วันเสาร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2560

タスク 4.2 ーもっといいストーリーのためにー


4月15日(土)
タスク 4.2 ーもっといいストーリーのためにー 

   อย่างที่บอกไปตั้งแต่บอกแรกสุดแล้วว่าเราเป็นคนชอบเขียนค่ะ และออกจะถนัดเรื่องสั้นเป็นพิเศษ เพราะเรื่องยาวเขียนไม่ค่อยจะจบ จำได้ว่าจุดเริ่มต้นคือราวๆ อนุบาล 3 เคยได้ยินเรื่องเด็กหญิงหิมะกันไหมคะ ที่มีคนปั้นหิมะขึ้นเป็นรูปเด็กผู้หญิง แล้วหิมะนั้นก็เกิดมีชีวิตขึ้นมาจริงๆ แต่พอถูกไอร้อนจากเตาผิง เด็กหญิงก็ละลายกลายเป็นแอ่งน้ำ


   โห...ตอนนั้นร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวรเลยค่ะ ไม่ชอบตอนจบเอามากๆ สุดท้ายแม่ไม่รู้จะปลอบยังไงแล้วก็บอกให้ "แต่งตอนจบใหม่ขึ้นเองสิ"

   เหมือนเกิดรัศมีแห่งการบรรลุอะไรสักอย่างเรืองรองอยู่บนหัว

   พอเริ่มโตอ่านหนังสือเองได้แล้วก็ก้าวสู่การเป็นหนอนหนังสือเต็มตัว รู้สึกว่าหนังสือเป็นอะไรที่มหัศจรรย์มากๆ เวลาอ่านจะหลุดเข้าไปในโลกของหนังสือนั้น ยิ่งไม่มีพี่น้อง ไม่มีเพื่อนบ้าน หนังสือยิ่งเป็นเหมือนเพื่อนที่อยู่กับเราตลอดเวลา


読む本の中で、いつも空想を膨らませていた
読み終わったとき、ちょっぴり寂しかったけど
それでも、本があれば大丈夫だと思った
ー国木田花丸ー
http://pa1.narvii.com/6273/a041d7175ddd9cccbc3029f2a4c2c302eabee7c9_hq.gif

   พออ่านมากๆ ได้พบเจอกับโลกหลายๆ ใบ ก็ค่อยๆ เปลี่ยนจากการอยากอ่านเป็นการอยากเขียนเรื่องของตัวเอง อยากสร้าง "โลก" ของตัวเองขึ้นมาบ้าง และขีดๆ เขียนๆ อะไรเรื่อยเปื่อยมาโดยตลอด


   แต่ถ้าจะบอกว่า "ก็เคยเขียนเรื่องมาแล้วนี่ เขียนเพิ่มอีกเรื่องน่าจะไม่ยากไม่ใช่เหรอ" ละก็ผิดถนัดเลยค่ะ

   การเขียนเรื่องเป็นภาษาไทยกับภาษาญี่ปุ่นมันคนละเรื่อง!

   ยิ่งเป็น 描写 ที่ต้องใช้ภาษาสวยๆ แล้ว ถึงจะเคยแต่งมาก่อนก็ใช่ว่าจะเขียนได้ง่ายๆ เพราะเราไม่ชอบการแต่งแบบแปล ให้แต่งเป็นภาษาอะไรก็จะแต่งเป็นภาษานั้นเลย ไม่มีการเขียนเป็นไทยก่อนแล้วค่อยแปลเอา

   สิ่งที่เราอาจจะพอมีพื้นคือ "ไอเดีย" ค่ะ เราจะคิดพล็อตได้เร็วเพราะอ่านเยอะ มีคลังส่วนนี้เยอะ แต่ที่ขาดแคลนมากๆ คือ "คลังคำ" เพราะยังอ่านหนังสือญี่ปุ่นไม่เยอะขนาดนั้น แล้วดันเลือกเรื่องยากอีก เลยทำให้ค่อนข้างไม่พอใจในผลลัพธ์แต่ก็ต้องส่งๆ ไปก่อน ตอนที่อาจารย์ถามว่า "ให้คะแนนตัวเองเท่าไหร่" และเราตอบไปว่า "ห้า" นั้นไม่ได้ถ่อมตัว แต่เป็นความรู้สึกว่ามันยังดีได้กว่านี้

   อนึ่ง ด้วยความที่เป็นเรื่องสั้นที่ถูกจำกัดทั้งเวลาทั้งพื้นที่ แถมยังมีกำแพงภาษาที่ไม่เคยปีนไปก่อน คะแนนเต็มในหัวของเราจึงเป็น "แปด" ดังนั้นห้าก็ไม่ใช่ว่าจะแย่อะไรขนาดนั้น...

