วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

タスク 3 ―見やすいプレゼン資料―


2月19日(日)
タスク 3 ―一生使える 見やすい資料のデザイン入門―

   เปลี่ยนจากการพูดมาเป็นสิ่ง "ประกอบการพูด" กันบ้างค่ะ มาถึงยุคนี้แล้ว จะแปะข้อมูลลงฟิวเจอร์บอร์ดแล้วชี้เอาก็กระไรอยู่ในเมื่อมีเทคโนโลยีที่สะดวกกว่า สไลด์ Power Point น่าจะเป็นอุปกรณ์คู่ชีพของใครหลายๆ คนในการพรีเซนต์เลยก็ว่าได้

   แต่อุตส่าห์มีเทคโนโลยีแบบใหม่แล้ว จะใช้เทคนิคแบบตัดแปะเหมือนเดิม แค่เปลี่ยนจากฟิวเจอร์บอร์ดมาเป็นหน้าจอพิกเซลก็ออกจะ もったいない ไปหน่อย... (゚ー゚;)

   ในคาบคราวนี้อาจารย์นำหนังสือเล่มหนึ่งมาให้อ่านค่ะ ซึ่งก็คือเล่มนี้

http://img.ips.co.jp/ij/14/1114101129/1114101129-520x.jpg

   หนังสือเล่มนี้ชื่อ 一生使える 見やすい資料のデザイン入門 เขียนโดยอ. 森重 湧太  เป็นหนังสือที่ว่าด้วยการจัดการ "ข้อมูล" ที่มีอยู่เพื่อนำมาผลิต "การนำเสนอ" อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด...แค่นี้ก็ฟังดูยากแล้วใช่ไหมคะ

   แล้วใครบอกว่ามันง่ายล่ะคะ (;´▽`;)

   การนำเสนอไม่ได้มีแค่คนพูด แต่จะครบองค์ประกอบต่อเมื่อมี "คนฟัง" ดังนั้นหัวใจหลักของการทำสื่อประกอบการนำเสนอคือ "ทำให้คนฟังเข้าใจและสนใจสิ่งที่เราพูด"

   แล้วควรทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมายนั้น?

   เราก็เลยสรุปประเด็นจากในหนังสือส่วนที่กลุ่มเราอ่าน (หน้า 133-173) มาดังนี้ค่ะ (คำเตือน ภาพเยอะมาก เน็ตไม่แรงอาจค้างได้นะคะ...m(o・ω・o)mゴメンヨ)



*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   1) การใช้สี

   เรื่องนี้พื้นฐานอยู่แล้ว แต่ถามว่าเคยลืมบ้างไม่ทำบ้างไหม...ก็เคย แต่เรื่องพื้นฐานพวกนี้แหละที่ไม่ควรละเลยค่ะ การพรีเซนต์วิชาการโดยพื้นฐานก็ง่วงพออยู่แล้ว ถ้ายังเจอข้อมูลสีเดียวกันเป็นพรืดยิ่งมึน ไม่รู้จะโฟกัสตรงไหนดี สุดท้ายคนฟังอาจจะแก้ปัญหาโดยการเลิกฟังมันซะเลย

   การเปลี่ยนสีในจุดที่ต้องการจะเน้นจะทำให้คนฟังมุ่งความสนใจไปที่จุดนั้นและทำให้จำข้อมูลส่วนนั้นได้ง่ายขึ้นค่ะ เช่นนี้




   นอกจากนี้ยังมีเทคนิคที่ไม่เคยใช้มาก่อน คือการเปลี่ยนสี 目次 ไปตามหัวข้อที่พูดค่ะ ฟังดูงงๆ ลองดูภาพก่อนแล้วกัน




   เวลาพูดยาวๆ การทำ 目次 คั่นเวลาเปลี่ยนเรื่องก็เป็นเทคนิคที่ดีค่ะ ถ้าพูดหัวข้อมาทีเดียวในตอนแรก พอฟังๆ ไปครึ่งหนึ่ง...ร้อยทั้งร้อยจำไม่ได้หรอกว่าหัวข้อที่ว่ามาตอนแรกคืออะไร ดังนั้นพอจบเรื่องหนึ่งแล้วขึ้นหัวข้อทั้งหมดให้ดูอีกทีก็จะทำให้ผู้ชมตามเนื้อหาได้ง่ายขึ้น

   แต่ครั้นจะขึ้นหัวข้อไว้เฉยๆ เหมือนภาพแรกก็แทบจะไม่ได้ช่วยอะไรใช่ไหมคะ จึงควรใช้สีเข้าช่วยเหมือนภาพที่สอง เช่นทำหัวข้อที่พูดไปแล้วเป็นสีเทา ทำหัวข้อที่กำลังจะพูดเป็นสีเหลือง และทำหัวข้อถัดไปเป็นสีน้ำเงิน...เข้าใจง่ายขึ้นเยอะเลยใช่ไหมคะ


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   2) ระวังรูปทรงกลมๆ มนๆ

   ทุกคนคงจะเคยใช้ฟังก์ชัน Shape ของพาวเวอร์พ้อยท์กันมาบ้างไม่มากก็น้อย โดยส่วนตัวแล้วเราเป็นคนชอบใช้รูปทรงเพื่อเน้นส่วนหัวข้อมาก แต่กระทั่งรูปทรงก็ใช้ซี้ซั้วไม่ได้ค่ะ แต่ละรูปทรงก็มี impression ของมันอยู่ ดังนี้


