วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

タスク 5 ーいい聞き手とは?ー



4月17日(月)
タスク 5 ーいい聞き手とは?ー

   หยุดยาวสงกรานต์ที่ผ่านมาไปเที่ยวไหนกันบ้างหรือเปล่าคะ หลายๆ คนไปเที่ยวบ้างเยี่ยมญาติบ้าง แต่ก็มีเพื่อนคนหนึ่งบอกว่า "...พอดูงานแล้ว...น้ำว่าน้ำไม่ไปเที่ยวก็ได้" (พี่น้ำ, 2560) เราไปทำบุญแค่วันเดียว ที่เหลือก็หมกตัวปั่นงานอยู่กับบ้านลูกเดียวเลยค่ะ(苦笑)


   และแล้วก็ถึงวันสุดท้ายของวันหยุดสงกรานต์แล้วค่ะ




   ง..งาน...ยังเหลือเป็นกองเลย

   อะแฮ่ม เข้าเรื่องค่ะเข้าเรื่อง บล็อกคราวนี้เป็นเรื่องของ "การฟัง" ค่ะ สำหรับไทยและหลายๆ ประเทศแล้ว การฟังที่ดีมักจะหมายถึงการตั้งใจฟังอยู่เงียบๆ รอให้ผู้พูดพูดจนจบโดยไม่ขัดจังหวะ ถ้ายิ่งอื้อๆ อ้าๆ บ่อยเข้าจะยิ่งเหมือนไปเร่งเขาพูด แต่สำหรับญี่ปุ่นแล้วไม่ใช่อย่างนั้น

   ตอนที่ได้ยินคนญี่ปุ่นคุยกันครั้งแรก ความรู้สึกแรกเลยคือ 「うるさいなあ…」

   เคยได้ยินคนอีสานคุยกันไหมคะ คนอีสานจะแย่งกันพูดเหมือนทะเลาะกัน จะมีการส่งเสียง "ฮื่อ อื้อ อื้ม" อยู่บ่อยๆ จะว่าไปก็คล้ายคนญี่ปุ่นอยู่เหมือนกัน (แต่อีสานเราค่อนข้างกระโชกโฮกฮากกว่าเยอะ...)

   สำหรับคนญี่ปุ่นแล้ว การส่งเสียงตอบรับหรือ あいづち เป็นการแสดงออกให้รู้ว่าเราตั้งใจฟังเขาอยู่นะ เป็นมารยาทอย่างหนึ่งเลย

   เคยเจอวิดีโอหนึ่งค่ะ เป็นของวง 乃木坂46 ที่ให้เมมเบอร์พูดถึงเมมเบอร์อีกคน วิดีโอนี้เป็นของ 高山一美 ที่พูดถึง 斎藤飛鳥 ค่ะ



   วิดีโออาจจะยาวสักหน่อย ดูตรง 1.03-1.23 ค่ะ คาซึมิพูดถึงข้อดีของอาสึกะว่า "เป็นคนที่ตั้งใจฟังเรื่องที่คนอื่นพูดและคอยหัวเราะอยู่เสมอ" เราฟังตรงนี้แล้วแปลกใจนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่เมมเบอร์จะพูดถึงเมมเบอร์อีกคนว่าใจดี เอาใจใส่ มีความพยายาม อะไรประมาณนั้น แต่สิ่งที่คาซึมิชมอาสึกะคือ "การตั้งใจฟังคนอื่น"

   ความรู้สึกแวบแรกคือเหมือนมันเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก แต่พอมาคิดดีๆ คนที่ตั้งใจฟังเรื่องของเรา พยักหน้าและหัวเราะให้กับสิ่งที่เราพูดก็เป็นคนน่ารักจริงๆ นั่นแหละ

   หลังจากวิดีโอจบ (หลัง 2.30) คนที่พากย์เสียงคุยกันต่อก็มีการใช้ あいづち ค่ะ555

   พอเรียนๆ ไปเรื่อยๆ รู้ตัวอีกทีเราเองก็ติด あいづち มาโดยไม่รู้ตัวซะแล้ว เพราะอยู่กลุ่มเดียวกับเพื่อนที่ あいづち เก่งมาก อ.ถึงกับออกปากในคาบคอนเวอร์ที่ให้ฝึกว่า 「あそこのグループあいづちすごくうまい」

