วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

タスク 3 ―見やすいプレゼン資料―


2月19日(日)
タスク 3 ―一生使える 見やすい資料のデザイン入門―

   เปลี่ยนจากการพูดมาเป็นสิ่ง "ประกอบการพูด" กันบ้างค่ะ มาถึงยุคนี้แล้ว จะแปะข้อมูลลงฟิวเจอร์บอร์ดแล้วชี้เอาก็กระไรอยู่ในเมื่อมีเทคโนโลยีที่สะดวกกว่า สไลด์ Power Point น่าจะเป็นอุปกรณ์คู่ชีพของใครหลายๆ คนในการพรีเซนต์เลยก็ว่าได้

   แต่อุตส่าห์มีเทคโนโลยีแบบใหม่แล้ว จะใช้เทคนิคแบบตัดแปะเหมือนเดิม แค่เปลี่ยนจากฟิวเจอร์บอร์ดมาเป็นหน้าจอพิกเซลก็ออกจะ もったいない ไปหน่อย... (゚ー゚;)

   ในคาบคราวนี้อาจารย์นำหนังสือเล่มหนึ่งมาให้อ่านค่ะ ซึ่งก็คือเล่มนี้

http://img.ips.co.jp/ij/14/1114101129/1114101129-520x.jpg

   หนังสือเล่มนี้ชื่อ 一生使える 見やすい資料のデザイン入門 เขียนโดยอ. 森重 湧太  เป็นหนังสือที่ว่าด้วยการจัดการ "ข้อมูล" ที่มีอยู่เพื่อนำมาผลิต "การนำเสนอ" อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด...แค่นี้ก็ฟังดูยากแล้วใช่ไหมคะ

   แล้วใครบอกว่ามันง่ายล่ะคะ (;´▽`;)

   การนำเสนอไม่ได้มีแค่คนพูด แต่จะครบองค์ประกอบต่อเมื่อมี "คนฟัง" ดังนั้นหัวใจหลักของการทำสื่อประกอบการนำเสนอคือ "ทำให้คนฟังเข้าใจและสนใจสิ่งที่เราพูด"

   แล้วควรทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมายนั้น?

   เราก็เลยสรุปประเด็นจากในหนังสือส่วนที่กลุ่มเราอ่าน (หน้า 133-173) มาดังนี้ค่ะ (คำเตือน ภาพเยอะมาก เน็ตไม่แรงอาจค้างได้นะคะ...m(o・ω・o)mゴメンヨ)



*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   1) การใช้สี

   เรื่องนี้พื้นฐานอยู่แล้ว แต่ถามว่าเคยลืมบ้างไม่ทำบ้างไหม...ก็เคย แต่เรื่องพื้นฐานพวกนี้แหละที่ไม่ควรละเลยค่ะ การพรีเซนต์วิชาการโดยพื้นฐานก็ง่วงพออยู่แล้ว ถ้ายังเจอข้อมูลสีเดียวกันเป็นพรืดยิ่งมึน ไม่รู้จะโฟกัสตรงไหนดี สุดท้ายคนฟังอาจจะแก้ปัญหาโดยการเลิกฟังมันซะเลย

   การเปลี่ยนสีในจุดที่ต้องการจะเน้นจะทำให้คนฟังมุ่งความสนใจไปที่จุดนั้นและทำให้จำข้อมูลส่วนนั้นได้ง่ายขึ้นค่ะ เช่นนี้




   นอกจากนี้ยังมีเทคนิคที่ไม่เคยใช้มาก่อน คือการเปลี่ยนสี 目次 ไปตามหัวข้อที่พูดค่ะ ฟังดูงงๆ ลองดูภาพก่อนแล้วกัน




   เวลาพูดยาวๆ การทำ 目次 คั่นเวลาเปลี่ยนเรื่องก็เป็นเทคนิคที่ดีค่ะ ถ้าพูดหัวข้อมาทีเดียวในตอนแรก พอฟังๆ ไปครึ่งหนึ่ง...ร้อยทั้งร้อยจำไม่ได้หรอกว่าหัวข้อที่ว่ามาตอนแรกคืออะไร ดังนั้นพอจบเรื่องหนึ่งแล้วขึ้นหัวข้อทั้งหมดให้ดูอีกทีก็จะทำให้ผู้ชมตามเนื้อหาได้ง่ายขึ้น

   แต่ครั้นจะขึ้นหัวข้อไว้เฉยๆ เหมือนภาพแรกก็แทบจะไม่ได้ช่วยอะไรใช่ไหมคะ จึงควรใช้สีเข้าช่วยเหมือนภาพที่สอง เช่นทำหัวข้อที่พูดไปแล้วเป็นสีเทา ทำหัวข้อที่กำลังจะพูดเป็นสีเหลือง และทำหัวข้อถัดไปเป็นสีน้ำเงิน...เข้าใจง่ายขึ้นเยอะเลยใช่ไหมคะ


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   2) ระวังรูปทรงกลมๆ มนๆ

   ทุกคนคงจะเคยใช้ฟังก์ชัน Shape ของพาวเวอร์พ้อยท์กันมาบ้างไม่มากก็น้อย โดยส่วนตัวแล้วเราเป็นคนชอบใช้รูปทรงเพื่อเน้นส่วนหัวข้อมาก แต่กระทั่งรูปทรงก็ใช้ซี้ซั้วไม่ได้ค่ะ แต่ละรูปทรงก็มี impression ของมันอยู่ ดังนี้