   อาจจะดูเหมือนคน きびしい กับตัวเองไปหน่อย แต่มันเป็นอีโก้นักเขียนของเราเองน่ะค่ะ...

   พอให้แลกกันอ่านในห้องแบบปิดชื่อ (ที่ส่องเอาก็เห็นอยู่ดี) ก็ได้อ่านและคอมเม้นท์เรื่องของคนอื่นๆ และเพื่อนก็คอมเม้นท์ของเรามาเหมือนกันค่ะ ดังนี้


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   ข้อดี

   1. เขียนบรรยายละเอียดมาก

   2. ศัพท์ที่ใช้ดูสวยดี

   3. ชอบบรรยากาศเรื่อง ชอบธีมสับสนกับอนาคตตัวเอง จบสวย ดูอบอุ่น

   4. ชอบศัพท์ตอนบรรยายตอนทำแก้ว


   ข้อเสีย

   1. ย่อหน้าแรกระหว่างบรรยายว่าเดินอยู่ที่ไหนกับเรื่องวันเกิดมันดูเปลี่ยนเรื่องเร็วไปนิดหนึ่ง

   2. ตรง 私、欲しいものなんかわかりませんよ。อ่านแล้วแอบงงว่าคิดในใจหรือพูด

   3. 天才のない自分 → 才能のない自分/天才ではない自分

   4. ถ้ามีที่น่าจะเคาะบรรทัดแบบนิยาย จะช่วยให้แยกความคิดกับประโยคคำพูดได้มากขึ้น

   5. แล้วก็ประเด็นเรื่องตัวเอง ถ้ามีที่บรรยาย 心情 ตัวละคร แบบถ้าบรรยายให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของความคิดของตัวละครได้จะดีมาก


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

http://pa1.narvii.com/5800/1936ef46be55158bad20b730ac40891250a0f0ba_hq.gif

   ตอนที่เขียนด้วยความรีบเร่งก็เต็มไปด้วยความคิดว่า คนอื่นจะเข้าใจไหม จะเห็นภาพไหม จะรู้สึกถึงอะไรสักอย่างไหม แต่พอเห็นคอมเม้นท์ ทั้งในห้องทั้งในบล็อกที่แต่งใหม่...ก็ดีใจค่ะ ภาพที่อยู่ในหัวแต่ละคนคงไม่เหมือนกันหรอก จากตัวอักษรหน้ากระดาษเดียวอาจสามารถกลายเป็น "โลก" ที่ต่างกันเป็นสิบๆ ใบ...ร้อยๆ ใบ เป็นความเป็นไปได้ที่ไม่สิ้นสุด

   ซึ่งมันสุดยอดเลยนะ

   สำหรับข้อที่ควรแก้ไข อ่านแล้วก็รู้สึกว่า...เออแฮะ โดยเฉพาะข้อ 3 พอมาหาดูแล้วไม่มีใครใช้ 天才のない自分 จริงๆ ด้วย มีแต่อันที่เพื่อนแก้มา เลยแก้ตามที่เพื่อนบอกค่ะ ส่วนข้อ 4 และข้อ 5 นั้น เราก็อยากทำเหมือนกัน...แต่ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่...orz

   หลังจากได้ฟีดแบคจากทั้งเพื่อนและอาจารย์ ก็กลับมานั่งแก้และส่งไปอีกครั้ง การส่งครั้งสุดท้ายนี้เราให้คะแนน "เจ็ดเต็มแปด" ค่ะ แปลเป็นภาษาชาวบ้านทั่วไปได้ว่า "พอใจกับมันแล้ว"

   เราไม่ได้แก้เฉพาะคำผิด แต่มีทั้งตัดทิ้ง เพิ่มใหม่ สลับลำดับ รวบประโยค พลิกมันทั้งย่อหน้า ถ้าอ่านเทียบกับดราฟท์แรกก็จะมีส่วนที่ต่างพอสมควร และ 星空の玉 ฉบับสุดท้ายก็เป็นเช่นนี้ค่ะ (ถ้าขี้เกียจอ่านดูแค่ตรงที่ไฮไลต์ไว้ก็พอค่ะ)