   เราเป็นคนติดคำว่า うん ค่ะ เพราะออกเสียงง่ายสุด ไม่ต้องอ้าปากก็ได้ ปกติเราจะส่งเสียง あいづち เวลาที่คู่สนทนาเว้นช่วง ซึ่งด้วยความที่ยังอยู่ในช่วงของ "การเรียนรู้" การเว้นวรรคของฝ่ายตรงข้ามจึงมักจะเป็นตอนที่ "คิดคำไม่ออก" เช่นหลังคำช่วย หลัง~て เราเลยส่งเสียงออกไปเป็นการให้กำลังใจ คนไหนคิดบ่อยหน่อยเราก็จะ うん ถี่ตามไปด้วย

   ส่วนเวลาคุยกับคนญี่ปุ่นที่พูดคล่องปรื๋อ あいづち ของเรามักจะเป็น うん・ああ・へえ・หัวเราะ・พยักหน้า ส่วน あいづち ที่ใช้กับอ. มักจะเป็น พยักหน้า・หัวเราะ・はい (และมักปิดท้ายว่า わかりました)

   ผลจากการทำกิจกรรมในห้อง ทุกคนในคลาสผลออกมาเหมือนกันคือใช้ うん เยอะสุด ไม่ค่อยมีใครใช้ はい หรือ ええ ที่เป็นภาษาสุภาพ ขณะที่พี่ปีที่แล้วเกือบทั้งหมดจะใช้ はい เสียเยอะ

   どうしてだろう「(°ヘ°)

   แล้วคนญี่ปุ่นจริงๆ ใช้ยังไงกันแน่

   เวลาดูรายการไอดอลหรือช่วงทอล์คโชว์ในคอนจะรู้สึกอุไซ่มาก ยิ่งคนเยอะๆ ยิ่งได้ยินแต่ あいづち แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าอันไหนเงียบๆ ไม่ค่อยหืออืออะไรกันก็จะรู้สึกว่าพวกนี้ไม่ชอบหน้ากันหรือเปล่า

   อ.บอกว่าพิธีกรหญิงของ TBS ラジオcloud ถือเป็นตัวอย่างของคนที่ あいづち ดี ทำให้คนเล่าสามารถพูดเรื่องราวของตัวเองได้ลื่นไหล เราก็ลองไปฟังของเทป 2012.08.12「必死に走った話」มาค่ะ สรุป あいづち และสำนวนตอบรับของพิธีกรหญิงออกมาได้ดังนี้


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

   ① 流れ

   ไม่ได้แสดงความรู้สึกอะไรเป็นพิเศษ แต่ส่งเสียงเป็นครั้งคราวเพื่อเป็นการบอกว่า "ฟังอยู่นะ" หรือ "แล้วไงต่อคะ" เช่น

   見知らぬおじさんに「おい、おい」と傘でつんつん刺されました(うん)

   200メートルほど走って(うん)交番へ(ええ)

   そしてお巡りさんに「顔は見てないんですけど、50代くらいのおじさんが私を傘でつんつんしながら(笑)おいおいって威嚇してきたんです」と(笑)伝えました(はーい)

   私は喜んで、「たかの、たかの!」と叫びながらやつを追ってきましたが(はい)

   ② แสดงความเห็นด้วย

   こわいよね(うん)

   いいね(ですねー)そうね「諦めるな!」(ですね)ねー大事ですよね(はい)

   牛柄の牛っていいね?(笑)やー本当に(ね)牛柄の牛だったんですね(そうだったんですね)

   ③ แสดงความแปลกใจ・ตกใจ

   そして、おじさんは颯爽と電車をつかまえて乗ってきました(おおー)

   朝、通学時にバス停に走っていくことが多くて(えー)バスがちょっと遠くね、黄色のが見えてたら「ぶやー」と走るんですよね(へー)

   目の前で民家があったので、すぐ軒下に飛び込んだんです(はー)

   そしたら、その子は何とも断る雰囲気ではなさそう(は!)

