷菓ศึกษา (7) ー生き雛ー



4月23日(日)
氷菓ศึกษา (7) ー生き雛ー

   ถ้าพูดถึงเดือนเมษายน ในขณะที่ประเทศเรามีเทศกาลสำคัญที่ทุกคนเฝ้ารอ (วันหยุดยาว) อย่างสงกรานต์ ญี่ปุ่นก็มีฮินะมัทสึริค่ะ

   หืม?



待って待って待って!
http://i.imgur.com/BwUBhlZ.jpg

   เดี๋ยวๆ ฮินะมัทสึริมันวันที่ 3 เดือน 3 ไม่ใช่เหรอ นี่มันเดือน 4 แล้วนะ

   ใช่ค่ะ แต่ญี่ปุ่นยังมีฮินะมัทสึริที่ "จัดเลทไปเดือนหนึ่ง" อยู่ ซึ่งก็คือเทศกาล 生き雛 ค่ะ เราก็ไม่เคยรู้มาก่อนจนมาดูเฮียวกะนี่แหละ รายละเอียดจะเป็นยังไงไปดูตัวบทกันเลยค่ะ


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   千反田:明後日、何か予定はありますか?



   奉太郎いや

   千反田:そうですか。良かった



   千反田:あの、折木さん。いきなりでご迷惑なのは重々承知なんですが、どうか、傘を持ってくれませんか

   受話器を握ったまま、思わず、首を傾けてしまった

   千反田:わたしの家の近くの神社で、雛祭りをやるんです。お内裏さま、お雛さま、右大臣左大臣、三人官女が揃います。昔は五人囃子もいたそうですが、最近は子供が少なくなって、減らされました

   なぜ子供の数が減ると雛飾りの五人囃子が省略されるのか、まったくわからない。しかしそれよりも根本的な矛盾がある。いまは四月で、雛祭りは三月



   奉太郎一ヶ月遅くないか?

   千反田:あ、はい、そうです。旧暦あわせですから





   奉太郎明後日だったな。雛飾りの横で、立っていればいいんだろう?

   千反田:ええ、一緒に歩いてもらいます

   奉太郎歩くって、雛と?

   千反田:…そうです

   奉太郎雛が歩くのか

   千反田:そうですよ

   当然のように受け答えする千反田だが、なぜかだんだんと声が小さくなる。俺が「なんで雛が」と言いかけたところで、たまりかねたようにこう言った



   千反田:確かにお雛さまですが、あまり雛、雛と言わないでください。わたしだって、少しは恥ずかしいんですから

   奉太郎まさか、雛って



   千反田:…あ、もうしかして折木さん、何も知らなかったんですか?

   水梨神社では、毎年旧暦の雛祭りに、女の子が着飾って『生き雛』となるんです『生き雛』を先頭に行列を作り、集落を巡ります。水梨神社の生き雛まつりといえばそれなりには有名だと思っていたので、折木さんもてっきりご存知かと…

   ええ。中学校に上がってから、お雛さまの役目は毎年、わたしが仰せつかっています

*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

   โดยสรุปก็คือ ทุกปีศาลเจ้ามิซึนาชิจะมีการจัดงานวันเด็กผู้หญิงโดยยึดวันที่ตามปฏิทินจันทรคติ โดยจะให้เด็กผู้หญิงแต่งตัวเป็น "ตุ๊กตามีชีวิต" แล้วเดินขบวนวนรอบๆ ประมาณ 40 นาทีค่ะ

   ก่อนจะพูดถึงเทศกาลนี้ ขอพูดถึงแท่นวางตุ๊กตาวันเด็กผู้หญิงแบบปกติก่อนค่ะ 

   雛祭り จัดขึ้นเพื่ออธิษฐานให้ลูกสาวมีความสุข ขจัดพลังชั่วร้ายออกไปจากชีวิตผ่านตุ๊กตา ให้ประสบแต่ความสำเร็จ สุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีรูปร่างหน้าสวยงาม

   ในวันเทศกาล ชาวญี่ปุ่นจะนำตุ๊กตาฮินะ(雛人形)มาตั้งโชว์ไว้บนชั้น จำนวนชั้นจะมากหรือน้อยเป็นการแสดงถึงฐานะของแต่ละบ้าน ซึ่งระดับจะสูงสุดที่ 7 ขั้น โดยทั่วไปตุ๊กตาที่นำมาวางในหนึ่งเซทจะมีประมาณ 15 ตัว