*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*



星空の玉
 
 「大学に行くべきか、働くべきか、夜空は知っているかな」白い吐息がすぐに消えた。高校三年生の誕生日に、そんなくだらないことを思いながら才能のない自分のことや見えない将来のことを悩んで、一人で冬の夕暮れのにぎやかな商店街をぼんやり歩いていた。特にほしい物もないし、両親もたぶんプレゼントを買ってくれるが、何かを買いたい気持ちだった。しかし、買いたいものはなかなか見つからなかった。

 にぎやかな商店街の片隅に小さい屋台があった。たこ焼き屋やラーメン屋のような屋台ではなくて、黄色い電球形蛍光灯で飾ってあり、そのキラキラ光っている淡いイルミネーションがきれいだった。たくさんの釜が置いてあった。釜の中は何かのどろどろに溶かしている金色、真っ黒、青色、桃色などの液体がが輝いていた。その釜からの熱い水蒸気がまわりの空気を暖めていた。

  何を売っているんだろう。私の考えることがわかったかのように、釜たちの後ろに立っていたおじいさんが優しく微笑んでくれた。「ガラスを作るんですよ、お嬢さん。いかがでしょう?」私は考えずに、不思議とうなずいた。「じゃあ、何がいいでしょう?」と聞かれて、少し考えてみた。…特にありません。私、欲しいものなんかわかりませんよ。でも、何も言えずに、ただ首を横に振いて愛想笑いをした。おじいさんが柔らかく微笑んだ。「だったら、砂に任せようか」答えを待たずに彼は金色の釜に向いた。釜の中にある液体はとても甘いキャラメルにそっくりだった。「おいしそうでしょう。でもこれは砂だからね」彼は釜の中のどろどろのガラスを管の先にとって、優しく息をはいてガラスを少し膨らませた。金色の溶けたガラスが赤い玉の形になって、熱い玉が冷やされてとても透明な玉ができた。玉の一番上には穴があった。

 おじいさんが黒と青の溶けた砂をその玉の底に入れて、紫と白いのを少しずつ、絵を描くように、とても器用な手で玉の中にキラキラ夜空を作った。次、もう一度金色の砂の釜から管の先にほんの少し解けた砂を取った。管を吹きながら形を整えて、とても、とても小さな金色のガラス星ができた。おじいさんの動きが早くて、まるで魔法を使っていたかのようで、目を離せなかった。金色と桃色のちっちゃい星がたくさんできあがって、置いてあるガラスの星たちは光を受けてダイヤモンドのように輝いていた。いや、宝石よりもきれいだった。おじいさんの汗も幸せな笑顔もキラキラだった。おじいさんがその星たちを夜空につけて、もうできたと思ったら、おじいさんがもう一度青い砂を取った。少し形になると、私の大好きなイルカを作っているとわかった。どうしてわかるんだろう。まあ、たまたまかな。おじいさんが玉に水を入れて、そのガラスイルカを入れてから玉の穴を閉じた。最後に、銀色のネックレスにつけた。おじいさんが私に振り向いてきて、持っている物を見せてくれた。その小さな玉に星空がキラキラと輝いていて、水色のイルカが星たちの中で泳いでいた。言葉にできないくらいきれいなネックレスだった。

 「…いくらですか?」震えた声で聞いた。こんなきれいな物には持っているお金は足りるかと心配になったので、たったの500円だと聞いた時とても驚いた。本当にいいのかと迷っていながらお金を払った。私にネックレスを渡したおじいさんはこう言った。「夜空さえ手に入れたお嬢さんにとっては、何ができないでしょうね」

 それは心が迷子になっていた私にとって、大きな意味を持つことばだった。初めて心から笑い出した。もやもやした気持ちがその瞬間に消えたみたいだった。私はおじいさんにお礼を言って、背中を向けて帰ろうとした瞬間、おじいさんの声が聞こえてきた。「お誕生日おめでとう」

 私はすぐに振り向いたが、そこにはもうおじいさんの姿はいなかった。冷めた釜たちだけが残っていた。どこに行ってしまったんだろう。どうしてお誕生日だとわかったんだろう。私はしばらくそこに立ちつくしていたが、考えてもわからないことを諦めて、おじいさんの言葉と釜からのぬくもりを胸に抱いて、星空のネックレスを握って街に向かって走り出した。