   ④ หัวเราะ

   私は父親を不審者扱いって交番に届けた胸を正直に話しました(笑)

   当時60代だった父親は50代に間違えられたことを妙に喜んでいましたが(笑)

   すると、後ろから同じように走ってきたサラリーマン風のおじさんに「おい!諦めるな!」(笑)と言われました(大笑い)

   ⑤ ทวนคำ

   そこの牛が散歩から帰って来てだけだそうですが(自分で行って来れるんだー)

   ⑥ แสดงความคิดเห็นตัวเอง


   ただ残念ながらこんな興奮を超える興奮はもうあなたの人生にはないよ(何でそんなことをいうの)ないよ(笑)ないよだって(そうかな)17歳でしょう?(そうか)

   เป็นคนที่หัวเราะเยอะมาก หัวเราะจนขำตาม แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้ดูขัดจังหวะ เพราะส่วนใหญ่แล้วจะ あいづち หลังจากพูดจบประโยคแล้วหรือเว้นช่วงหลัง ~て ไม่ได้พูดหลังคำช่วยเหมือนเรา ._. มีการใช้ うん บ้าง はい・ええ บ้างสลับระดับกันไป

   ปล. แต่ละเรื่องสนุกทั้งนั้นเลยค่ะ(笑)


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

   อย่างไรก็ตาม あいづち นี้ต้องระวังนิดหนึ่งค่ะ คือใช้กับคนญี่ปุ่นหรือเพื่อนที่เรียนญี่ปุ่นด้วยกันน่ะได้ แต่เวลาไปหลุดตอนคุยกับเพื่อนคนอื่นหรือญาติๆ จะได้รับสายตาแปลกๆ เหมือนเราพูดแทรกเขา เคยหลุด "เห" ใส่ลูกพี่ลูกน้องแล้วได้รับคอมเม้นต์ว่า "อุทานญี่ปุ่นจัง" 

   นอกจากนี้ เราชอบใช้ うん ในภาษาญี่ปุ่นก็จริง แต่พอแปลเป็นไทยว่า "อืม" แล้วเราเกลียดมากเลย เพราะให้ความรู้สึกเหมือนผู้ฟังไม่ใส่ใจ หรืออย่าง "ฮะ/หา" ที่คนไทยอุทานกันประจำนั้น ถ้าไปฮะใส่คนญี่ปุ่นแรงๆ คนญี่ปุ่นก็อาจตกใจบ้าง เพราะบ้านเขาไม่ใช้กัน ดังนั้นการเป็น "ผู้ฟังที่ดี" ในแต่ละภาษาก็ต่างกันไปค่ะ ที่เซฟที่สุดคงเป็นหัวเราะกับพยักหน้าที่ใช้ทุกวัฒนธรรมละมั้ง...

   ก็ต้องระวังเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรมกันหน่อยเนอะ





プリム


5 ความคิดเห็น:

  1. เขียนดีมากดีกว่าเราเยอะเลยย ฮ่าๆๆๆ บางทีก็รู้สึกว่าคนญี่ปุ่นมีหลักการในการทำอะไรเยอะไปหมด เรื่องあいづちก็เหมือนกัน บางทีคุยกะคนญี่ปุ่นแล้วเขาพูดเยอะเกินก็รู้สึกรำคาญ แต่เวลาพูดกับอาจารย์ให้ความรู้สึกว่าดีจุงอาจารย์ฟังเราอยู่ ฮ่าๆๆ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ใช่ๆ รู้สึกเหมือนกันว่าเวลาอ.あいづちมาทำให้รู้สึกว่าอ.ตั้งใจฟังเราอยู่555

      ลบ
  2. อ้าว แย่งฉันติ่งเหรอ 55555 /ตอนดูรายการไอดอลแรกๆก็รู้สึกうざいอยู่หรอกนะ แต่เดี๋ยวนี้ เฉยๆละ ชินละมั้ง55555

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เขาเรียกสนับสนุนการติ่งของทุกคน55 แต่รายการไอดอลดูยังไงก็อุไซ่อยู่ดีนะ

      ลบ
  3. วิเคราะห์ว่าพิธีกรหญิงใช้อะไรตอนไหนได้ดีทีเดียวค่ะ อย่างที่หนูบอกคำว่า ”หา?”ในภาษาไทยพอใช้ในภาษาญี่ปุ่นแล้วความหมายต่างจริงๆ

    ตอบลบ