วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560

氷菓ศึกษา (6) ーワイルドファイアー


3月24日(金)
氷菓ศึกษา (6) ーワイルドファイアー

   แม้จะยุ่งกับการเคลียร์การบ้านหลังจุฬา Expo (แบบไฟลนก้นและไม่มีอะไรเสร็จสักอย่าง) แต่เราตั้งใจไว้แต่แรกแล้วว่าจะลงบล็อกนี้เนื่องในโอกาส 「文化祭」ค่ะ จุฬาวิฯ ก็เทียบๆ ได้กับงานวัฒนธรรมเหมือนกัน แถมจุฬาวิฯ ที่ ผ่านมายังทำเกี่ยวกับฝ่ายอาหารอีกด้วย เลยถือโอกาสนี้ลงเรื่องงานคันยะของเฮียวกะด้วยเลย (แฮ่)

   เล่มสาม (クドリャフカの順番) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความวุ่นวายในงานวัฒนธรรมค่ะ 神山高校 ที่พวกโฮทาโร่อยู่เป็นโรงเรียนม. ปลายที่เน้นสายวิชาการสำหรับเข้ามหาวิทยาลัยก็จริง แต่กลับมีกิจกรรมเยอะมาก เช่น ชมรมมหาศาลและงานวัฒนธรรมที่จัดอย่างคึกคักเป็นเวลา 3 วัน (เท่ากับ CU Open house ของเราเลย)

   ตอนนี้เป็นตอนที่เราชอบที่สุด ทั้งอ่านซ้ำดูเมะซ้ำบ่อยที่สุดแล้ว เลยอยากใส่ไว้ในบล็อกสักนิดค่ะ (สนองนี้ดตัวเองนั่นเอง)

   ในงานคันยะวันที่ 2 ชมรมวรรณกรรมคลาสสิคเข้าร่วมการแข่งขันทำอาหาร ワイルドファイア ของชมรมวิจัยการอาหารเพื่อโปรโมทชมรม (แต่เอาจริงๆ แล้วซาโตชิก็แค่อยากลงเท่านั้นแหละ) การแข่งนี้เป็นการแข่ง 3 คน แน่นอนว่าโฮทาโร่จอมประหยัดพลังงานไม่เอากับเขาด้วยอยู่แล้ว คนที่ลงแข่งจึงมีแค่ซาโตชิ จิทันดะ และอิบาระ



   สิ่งที่อยากเขียนในบล็อกนี้คืออาหารที่ชมรมวรรณกรรมคลาสสิคทำกันนี่แหละค่ะ

   มีเวลาทั้งหมดสามสิบนาที ผลัดกันสามกะ คนละสิบนาที คนแรกจะต้องไปแย่งชิงวัตถุดิบมาและคนที่เหลือจะต้องทำอาหารด้วยสิ่งที่คนแรกหยิบได้ ซาโตชิลงเป็นกะแรก และสิ่งที่หยิบได้มีดังนี้

   ข้าวสารสามถ้วย ปลาซาร์ดีนแห้งหนึ่งถุง น้ำมัน ขิงดองหวานหนึ่งขวด เต้าหู้สี่ก้อน หัวไชเท้ารึ่งท่อน ต้นหอมสามต้น มันฝรั่งหกลูก งาดำ เนื้อหมูชิ้นเล็กสองร้อยกรัม กุ้งหวานหนึ่งแพ็ค แป้งมันหนึ่งถุง ส่วนเครื่องปรุงรสเช่น เต้าเจี้ยว โชยุ พริกป่น พริกไทย วาซาบิ ใช้ได้ไม่จำกัด




   ซาโตชิทำอาหารเพียงอย่างเดียวคือ 豚汁 หรือซุปเต้าเจี้ยวหมูค่ะ




   และนี่คือหน้าตาของจริงค่ะ

http://fundo.jp/wp-content/uploads/2015/06/2012_1_9r.jpg

   ก็คือซุปเต้าเจี้ยว (มิโซะ) ที่ใส่เนื้อหมู แครอทกับหัวไชเท้าค่ะ คิดว่าน่าจะคุ้นกันดี น่าจะเคยกินตามร้านอาหารญี่ปุ่นกันมาบ้าง

   ที่ไม่ปกติคือของจิทันดะค่ะ

千反田: 任せてください!