   รูปทรงเหลี่ยมจะให้ความรู้สึกที่ 強い กว่าค่ะ ยิ่งกลมเท่าไหร่ก็ยิ่ง やわらかい มากเท่านั้น ถ้าใช้อะไรกลมๆ ไปเสียหมดจะให้อารมณ์ 子供っぽい ดังนั้นอะไรที่เป็นทางการ เป็นเชิงธุรกิจจึงควรใช้ทรงเหลี่ยม ถ้าเป็นเรื่องราวทั่วไปอาจใช้เป็นขอบมน และสำหรับสถาบันต่างๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน ธุรกิจประเภทประกันฯ อาจใช้ทรงกลมๆ ได้

   ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหาและสถานการณ์ว่าควรใช้แบบใด



*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*



   3) ข้อมูลที่เป็นแผนผัง

   การนำเสนอแผนผังนับว่ายากค่ะ ซัฟเฟอร์จากนำเสนอกราฟในคาบคอนเวอร์เมื่อเทอมที่แล้วพอสมควรเลยทีเดียว เพราะแผนผังจุข้อมูลจำนวนมากไว้รวมกัน ทั้งจำนวน เวลา และผลการวิเคราะห์อื่นๆ  ขนาดทำเองอ่านเองยังเข้าใจยาก ถ้าเอามาแปะทั้งอย่างนั้นมีหวังคนดูตาลาย ดูอะไรไม่รู้เรื่องกันพอดี

   กราฟก็มีหลายประเภท ทั้งกราฟแท่ง กราฟจุด กราฟเส้นและกราฟวงกลม หนังสือเล่มนี้ก็ใจดีค่ะ มีตัวอย่างมาให้ครบเลยทีเดียว ★o(´▽`*)♪

   ประเด็นที่ควรระวังในการนำเสนอกราฟมีดังต่อไปนี้ค่ะ






   จับประเด็นให้ดี แทนที่จะแยกเป็นบริษัทๆ แบ่งเป็นหัวข้อที่ต้องการเปรียบเทียบเลยดีกว่า เช่น ในภูมิภาคคันโต บริษัทนี้ๆ เป็นแบบนี้ จะเข้าใจง่ายกว่า และอย่าลืมเน้นสีด้วยว่า "สรุปแล้วต้องการจะพูดว่าอะไร"




   ถึงจะบอกให้ใช้สี แต่การคุมโทนก็เป็นเรื่องสำคัญค่ะ เคยมองร่มชายหาดสีรุ้งแล้วลายตากันไหมคะ กราฟก็เหมือนกันค่ะ ควรใช้สีโทนสุขุมและใช้สีเด่นๆ เน้นในส่วนที่ควรเน้นก็พอค่ะ






   ในการนำเสนอกราฟที่มีแกน X, Y ตัวเลขตรงแกนแนวตั้งไม่สำคัญค่ะ จะให้คนดูใช้สายตากะเอาเองก็ดูจะยากไป ยิ่งกราฟเส้นยิ่งดูยาก สรุปออกมาตัวเป็นเลขเลยดีกว่าว่าแต่ละแถวจำนวนทั้งหมดเท่าไหร่


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   4) ภาพ

   อย่างที่บอกไปว่าสไลด์เป็นแค่ "อุปกรณ์ประกอบการนำเสนอ" จึงไม่ควรใส่ข้อมูลมากเกินจนไม่จำเป็นต้องมีคนนำเสนอก็ได้ ข้อนี้ทุกคนน่าจะรู้ดี ใส่ข้อมูลบ้าง ภาพประกอบบ้าง หรือถ้ามีกราฟก็ใส่กราฟ ออกมาเป็นประมาณนี้ก็พอใจ



   ...หืม? นี่มันหน้าตัวอย่างที่ไม่ดีไม่ใช่เหรอ

   สิ่งที่ฉันทำมาตลอดชีวิตเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีเหรอเนี่ย!


   มันขึ้นอยู่กับเนื้อหาค่ะ ถ้าภาพนั้นเป็นแค่เครื่องประดับก็พอทำเนา แต่ถ้าสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญคือภาพ ก็ควรจะเน้นภาพไปเลยค่ะ ขยายให้เต็มหน้าจอไปเลย



   สไลด์ของกลุ่มเราเป็นสไลด์เกี่ยวกับอาหารค่ะ รูปภาพจึงเป็นสิ่งที่ต้องการพรีเซนต์แบบเต็มๆ แทนที่จะทำแบบเดิมๆ ที่เคยทำมา พอเปลี่ยนเป็นแบบเต็มจอแล้วดูดีขึ้นเยอะเลยค่ะ ก็สิ่งที่ต้องการนำเสนอคือของกินนี่นะ...สิ่งที่จำเป็นจึงไม่ใช่ข้อมูลน่าเบื่อจืดชืด แต่การทำให้คนดูเห็นภาพแล้วเดินออกไปซื้อจึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จค่ะ


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


    ...ทำสไลด์ใครว่าง่าย...ใช่ไหมคะ

    ก็หวังว่าเทคนิคเหล่านี้จะมีประโยชน์และทำให้การนำเสนอมีเสน่ห์ขึ้นนะคะ ถ้าดึงประสิทธิภาพของทั้งสไลด์และผู้นำเสนอออกมาให้สุด การนำเสนอนั้นก็จะเป็นการนำเสนอที่น่าฟังและน่าประทับใจเองละค่ะ


プリム


วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

氷菓ศึกษา (4) ー言いませんともー


2月14日(火)
氷菓ศึกษา (4) ー言いませんともー

   ก่อนอื่นก็ ハッピーバレンタイン♥  ค่ะ!