   เริ่มจากชั้นบนสุดคือตุ๊กตาเจ้าชาย (お内裏さま)และตุ๊กตาเจ้าหญิง(雛さま)โดยจะวางเจ้าหญิงไว้ทางซ้ายของเจ้าชาย ชั้นต่อมาเป็นชั้นของสามนางกำนัล(三人官女)ถัดมาเป็นนักดนตรีห้าคน (五人囃子)ตามด้วยเสนาบดีฝ่ายขวาและซ้าย(右大臣・左大臣)และชั้นที่ห้าคือคนรับใช้สามคน(仕丁)นอกจากนั้นก็จะประดับด้วยกิ่งต้นท้อ ฮิชิโมจิ(菱餅)สาเกขาว และชิราชิซูชิ(ちらし寿司)
   
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/d/d9/Hina_matsuri_display.jpg
   แบบนี้ค่ะ

   สำหรับเทศกาล 生き雛 ก็จะเปลี่ยนจากตุ๊กตาเหล่านี้มาเป็นคนจริงๆ โดยให้ใส่ชุดเหมือนกับตุ๊กตาค่ะ



   คนที่มารับบทเป็นเจ้าชายคือรุ่นพี่อิริสึ ที่ได้พูดถึงไปในตอน お茶 ค่ะ ถึงแม้จะเป็นบทผู้ชาย แต่ตุ๊กตาตัวหลักในขบวนนี้จะใช้ผู้หญิงล้วนค่ะ

   แล้วก็มาถึงคนที่ทำให้โอทาโร่ทำหน้าแบบนี้



   แน่นอนว่าคือเจ้าหญิงหรือจิทันดะนั่นแหละค่ะ จิทันดะปรากฏตัวในชุดจูนิโตเอะเต็มยศ ด้านนอกสุดเป็นสีส้ม ถัดไปด้านในเป็นสีชมพู ฟ้า เหลือง ขาวไปเรื่อยๆ สิบสองชั้น



   หลังจากนั้นภาพทุกอย่างก็เบลอและกลายเป็นสโลว์โมชั่นด้วยความตกอยู่ในภวังค์ของโฮทาโร่ แต่อยากจะบ่นเกียวอนิมากว่ามันปวดตานะ!




   ส่วนภาพบรรยากาศของจริงเป็นแบบนี้ค่ะ


http://minashijinjya.sakura.ne.jp/home/wp-content/uploads/2014/05/ce65ad1d4b94099aa3146780356be6ae.jpg

http://www.ja-hida.or.jp/season/img/spring_04_05.jpg

http://image.photohito.k-img.com/uploads/photo51/user50264/7/4/74feda5e494
ce63e2f70f7adc89ead3e/74feda5e494ce63e2f70f7adc89ead3e_l.jpg
http://www.takayama-dp.com/live/gallery/ikibinamatsuri01.jpg

   เทศกาลนี้จัดขึ้นในสมัยโชวะที่อุตสาหกรรมผ้าไหมรุ่งเรืองค่ะ เป็นการเฉลิมฉลองของชาวเลี้ยงไหมและอวยพรให้ผู้หญิงมีความสุข โดยจัดหลังวันเด็กผู้หญิงไปเดือนหนึ่งเพื่อเลี่ยงอากาศหนาว พอหลังสงครามโลกอุตสาหกรรมผ้าไหมได้ลดบทบาทลงไปมาก เทศกาลนี้จึงเป็นตัวโปรโมทและช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมผ้าไหมค่ะ ตอนจบของเทศกาลจะมีการโยนเค้กข้าว และอวยพรให้การเพาะปลูกอุดมสมบูรณ์ค่ะ ซึ่งก็ยังจัดอยู่จนถึงปัจจุบัน ปีนี้ก็เพิ่งผ่านไปหมาดๆ นี้เอง



   อนิเมะทำออกมาสวยมากและใกล้เคียงกับของจริงมากค่ะ ใครสนใจก็ลองไปดูกันได้นะคะ (ตอนที่ 22 ค่ะ)



プリム



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น