   จิทันดะถนัดการทำอาหารกว่าซาโตชิมาก และอาหารของจิทันดะผู้โตมากับเรือกสวนไร่นาก็ไม่ใช่อาหารธรรมดาที่คุ้นหูสักเท่าไหร่

   



   จิทันดะเริ่มด้วยการสไลซ์หัวไชเท้าเป็นแผ่นบางเฉียบแล้วเอามาม้วนใบต้นหอมกับขิงดองหวาน สำเร็จเป็น 甘酢みょうがの大根巻き หรือหัวไชเท้าห่อขิงดอง เสร็จในสองนาที ความยากของจานนี้คือการสไลซ์หัวไชเท้าให้เป็นแผ่นบางเหมือนกระดาษนี่แหละค่ะ

https://image.space.rakuten.co.jp/d/strg/ctrl/3/88961111ff19fd09a
878efaf3cb307c1dd946c06.45.2.3.2.jpg?thum=58

   ของจริงน่าจะประมาณนี้ค่ะ ไส้ในส่วนใหญ่มักจะเป็นเนื้อกับผัก แต่ด้วยความที่มีวัตถุดิบจำกัดจิทันดะเลยเอาแค่ต้นหอมกับขิงดองมาใช้ละมั้งคะ

   ต่อมาจิทันดะก็ซาวข้าวค่ะ ปกติแล้วเราจะซาวข้าวโดยแค่เอามือกวนๆ คนๆ ให้ฝุ่นหลุด แต่จิทันดะล้ำกว่านั้นค่ะ คือใช้เทคนิคการซาวข้าวแบบพนมมือหรือ 拝み洗い เป็นการใช้ฝ่ามือออกแรงถูเมล็ดข้าวเพื่อดึงรสหวานของข้าวออกมา



   知らないかったー。จะใช้กับข้าวไทยได้ไหมนะ

   หลังหุงข้าวเสร็จจิทันดะก็เอาผ้าบางห่อเต้าหู้คั้นน้ำแล้วเทใส่ถ้วยบด เติมเกลือกับน้ำตาล พักไว้แล้วหันไปผัดงาดำ พอบดเต้าหู้เสร็จก็ปั้นเป็นแผ่นหนาวางบนกระทะ




   ออกมาเป็น ぎせ焼き หรือเต้าหู้บดย่างค่ะ อาหารชนิดนี้แม้แต่ซาโตชิก็ยังไม่เคยได้ยินชื่อ ดูเหมือนจะไม่ใช่อาหารที่ทำกินกันปกตินักค่ะ เท่าที่หารูปจากเน็ตก็มีแต่คนทำตามจิทันดะกันทั้งนั้นเลย (ฮา)

https://p.cdnanapi.com/r/2012/08/16/13/20120816135056
_502c7c302b7e3.jpg?quality=85&size=650

   เวลายังเหลือ จิทันดะหันไปปอกมันฝรั่งแล้วต้มในน้ำเดือด ระหว่างนั้นก็แกะหัวและเปลือกกุ้งหวาน ซอยหัวไชเท้าที่เหลือ เตรียมวาซาบิและโชยุ จัดใส่จานออกมาเป็น 甘海老の刺身 หรือซาชิมิกุ้งหวาน

จานขวาสุด

   ส่วนนี่ของจริง

http://gigaplus.makeshop.jp/foodstream/shopimages/2_019001000001.jpg

   จิทันดะเอามันฝรั่งต้มสุกมาหั่นแล้วปั้นกับแป้งมัน จากนั้นก็หย่อนลงไปต้ม ออกมาเป็น いも餅 หรือโมจิมันฝรั่ง



   ของจริงเป็นเยี่ยงนี้

http://www.no-ro-i.jp/news/wp-content/uploads/2016/09/imomoti-t1.jpg

   หมดแล้วค่ะสิบนาทีของจิทันดะ (เก่งไปไหมมมมม) แต่ขณะที่ทีมวรรณกรรมคลาสสิคทำท่าจะไปได้ด้วยดี จิทันดะที่ทำอาหารอย่างดุเดือดก็ได้ทิ้งความลำบากไว้ให้กับอิบาระที่เป็นมือสุดท้าย เพราะสิ่งที่เหลืออยู่มีแค่นี้ค่ะ





   ถ้าเป็นเราคงเอาทั้งหมดนั่นมาทำข้าวผัดแบบง่อยๆ ซาโตชิก็คิดจะเอามาผัดๆ รวมกัน โฮทาโร่ที่นั่งดูจากห้องชมรมก็คิดว่าถ้าเป็นตัวเองคงเอาแป้งมันปั้นเป็นลูกชิ้นใส่น้ำซุป แต่ด้วยความที่นี่คืออิบาระผู้จริงจัง เธอจึงไม่อยากทำอะไรลวกๆ ไปวางคู่กับอาหารอลังการของจิทันดะ

伊原: 考えろ…考えろ…!