   ความจริงไม่ได้ตั้งใจจะโพสถี่ขนาดนี้ (ฮา) แต่เนื่องจากเฮียวกะมีตอนเกี่ยวกับวาเลนไทน์ด้วย เลยอยากลงถือโอกาสบล็อกไว้ค่ะ ถึงจะพูดอย่างนั้น...แต่ก็เป็นแค่ประเด็นเรื่องภาษาที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเทศกาลหรอกนะคะ ナンデヤネン!( *゚∇)/☆(ノ゚⊿゚)ノ

   ตอนนี้เป็นตอนจากเล่มสี่ (遠まわりする雛) บท 手作りチョコレート事件 ในเมะกับหนังสือบทพูดจะต่างกันหน่อยหนึ่งค่ะ และเมะจะไม่มีบทบรรยาย เราใช้ภาพจากเมะประกอบแต่ตัว 文章 ยึดของนิยายนะคะ

   ฉากเป็นอย่างนี้ค่ะ

*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

   หลังจากพูดถึงคู่พระนางไปในบล็อก 春 แล้ว วาเลนไทน์คราวนี้ก็มาถึงตาของคู่รองอย่างซาโตชิกับอิบาระบ้างค่ะ

   อิบาระแสดงตัวว่ามีใจให้ซาโตชิอย่างเปิดเผยมาตั้งแต่ม.ต้น และฝ่ายชายก็บ่ายเบี่ยงตลอดมา จนถึงวันวาเลนไทน์ตอนม.3 อิบาระก็มอบช็อกโกแล็ตให้แก่ซาโตชิ แต่ทว่า


伊原:「つまり福ちゃんはこう言いたいわけね」



伊原:「型に入れて冷やして固めただけのチョコは手作りじゃないと、
だから受け取れないと、

そう言いたいのね」


里志:「...まあ、平たく言えばね」

伊原はきっと顔をあげた。いよいよ激情がほどばしる。

伊原:「そう、そういうこと言うの!わたしが、わたしがわざわざ...。
バレンタインデーなのに!いいわよ、わかったわよ、ふくちゃんがそうつもりなら...」

http://giphy.com/gifs/hyouka-mayaka-ibara-YIQg8qzj7k0Za

伊原:「絶対にやるもんかっ」



その突然の行動に、俺たちは呆気に取られる。

折角のバレンタインチョコを自分の手で台無しにして、伊原は里志を睨みつける。怒りでも悲しみでもない、むしろ闘志を燃やしているといったような険しい表情で、伊原は欠けたハートをぐいと里志に突きつけた。



伊原;「来年!西暦二〇〇一年二月十四日!
わたしは、ふくちゃんが満足するような傑作を、
その横っ面に叩きつけてやるんだから。...ちゃんと憶えてなさいよ!」

   หลังจากนั้นอีกหนึ่งปีให้หลัง อิบาระที่จะทำช็อกโกแล็ตให้ซาโตชิอีกครั้งตามที่ลั่นวาจาไว้ก็ได้ปรึกษากับจิทันดะในห้องชมรม โดยไม่สนใจโฮทาโร่ที่นั่งอยู่ห่างๆ


奉太郎: 「存在、忘れられてないか」


伊原;「あ、折木、あんたも言わないでね」

奉太郎:「ああ」


伊原:「...絶対、よ」


言いませんとも。

だからその目は、やめてくれるとありがたい。


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

   คำศัพท์

   平たく言えば(ひらたくにいえば): พูดรวมๆ สรุปสั้นๆ

   呆気に取られる(あっけにとられる): ตกตะลึง (ในฉบับแปลใช้ว่า อ้าปากค้าง)

   折角(せっかく): ทำด้วยความเหนื่อยยาก , มีค่า (ฉบับแปลใช้ว่า (ช็อกโกแล็ต) แทนความรู้สึกของตัวเอง)

   台無しにする(だいなしにする): ทำลาย

   睨みつける(にらみつける): จ้องไม่วางตา , ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด , จ้องเหมือนจะกินเลือดกินเนื้อ

   絶対にやるもんか ฉบับแปลใช้ว่า "อย่าหวังเลยว่าฉันจะให้"


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   อ่านสนุกๆ สลับกับเปิดดิกมาเรื่อยๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไรค่ะ จนกระทั่งเจอประโยคสุดท้าย

   「言いませんとも」

   ประโยคนี้ไม่มีอะไรเลยค่ะ ต่อให้ไม่คุ้นกับ とも ที่ต่อท้ายก็เข้าใจใจความได้ไม่ยากเลยว่าน่าจะแปลว่า "ไม่บอกหรอกน่า"

   ก็ควรจะจบตรงนี้และอ่านผ่านไป

   แต่อะไรดลใจให้เสิร์ชหาคำนี้ก็ไม่รู้ค่ะ ปรากฏว่าเสิร์ชเท่าไหร่ๆ ก็ไม่เจอบุงโปนี้

https://anixp.files.wordpress.com/2012/06/hoyuka_11_329.gif

   ทำไมกัน

   ค้นไปค้นมาไม่เจอสักทีก็ชักสิ้นหวัง แปะลง Lang8 ไปเลยค่า ☆-ヽ(*´∀`)ノ

   คำตอบก็คือ มันไม่ใช่หลักไวยากรณ์ค่ะ (โธ่ถัง...)