   รูปทรงเหลี่ยมจะให้ความรู้สึกที่ 強い กว่าค่ะ ยิ่งกลมเท่าไหร่ก็ยิ่ง やわらかい มากเท่านั้น ถ้าใช้อะไรกลมๆ ไปเสียหมดจะให้อารมณ์ 子供っぽい ดังนั้นอะไรที่เป็นทางการ เป็นเชิงธุรกิจจึงควรใช้ทรงเหลี่ยม ถ้าเป็นเรื่องราวทั่วไปอาจใช้เป็นขอบมน และสำหรับสถาบันต่างๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน ธุรกิจประเภทประกันฯ อาจใช้ทรงกลมๆ ได้

   ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหาและสถานการณ์ว่าควรใช้แบบใด



*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*



   3) ข้อมูลที่เป็นแผนผัง

   การนำเสนอแผนผังนับว่ายากค่ะ ซัฟเฟอร์จากนำเสนอกราฟในคาบคอนเวอร์เมื่อเทอมที่แล้วพอสมควรเลยทีเดียว เพราะแผนผังจุข้อมูลจำนวนมากไว้รวมกัน ทั้งจำนวน เวลา และผลการวิเคราะห์อื่นๆ  ขนาดทำเองอ่านเองยังเข้าใจยาก ถ้าเอามาแปะทั้งอย่างนั้นมีหวังคนดูตาลาย ดูอะไรไม่รู้เรื่องกันพอดี

   กราฟก็มีหลายประเภท ทั้งกราฟแท่ง กราฟจุด กราฟเส้นและกราฟวงกลม หนังสือเล่มนี้ก็ใจดีค่ะ มีตัวอย่างมาให้ครบเลยทีเดียว ★o(´▽`*)♪

   ประเด็นที่ควรระวังในการนำเสนอกราฟมีดังต่อไปนี้ค่ะ






   จับประเด็นให้ดี แทนที่จะแยกเป็นบริษัทๆ แบ่งเป็นหัวข้อที่ต้องการเปรียบเทียบเลยดีกว่า เช่น ในภูมิภาคคันโต บริษัทนี้ๆ เป็นแบบนี้ จะเข้าใจง่ายกว่า และอย่าลืมเน้นสีด้วยว่า "สรุปแล้วต้องการจะพูดว่าอะไร"




   ถึงจะบอกให้ใช้สี แต่การคุมโทนก็เป็นเรื่องสำคัญค่ะ เคยมองร่มชายหาดสีรุ้งแล้วลายตากันไหมคะ กราฟก็เหมือนกันค่ะ ควรใช้สีโทนสุขุมและใช้สีเด่นๆ เน้นในส่วนที่ควรเน้นก็พอค่ะ






   ในการนำเสนอกราฟที่มีแกน X, Y ตัวเลขตรงแกนแนวตั้งไม่สำคัญค่ะ จะให้คนดูใช้สายตากะเอาเองก็ดูจะยากไป ยิ่งกราฟเส้นยิ่งดูยาก สรุปออกมาตัวเป็นเลขเลยดีกว่าว่าแต่ละแถวจำนวนทั้งหมดเท่าไหร่


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   4) ภาพ

   อย่างที่บอกไปว่าสไลด์เป็นแค่ "อุปกรณ์ประกอบการนำเสนอ" จึงไม่ควรใส่ข้อมูลมากเกินจนไม่จำเป็นต้องมีคนนำเสนอก็ได้ ข้อนี้ทุกคนน่าจะรู้ดี ใส่ข้อมูลบ้าง ภาพประกอบบ้าง หรือถ้ามีกราฟก็ใส่กราฟ ออกมาเป็นประมาณนี้ก็พอใจ



   ...หืม? นี่มันหน้าตัวอย่างที่ไม่ดีไม่ใช่เหรอ

   สิ่งที่ฉันทำมาตลอดชีวิตเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีเหรอเนี่ย!


   มันขึ้นอยู่กับเนื้อหาค่ะ ถ้าภาพนั้นเป็นแค่เครื่องประดับก็พอทำเนา แต่ถ้าสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญคือภาพ ก็ควรจะเน้นภาพไปเลยค่ะ ขยายให้เต็มหน้าจอไปเลย



   สไลด์ของกลุ่มเราเป็นสไลด์เกี่ยวกับอาหารค่ะ รูปภาพจึงเป็นสิ่งที่ต้องการพรีเซนต์แบบเต็มๆ แทนที่จะทำแบบเดิมๆ ที่เคยทำมา พอเปลี่ยนเป็นแบบเต็มจอแล้วดูดีขึ้นเยอะเลยค่ะ ก็สิ่งที่ต้องการนำเสนอคือของกินนี่นะ...สิ่งที่จำเป็นจึงไม่ใช่ข้อมูลน่าเบื่อจืดชืด แต่การทำให้คนดูเห็นภาพแล้วเดินออกไปซื้อจึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จค่ะ


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


    ...ทำสไลด์ใครว่าง่าย...ใช่ไหมคะ

    ก็หวังว่าเทคนิคเหล่านี้จะมีประโยชน์และทำให้การนำเสนอมีเสน่ห์ขึ้นนะคะ ถ้าดึงประสิทธิภาพของทั้งสไลด์และผู้นำเสนอออกมาให้สุด การนำเสนอนั้นก็จะเป็นการนำเสนอที่น่าฟังและน่าประทับใจเองละค่ะ


プリム


1 ความคิดเห็น:

  1. ครูก็ชอบตรง 目次 และทำเป็นสีต่าง เพื่อบอกผู้อ่านว่าตอนนี้กำลังนำเสนออยู่ที่ใด ค่ะ

    ตอบลบ