*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   ปัญหาที่พบก็เป็นปัญหาคลาสสิกค่ะ แบ่งเป็น 2 หัวข้อใหญ่ตามเดิมคือ 1) ไวยากรณ์ และ 2) ความเป็น 日本っぽい

   1) ไวยากรณ์ มี 2 อย่างที่น่าสนใจคือ


   - ていく/てくる เจ้าเก่า หลังจากอ. บอกให้พยายามใช้ ทุกคนก็พยายามใส่ลงไปในเรื่องของตัวเอง แต่ก็มีทั้งที่ใส่เยอะไป กับไม่ใส่ในที่ที่ควรใส่อยู่ดี คราวนี้เราไม่มีปัญหาในส่วนนี้ คงไม่ต้องอธิบายหลักการใช้อะไรเพราะทุกคนก็เคยเรียนกันมาอยู่แล้ว แค่ต้องลองผิดลองถูกแล้วจำไปใช้ต่อไป

   - かのようだ เป็นอันที่อ. ดอกจันมาว่าใช้ผิดกันเยอะ ขอสารภาพว่าทังชีวิตไม่เคยใช้แกรมมานี้เลยเพราะคิดว่ามีแต่ のように/ような สองอย่างนี้ต่างกันแค่ か ที่มาคั่นกลางเท่านั้นเอง แต่มันต่างกันยังไง


https://japanesetest4you.com/flashcard/learn-jlpt-n2-grammar-%E3%81%8B%E3%81%AE%E3%82%88%E3%81%86%E3%81%A0-ka-no-you-da/

https://japanesetest4you.com/flashcard/learn-jlpt-n4-grammar-%E3%81%AE%E3%82%88%E3%81%
86%E3%81%AB%E3%81%AE%E3%82%88%E3%81%86%E3%81%AA-no-you-nano-you-ni/

   ถ้าแปลเป็นไทยแล้วทั้งคู่จะแปลได้ว่า "ราวกับ" ซึ่งไม่น่าแปลกเลยที่จะใช้ผิด แต่ถ้าดูภาษาอังกฤษแล้วน่าจะเข้าใจง่ายกว่าค่ะ


   かのようだ ใช้กับการเปรียบเทียบสิ่งที่ไม่เป็นจริงค่ะ เช่นตัวอย่าง 1 ตุ๊กตาตัวนี้ทำอย่างประณีตจนดูเหมือนกับมีชีวิต แต่ตุ๊กตาไม่ได้มีชีวิตจริงๆ คงแปลไทยเทียบได้กับ "อย่างกับว่า"

   ขณะที่ のように/ような เป็นการอุปมาว่า "เหมือนกับ" เปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่ง เช่นตัวอย่าง 2 เสียงร้องของเขาเหมือนกับเสียงสุนัขบาดเจ็บ ทั้งเสียงของเขา และเสียงของสุนัขเป็นเรื่องจริงทั้งคู่ (หมายถึงทุกคนย่อมมี 意識 ในหัวว่าสุนัขบาดเจ็บครางเสียงยังไง) และเอามาเปรียบเทียบว่าเหมือนกัน

   พอมาดูเรื่องของเรา ทั้ง 私の考えることがわかったかのように และ まるで魔法を使っていたかのようで เป็นการเปรียบเทียบแบบสมมติค่ะ คือคุณลุงไม่มีทางรู้ความคิดของเด็กหญิง และคุณลุงก็ไม่มีทางมีเวทมนต์ แค่เปรียบเทียบว่า "ราวกับเป็นอย่างนั้น"

   - テンス เท่าที่อ่านของทุกคน ส่วนใหญ่จะใช้เป็นรูปอดีต ซึ่งเท่าที่ลองหาดูแล้ว เรื่องที่ใช้รูปปัจจุบันก็มีไม่น้อยเลย อย่างในเว็บนี้เป็นต้น http://ncode.syosetu.com/n8234p/ (นิยายยาวๆ เองก็ใช้ปัจจุบันเป็นหลักเหมือนกัน แต่อดีตแทรกๆ บ้างตามบริบท ของภาษาอังกฤษก็ใช้ present เหมือนกัน) ส่วนความสุภาพนั้นส่วนใหญ่จะใช้ 普通刑 มากกว่า です・ます