   とも เป็น 終助詞 หรือคำสร้อยที่เอาไว้เน้นความค่ะ (ว้าว อินโทรแจปลิงก็มา) ความหมายก็คือ もちろん อะไรเทือกนั้น เอาไว้ 強調 ใจความที่ต้องการจะพูดค่ะ เช่น

   A :「私のケーキ食べないでね」           B :「食べませんとも」

   A: 「夕食までに宿題をしといてね」   B :「しておきますとも」

   「分かりますとも」 =「よく分かります」「とても分かります」
   
   อะไรประมาณนี้

   ดังนั้น 「言いませんとも」 จึงแปลว่า 「絶対に言いませんよ」 หรือภาษาไทยคือ "ไม่บอกหรอกน่า" ตามที่คิดนั่นแหละค่ะ

   แต่สิ่งที่รู้เพิ่มเติมจากการถามลง Lang8 คือ คำนี้ไม่ค่อยใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไปค่ะ (ただ「とも」は日常的にはあまり使わない言葉です)

   へー。

   นอกจากนี้ยังมีคนแนะนำให้รู้จักรายการ「笑っていいとも!」ด้วยค่ะ

http://i.gzn.jp/img/2013/10/22/iitomo/00-top.png

   เป็นรายการวาไรตี้ที่ดังอยู่ช่วงหนึ่งค่ะ โดยชื่อรายการนี้เป็นการเล่นคำระหว่าง "หัวเราะไปเล้ย!" กับ 良い友 ที่แปลว่า "เพื่อนที่ดี" ด้วยค่ะ

   ประเด็นศึกษาคราวนี้เป็นประเด็นเล็กๆ แค่นี้แหละค่ะ แต่แม้แต่คำที่เดาความหมายได้โดยไม่ต้องเปิดดิกยังสามารถต่อยอดไปเรื่องอื่นได้เหมือนกันนะคะ แอบตกใจอยู่เหมือนกัน การเรียนรู้นี่ไม่มีที่สิ้นสุดจริงๆ เนอะ

   ส่วนอิบาระกับซาโตชิจะลงเอยกันอย่างไร...ขอสปอยล์ด้วยภาพสุดท้ายนี้แล้วกันค่ะ (ปล.เหตุการณ์ในภาพนี้ไม่มีในนิยายนะคะ เกียวอนิเพิ่มเข้ามาเอง...แต่ทำได้ดีมากเกี๊ยว!)

http://wanabrar.com/blog/wp-content/uploads/2012/09/tumblr_ma7tz4ruyk1qzurneo1_500.gif


プリム


วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

氷菓ศึกษา (3) ーお茶を飲むだけー



2月12日(土)
氷菓ศึกษา (3) ーお茶を飲むだけー

   ประเด็นศึกษาคราวนี้มาจากเล่ม 2 (愚者のエンドロール) ค่ะ แอบสารภาพว่าในบรรดาห้าเล่ม อ่านเล่มนี้บ่อยน้อยที่สุด เพราะเนื้อหาช่างหนักเหลือเกิน สงสารโฮทาโร่มาก เพราะอะไรน่ะเหรอ...ไม่บอกค่ะ เพราะไม่เกี่ยวกับเรื่องที่จะพูดถึง (ノ≧ڡ≦) ลองไปหาอ่านกันดูนะคะ

   เนื้อหาคร่าวๆ มีดังนี้ค่ะ

   ชมรมวรรณกรรมคลาสสิคได้รับเชิญให้ไปช่วยดูหนังที่นักเรียน ม.5 ห้อง F ทำขึ้นเพื่อฉายในงานวัฒนธรรมของโรงเรียน แต่ดันถ่ายทำไม่เสร็จเพราะคนเขียนป่วยจนเขียนต่อไม่ได้ เพื่อนร่วมห้องสามคนพยายามคิดเนื้อเรื่องต่อจากคนเขียนคนเดิมโดยอาศัยจากบันทึกที่เจ้าตัวจดไอเดียไว้ รุ่นพี่อิริสุ (入須先輩)ที่เป็นคนคุมงานต่อรู้จักกับจิทันดะเลยมาขอความเห็นจากคนนอกว่าไอเดียของใครน่าจะเป็นเนื้อเรื่องที่แท้จริงที่คนเขียนคนแรกตั้งใจจะเขียน

   หลังจากรับฟังความเห็นของทั้งสามคนแล้ว เย็นวันนั้นรุ่นพี่อิริสุก็ได้มายืนรอโฮทาโร่เพื่อจะขอคุย โดยเริ่มต้นด้วยประโยคนี้ค่ะ


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*



入須先輩 :「少し、お茶を飲むだけの時間を貰えないかな?」

不思議と、素直に首を 横 縦に振れた。




入須先輩 :「何か?」


奉太郎:「いや、茶というのが本当にお茶だと思いませんでした


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   ค่ะ ประโยคนี้แหละค่ะ

   お茶を飲むだけの時間を貰えないかな?」

   อย่างที่รู้กันว่าญี่ปุ่นเป็นชาติที่ชอบพูดอ้อมค้อม...อ้อมจนไม่รู้เรื่อง ปฏิเสธก็ไม่พูดตรงๆ ชวนก็ไม่ชวนตรงๆ พูดอย่างหนึ่งไพล่ไปถึงอีกอย่างหนึ่ง (โว้ะ!!) 