   2. ความเป็นธรรมชาติ ตรงนี้หมายถึงสำบัดสำนวน คำศัพท์ที่คนญี่ปุ่นคิดว่าดู 日本っぽい มากกว่า ซึ่งไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากจำและนำไปใช้ (ฮา)

   - การรักษา "ประธาน" ของประโยค เราโดนเรื่องนี้หลายรอบแล้วแต่ก็ลืมทุกที 金色の溶けたガラスが赤い玉の形になって、熱い玉が冷やされてとても透明な玉ができた。ประโยคนี้ประธานคือ "แก้ว" ค่ะ แต่ตอนแรกเราเขียนเป็น 熱い玉を冷やして ซึ่งประธานจะกลายเป็น "คุณลุง" แทน จึงต้องเปลี่ยนเป็นรูปถูกกระทำ

   - 金色の溶けたガラス ตอนแรกเขียนเป็น 溶けた砂 แต่อ. คอมเม้นท์มาว่าทรายที่หลอมแล้วจะไม่เรียกว่าทรายค่ะ ต้องเป็นแก้ว




*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   โดยสรุปแล้ว องค์ประกอบของการเขียน 描写 ที่ดีนั้นมีดังนี้

   1) จินตนาการและความสนุกในการเขียน สร้างโลกของตัวเองขึ้นมาให้ได้ก่อน ถ้าขาดข้อนี้ไปมันจะกลายเป็น 説明文 ค่ะ

   2) วรรณศิลป์ การเลือกใช้คำสำคัญมาก เช่น การบรรยายให้ละเอียด คำแสดงความรู้สึก คำที่ทำให้เกิดความรู้สึกร่วม อย่าสั้นไป อย่าเวิ่นไป ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่เขียน

   3) จังหวะและการตัดบรรทัด ถ้าเป็นเรื่องที่มีไคลแม็กซ์ก็บรรยายตรงนั้นช้าๆ ชัดๆ ตัดบรรทัดให้ถูกช่วง (ถ้าเป็นพรืดเกินไปคนอ่านก็อาจจะไม่อยากอ่าน) เน้นส่วนที่ต้องการให้เห็นภาพหรือสื่ออารมณ์

   4) ไวยากรณ์และการใช้คำ ไม่มีอะไรพูดมาก ต้องเจ็บแล้วจำกันไปจนกว่าจะใช้ถูก

   ก็ประมาณนี้

   โดยส่วนตัวแล้วชอบ 描写 มากกว่า 紹介文 (タスク3) นะ จะเขียนอะไรก็ได้ ไม่ต้องแคร์ความจริงนัก (แต่ก็ค้นรีเสิร์ชอ้างอิงเป็นบ้าเหมือนกัน) แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้มั่นใจในเรื่องที่เขียนเลยสักนิดเดียว

   เป็นคนไม่ชอบให้คนอื่นอ่านเรื่อง เพราะรู้สึกว่ายังเขียนได้ไม่ดี แต่บางทีสิ่งที่เราขาดที่สุดอาจจะเป็น "ความมั่นใจ" ก็ได้ การได้รับทั้งคำติและคำชมก็สำคัญเหมือนกัน เพื่อจะได้ปรับปรุงและทำให้เรื่องเขียนของเราสมบูรณ์มากขึ้น

   自信を持って、もっと書こう!

https://ncache.ilbe.com/files/attach/new/20170304/14357299/8984774848/
9526772658/d09524f0e0aab6340c929229863932a6.gif


プリム


2 ความคิดเห็น:

  1. ชอบสำนวนน้องพริมนะ แล้วก็เข้าใจอารมณ์ที่ว่าแต่งภาษาไทยได้ แต่พอมาเขียนญี่ปุ่นแล้วเจอกำแพงภาษา แล้วก็ได้ความรู้เรื่อง ~かのように・なเพิ่มด้วย ดีๆ ขอบคุณมากจ้าา

    ตอบลบ
  2. ไม่เคยรู้เรื่องかのうようにมาก่อนเลย ไม่เคยใช้ ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่จ้า
    เราชอบงานพริมนะ บรรยากาศมันดีมาก มีความมั่นใจหน่อยนะ ฮึบๆ (เขียนอะไรเอามาให้อ่านได้นะ เราชอบ 5555)

    ตอบลบ