   การพูดแบบนี้เรียกว่า 「社交辞令」หรือแปลเป็นไทยว่า "คำพูดตามมารยาท" (วาทกรรมนั่นแล) ฟังแล้วต้องเอามาตีความต่ออีกทอดหนึ่ง เป็นที่น่าปวดเศียรเวียนเกล้าของเราๆ ชาวต่างชาติยิ่งนัก

   ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นเป็นสังคมแบบ High context culture ค่ะ คือพวกที่เข้าใจกันโดยไม่ใช้คำพูด ผลลัพธ์ก็คือการพูดอ้อมโลก การรักษาน้ำใจกันนี่แหละ คนญี่ปุ่นมีภาษาและนัยแฝงที่เป็นที่เข้าใจกันดีในกลุ่มเดียวกัน แต่สำหรับคนนอกอย่างเราแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องคอยเรียนรู้และจดจำเอาเองค่ะ

   สำหรับคนที่เรียนภาษาญี่ปุ่น สำนวนนี้คงเป็นสำนวนที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แม้ในสถานการณ์นี้อิริสุจะใช้เพื่อชวนไปดื่มชาจริงๆ แต่โดยปกติแล้ว 「お茶しましょう」จะหมายถึงการ "ไปกินอะไรสักอย่าง" (ซึ่งโดยส่วนมากก็ไม่ใช่ชา 笑)

   「ちょっとお茶にしない?」 อาจจะหมายความได้ถึง →「ご飯が食べたい」「トイレに行きたい」(?!) หรือ 「休みたい」เลยทีเดียว

   ยิ่งถ้าคู่สนทนาเป็นหญิงชายแล้วล่ะก็ยิ่งซับซ้อนเลยค่ะ ถ้าลองเสิร์ชดูจะเจอกระทู้จำพวกนี้เป็นพรืดเลย

http://detail.chiebukuro.yahoo.co.jp/qa/question_detail/q116652176
   มันน่าสนใจตรงนี้ค่ะ

   กระทู้นี้ http://detail.chiebukuro.yahoo.co.jp/qa/question_detail/q116652176 ถามว่าอย่างนี้ค่ะ

   จะชวนคนที่สนใจไปเดท ควรพูดอย่างไรดี?

   คำตอบเทไปที่ข้อ ② กับ ③ เลยค่ะ ข้อแรกทุกคนมีความเห็นตรงกันว่า "ไม่ค่อยจริงใจ" ทำให้คนฟังลังเล...สรุปว่าชวนจริงไหม พูดตามมารยาทหรือเปล่า ชวนในฐานะเพื่อนหรืออะไร หรืออย่างดีที่สุดคือ 古いナンパかよ」

   กระทู้อื่นๆ ก็เหมือนกันค่ะ ส่วนใหญ่แล้วคำตอบของคำถามที่ถามว่า "จะชวนสาวไปเดท ใช้สำนวนนี้ดีไหม" จะโดนชาวเน็ตปัดทิ้งแทบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะมีความเป็นวาทกรรมสูงมาก ให้ใช้เป็น ご飯に行きましょう ไปเลยดีกว่า ไม่งั้นอาจเสี่ยงชวดได้ (ฮา)

   เห็นได้ชัดว่าส่วนใหญ่แล้ว 「お茶にしよう」จะถูกใช้เป็นประโยค 社交辞令 จึงไม่แปลกที่โฮทาโร่จะตกใจที่รุ่นพี่พาไปดื่มชาจริงๆ


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   ประโยคจำพวกนี้ไม่ได้มีแค่นี้ค่ะ

   Top 5 ของประโยคที่ใช้เวลาต้องการจะพูดตามมารยาท ได้แก่

   1位 「参考にさせていただきます/参考になります」

   2位 「勉強になります」

   3位 「また近いうちにお会いしましょう」

   4位 「前向きに検討します」

   5位 「今度飲みに行きましょう/飲みに連れていってください」


   และ Top 5 ของประโยคที่คนฟังรู้สึกว่าเป็นแค่คำพูดตามมารยาท ได้แก่

   1位 「一度(ずっと)お会いしたいと思っていました」

   2位 「今度飲みに行きましょう/飲みに連れていってください」

   3位 「前向きに検討します」

   4位 「近くに来たら、いつでもお立ち寄りください」

   5位 「もうお帰りになるんですか。残念だな」


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   ซึ่งประโยคทั้งสองประเภทนี้จะให้ความรู้สึกว่า 「嘘っぽいなぁ…」ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้เมื่อต้องการจะสื่ออย่างนั้นจริงๆ ไม่งั้นอาจถูกมองว่าแค่พูดไปอย่างนั้นได้ หรือถ้ามีคนพูดประโยคเหล่านี้ด้วยก็เผื่อใจไว้สักหน่อยว่าเขาไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้นจริงๆ 

   อย่าว่าแต่ชาวต่างชาติเลยค่ะ เรื่องสำนวนมารยาทนี่คนญี่ปุ่นก็มาตั้งกระทู้ถามอยู่เนืองๆ เหมือนกันว่า "เขาหมายความอย่างนั้นจริงๆ หรือเปล่า" (เวรกรรมย่ำตึกจริงๆ...)

   ถ้ามีคนญี่ปุ่นมาพูดประโยคเหล่านี้ใส่ก็คงต้องพิจารณาบุคคล สถานการณ์และความสนิทกันเอาเองล่ะค่ะว่าควรจะตอบยังไง ก็อย่างที่บอกว่าของแบบนี้ก็ต้องค่อยๆ เรียนรู้ไปเองล่ะเนอะ ・゜・(Ω ω Ω)・゜・

   
http://img.gifmagazine.net/gifmagazine/images/729638/original.gif?1456736457


プリム



วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

氷菓ศึกษา (2) ーなんといっても、秋がいいー



2月4日(日)
氷菓ศึกษา (2) ーなんといっても、秋がいいー

   ขณะที่ประเด็นศึกษาในบล็อกที่แล้วเกี่ยวกับ คราวนี้ก็เปลี่ยนฤดูมาเป็น ค่ะ(笑)

   หลังจากดูเมะจนจบ ซื้อนิยายเวอร์ชั่นแปลมาอ่านจนครบและไม่มีอะไรให้ตามต่อแล้ว เราก็ไปตามล่าหาต้นฉบับมาอ่านค่ะ แต่เนื่องจากทั้งคำศัพท์ทั้งสำนวนยากเกินปัญญาเด็กม.6 ในตอนนั้นจนต้องเอาฉบับแปลมาอ่านเทียบคำต่อคำ

   อย่างไรก็ดี ขนาดอ่านเทียบแล้วก็ยังมีปัญหาตั้งแต่ยังไม่พ้นบทนำเลยค่ะ...。゜゜(´O`) ゜゜。

   บทนำเปิดด้วยจดหมายจากพี่สาวของโฮทาโร่ที่กำลังเดินทางท่องเที่ยวรอบโลกอยู่ค่ะ (สำหรับรายละเอียดตัวละครกลับไปอ่านได้ที่บล็อกที่แล้ว) เนื้อหาของจดหมายนั้นคือการบังคับให้โฮทาโร่ที่ยึดคติประหยัดพลังงานและไม่คิดจะสังกัดชมรมใดเข้าชมรมวรรณกรรมคลาสสิค เนื่องจากตอนนี้ชมรมไม่มีสมาชิกเลยและจะถูกยุบ พี่ที่เคยอยู่ชมรมนี้จึงสั่งให้เขาสมัครเข้าเพื่อรักษาชมรมนี้ไว้

   เนื้อความโดยรวมไม่มีปัญหาหรอกค่ะ แต่เราติดใจอยู่ประโยคหนึ่งในบทนำของเล่มแรก (氷菓) ดังต่อไปนี้


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


https://pic.pimg.tw/heiji0819/1473387660-224943589_n.jpg

   奉太郎、姉の青春の場、古典部を守りなさい。とりあえず名前を置いておくだけでいいから。

   それに、そんなに悪い部活でもないわ。なんといっても秋がいい。

   どうせ、やりたいことなんかないんでしょう?


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   「なんといっても、秋がいい」

   ...แปลว่าอะไรกันเนี่ย

   โอเค ไม่เข้าใจไม่เป็นไร ลองเทียบกับฉบับแปลดู...หืม?

   ทำไม...ไม่มี... (ಥ﹏ಥ)

   ในฉบับแปลไม่มีประโยคนี้ค่ะ แปลเป็น "เธอต้องช่วยปกป้องชมรมวรรณกรรมคลาสสิคที่ถือเป็นเวทีชีวิตวัยรุ่นของพี่นะ โฮทาโร่ ช่วยไปลงชื่อสมัครไว้เฉยๆ ก็ยังดี ยังไงเธอก็คงไม่มีอะไรอยากทำอยู่แล้วนี่"

   มันหายไปทั้งประโยคเลยค่ะ

   ...อย่างนี้ก็ได้เหรอ

   หลังจากนั้นเราก็ได้ยินคำนี้อีกอีกหลายครั้ง เลยค้างคาใจจนตัดสินใจไปค้นมา และนี่คือผลลัพธ์ค่ะ 


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

   ญี่ปุ่นมีสำนวน 「〇〇の秋」อยู่ค่ะ เช่น 食欲の秋、スポーツの秋、読書の秋、睡眠の秋、芸術の秋、行楽の秋 และอีกมากมาย ใช้แค่ 秋 เท่านั้นด้วยนะคะ ไม่มีฤดูอื่น

   ที่ไปเจอมาอีกแหล่งคือจากเกม School idol festival ラブライブ ค่ะ เป็นประโยคที่ตัวละครจะพูดในช่วงฤดูใบไม้ร่วงเท่านั้น เช่นนี้

http://livedoor.blogimg.jp/sukufestushin/imgs/a/1/a11a3d7d.jpg
   
   นี่คือคำแปลเวอร์ชั่นเซิร์ฟต่างประเทศค่ะ

   Fall is a time for sports! Come on, move your body~! ー星空 凛ー

   It's fall, the season for fortune telling! Just kidding! Fortune telling is done all year round. ♪ ー東條 希

   Fall belongs to Yazawa! What, I just wanted to try saying it! ー矢澤 にこ

   และนี่ จากเกมเดียวกันภาค Sunshine

อุตส่าห์เปิดเกมไปแคปหน้าจอมาเลยนะ (ฮา)
   I love books, so I love reading in autumn as well. The autumn of reading is my autumn.♪ ー国木田花丸ー

   อะไรนะ? ฉวยโอกาสติ่ง? เปล่านะคะ ไม่ได้ถือโอกาสเปิดเผยความติ่งเลยจริงจริ๊ง (⁄ ⁄>⁄ ▽ ⁄<⁄ ⁄)

   อะแฮ่ม...ทำไมต้องเป็น 秋?


   ไทยเราไม่มีการเปรียบเทียบเป็นสำนวนแบบนี้ แถมไม่มีฤดูใบไม้ผลิใบไม้ร่วงด้วยซ้ำ (มีแค่ฤดูร้อนกับร้อนมาก) เลยออกจะทำความเข้าใจยากสักหน่อย คงพอแปลเป็นไทยแบบกว้างๆ ได้ประมาณว่า "สิ่งที่ชอบทำ" มั้งคะ

   ฤดูใบไม้ร่วงของญี่ปุ่นเป็นฤดูที่ดีค่ะ อากาศก็ดี บรรยากาศก็ดี อาหารก็ดี เหมาะสำหรับการทำกิจกรรมหลายๆ อย่าง ทั้งมีของกินอุดมสมบูรณ์ ทั้งนอนสบาย ทั้งวิวสวยน่าเที่ยว ฯลฯ

   ทั้งนี้ในสังคมเกษตร ช่วงฤดูร้อนเรื่อยมาจะเป็นช่วงเพาะปลูก ชาวไร่ชาวนาก็จะยุ่งจนไม่ได้ทำกิจกรรมอื่น พอเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงจะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวและหลังจากนั้นก็จะว่างค่ะ ฤดูใบไม้ร่วงจึงเป็นช่วงที่จะได้ผ่อนคลาย

   นอกจากนี้ยังมีที่มาอื่นๆ ที่น่าสนใจด้วยค่ะ ได้แก่ スポーツの秋 แต่เดิมฤดูใบไม้ร่วงก็เป็นฤดูที่ไม่ร้อนไม่หนาวเหมาะแก่การออกกำลังกายอยู่แล้ว แต่พอมีการจัดงาน 東京オリンピック ขึ้นในวันที่ 10 ตุลาฯ และจัดให้วันนี้เป็น 体育の日 ก็ยิ่งสนับสนุนแนวคิด スポーツ=秋 เข้าไปอีก

   อีกอันคือ 読書の秋 แน่นอนว่าอากาศฤดูใบไม้ร่วงย่อมใช้สมาธิอ่านหนังสือได้ง่ายกว่าหน้าร้อนที่ร้อนตับแตกหรือหน้าหนาวที่ไม่ควรทำอะไรนอกจากนอนขดอยู่ในโคทัตสึ แต่นอกจากนี้ก็ยังมีบทกลอนจาก 古代中国の詩 ที่เขียนไว้ว่า 「灯火親しむべし」ซึ่งหมายถึงค่ำคืนที่อากาศเย็นสบายของฤดูใบไม้ร่วงเหมาะกับการอ่านหนังสือใต้แสงคบเพลิง พอบทกลอนนี้ปรากฏในหนังสือเรื่อง「三四郎」ของ 夏目漱石 แนวความคิด 読書の秋 ก็แพร่หลายมากขึ้น


なるほどねー
https://media.giphy.com/media/gszUaOOy8kTBe/giphy.gif

   สรุปแล้ว「〇〇の秋」ก็หมายถึงสิ่งที่คนๆ นั้นนึกถึงเมื่อพูดถึงฤดูใบไม้ร่วง

   กลับมาที่เฮียวกะ แล้ว 秋がいい ล่ะ?

   อาศัยการอ้างอิงจากข้อมูลข้างบนก็คงจะพอแปลได้ว่า "พี่สาวของโฮทาโร่ชอบชมรมนี้"

   「それに、そんなに悪い部活でもないわ。なんといっても秋がいい。」
   
   เป็นประโยคที่กำกวมมาก พี่สาวของโฮทาโร่พยายามโน้มน้าว (แกมบังคับ) ให้โฮทาโร่เข้าชมรมเก่าของตัวเอง อย่างไรก็ตามเธอก็ไม่ได้อธิบายชัดเจนว่าที่บอกว่า "ชมรมนี้ก็ไม่ได้แย่หรอกนะ" เนี่ย อย่างเช่นอะไร ไม่ได้อธิบายแบบเป็นรูปธรรมว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง แต่แค่บอกแบบกำปั้นทุบดินว่า "มันไม่แย่หรอก เพราะอย่างน้อยฉันก็ชอบ"

   ซึ่งก็ดูเป็นวิธีอธิบายที่เข้ากับนิสัยอินดี้ของเจ้าตัวอยู่หรอก

   เข้าใจได้อยู่ว่าประโยคนี้คงแปลเป็นภาษาไทยแบบสละสลวยได้ยาก แต่ก็ยังแอบสงสัยฉบับแปลตัดทิ้งไปทั้งประโยคแบบนี้จะดีเหรอ...

   とにかく ก็ถือว่าพอจะกระจ่างขึ้นมาในระดับที่น่าพอใจแล้วละมั้งนะ

   では、皆さんの秋は何ですか?🍁


https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/736x/f8/76/
0b/f8760bc90f8330e0a53d941fc6ebf2a1.jpg


プリム



วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

タスク 2.2 ―My new me : 魅力的な自己紹介とは?―


2月4日(土)

タスク 2.2 ―My new me : 魅力的な自己紹介とは?―


   หลังจากการทดลองแนะนำตัวครั้งแรกและผ่านการเรียนไปอีกสองคาบ อ.ก็ให้แนะนำตัวอีกครั้งโจทย์เหมือนเดิมคือ 1) 名前 2) 研究 3) 性格 4) ストレス解消 โดยข้อ 2 3 4 เลือกอะไรก็ได้มาสองอย่าง ขุดเอาเทคนิกอะไรก็ได้ที่เรียนมาใช้ให้หมดกรุ

   "ยังไงก็คงไม่แย่ไปกว่าครั้งแรกหรอกใช่ไหมคะ" อาจารย์เหมือนจะให้กำลังใจ

   บรรดานิสิตพร้อมใจกันหัวเราะแห้งๆ

   นี่คือผลของการถอดเสียงเทปครั้งที่สองค่ะ


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   皆さん、こんにちは。はじめまして、ピムパチャラと申します。ニックネームはプリムです。プリムは花のプリムロースからのプリムです。研究領域は、平安時代の古典の「蜻蛉日記」について研究しています。蜻蛉日記は初めての女性によって書かれた日記なので、その時代の女の立場について色々研究したいと思っています。ストレス解消は、テレビを見ながら料理をしたりお菓子を作ったりすることです。(笑) しかし、このストレス解消は悪いところがあります。作るのが好きなんですが、自分で全部食べたら太っちゃいますので、いつか…よかったら、皆さんに食べてもらいたいなと思います。よろしくお願いいたします。


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   เราเลือกเอาวิจัยกับวิธีคลายเครียดมาพูดเพราะไม่รู้จะพูดนิสัยยังไง ซึ่งทำให้แพทเทิร์นเหมือนของครั้งแรกเด๊ะๆ แต่ก็มีจุดที่นำสิ่งเรียนมาปรับใช้ดังนี้ค่ะ

   1) พูดชื่อช้าลง ชัดขึ้น และมีการเพิ่มชื่อเล่น (พร้อมกิมมิคชื่อเล่นและพูดซ้ำอยู่สองสามรอบ)

   2) อธิบายวิจัย ไม่ใช่แค่ 蜻蛉日記について แล้วจบ แต่บอกเพิ่มว่าเป็นนิกกิชิ้นแรกที่เขียนโดยผู้หญิง และมีคุณค่าในการศึกษาสถานะบทบาทของผู้หญิงในสมัยนั้น

   3) อธิบายงานอดิเรกเพิ่มด้วย จากที่คราวที่แล้วบอกแค่ทำอาหาร ครั้งนี้แค่ใส่คำว่า テレビを見ながら ทุกคนก็หัวเราะกัน (ตอนนั้นแอบตกใจว่าหัวเราะอะไร Σ'◉⌓◉’ ) มีการพูดแบบติดตลกหน่อยเพื่อสร้างความเป็นกันเอง (笑) และปิดท้ายด้วยการติดสินบนของกิน (●・ω・●) เอ้า เชื่อหรือไม่คะว่าของกินนี่แหละไพ่ตายของการผูกมิตรโดยไวเลย แต่ข้อนี้ควรระวังนิดหนึ่งคือควรเลือกใช้ให้ถูกสถานการณ์นะคะ...พูดไม่ถูกเหมือนกัน แต่เอาเป็นว่าดู 雰囲気 ของตอนนั้นด้วยแล้วกันค่ะว่าเราสามารถพูดเล่นได้แค่ไหน

   ถามว่าดีขึ้นไหม

   ...

   ก็ไม่ค่อยแน่ใจเหมือนกัน...แต่ก็คิดว่าไม่ได้แย่ลงนะ ヽ(´▽`)/



*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   สรุปแล้ว "การแนะนำตัวที่ดี" ควรเป็นยังไง

   สำหรับเราแล้ว 魅力な自己紹介 คือการสร้าง First impression ค่ะ นอกจากจะทำให้เขาจำเราได้แล้ว ยังควรให้เขามีความประทับใจเกี่ยวกับตัวเราสักนิดสักหน่อย เพื่อให้เกิดความรู้สึกอยากทำความรู้จักต่อไปค่ะ สรุปคร่าวๆ ได้ดังนี้

    1. พูดชัดถ้อยชัดคำ โดยเฉพาะชื่อ

    2. เน้นในส่วนที่ควรเน้น เช่น เคงคิว อาจทำได้โดยการอธิบายเพิ่มเติม ไม่ใช่พูดประโยคเดียวจบ

    3. สร้างเอกลักษณ์ให้ตัวเอง อาจเป็นชื่อเล่น งานอดิเรก หรืออะไรก็ได้ที่ทำให้เขามีภาพในหัวว่าเราเป็นคนแบบไหน

    4. รอยยิ้มและออร่าแห่งความเป็นมิตรค่ะ อันนี้ไม่ได้อยู่ในบทเรียนโดยตรง แต่เราคิดว่าสำคัญมาก การสบตาและปฏิสัมพันธ์กับคนฟังจะเป็นขั้นแรกของการทำความรู้จักกัน ถ้าก้มหน้างุดพึมพำอยู่คนเดียวเราไม่เรียกว่าเป็นการแนะนำตัวค่ะ

    คงเป็นประมาณนี้ หวังว่าจะมีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้นะคะ เราเองก็จะพยายามใช้เหมือนกันค่ะ ที่ผ่านมาเป็นคนจืดๆ ที่ไม่ค่อยมีใครจำได้ ถ้าสามารถนำสิ่งที่เรียนมาทำให้คนจำได้ก็คงดีค่ะ

それが、うれしくてー島村卯月ー
https://38.media.tumblr.com/f0c1e6bd7a52f4a29ab3e67cf7264187/
tumblr_nhxonwKh4T1s4qvrdo1_500.gif

プリム