   ขณะที่อิบาระกำลังจะยอมแพ้ ก็ถึงตาของพระเอกเราที่นั่งประหยัดพลังงานมาตลอดตอน

奉太郎: さとしーっ!!

   โอ๊ยยยยยยยยยยย!! เป็นช็อตที่ชอบที่สุดในเรื่องเลยค่ะ โฮทาโร่ที่ยึดหลัก "อะไรที่ไม่จำเป็นก็ไม่ทำ" มาตลอดยอมลงทุนตะโกนจากห้องชมรมเพื่อช่วยเพื่อน ก่อนหน้าจะตัดสินใจโฮทาโร่ก็เถียงกับตัวเองอยู่นานว่าจะทำดีไหม แต่สุดท้ายก็ยอมทำในสิ่งที่ตรงข้ามกับคติของตัวเอง น่ารักกกกกกก♥

   ที่โฮทาโร่ยอมลงทุนตะโกนข้ามตึกขนาดนี้เพราะมีของที่สามารถช่วยอิบาระได้ค่ะ ซึ่งนั่นก็คือ


   แป้งสาลีที่ได้มาจากชมรมวิจัยขนมหวานผ่านวิธีเศรษฐีเส้นฟางที่เขียนไว้ในบล็อกที่แล้ว การแข่งครั้งนี้อนุญาตให้ใช้วัตถุดิบที่หามาจากในโรงเรียนได้ค่ะ พออิบาระได้แป้งสาลีมาไว้ในมือก็เริ่มลงมือยำกับสิ่งที่เหลืออยู่ ได้แก่ หัวกุ้งหวาน หัวหอม ต้นหอม แครอท ผลลัพธ์นั้นก็คือ


https://image.excite.co.jp/jp/erecipe/recipe/1/a/1a3596e85a9877
a5f63cf0220f2bd2e8/9e7765a096117d4959b197e93836edd3.jpeg

   ข้าวหน้ากุ้งคลุกผักชุบแป้งทอด! แปลเป็นไทยแล้วยาวมาก ชื่อญี่ปุ่นคือ かき揚げ丼 ค่ะ (ที่อยู่ข้างๆ คือซุปเต้าเจี้ยวหมูของซาโตชิ) ของจริงจะเปลี่ยนเครื่องจากกุ้งและผักเป็นอย่างอื่นก็ได้ค่ะ

   ดูดีกว่าข้าวผัดหรือผัดผักเยอะเลย (ฮา) นับถืออิบาระจริงๆ

里志: お疲れ!





   ซีนหวาน (?) เล็กๆ ของคู่รองและคู่หลักค่ะ

   ส่วนชมรมอื่นๆ น่ะเหรอ...

http://cdn-ak.f.st-hatena.com/images/fotolife/p/pema/20120725/20120725120303.gif


   ...ขอไม่พูดถึงแล้วกันค่ะ
   
   โอย กว่าจะเขียนเสร็จก็หิวจะแย่แล้ว หวังว่าบล็อกนี้จะทำให้ได้รู้จักกับอาหารญี่ปุ่นใหม่ๆ มากขึ้น และทำให้รู้สึกหิวไม่มากก็น้อยค่ะ (笑)


プリム



วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

タスク 4 ーストーリーテリングー


3月15日(日)

タスク 4 ーストーリーテリングー 


   
ตอนเด็กๆ ชอบอ่านนิทานกันไหมคะ 


   เราชอบให้แม่อ่านนิทานให้ฟังก่อนนอนมากๆ แต่แทนที่ฟังแล้วจะหลับเหมือนเด็กอื่น นิทานยิ่งเป็นตัวปลุกสมองเราเลยค่ะ เพราะนิทานจะทำให้เรา "จินตนาการตาม" ค่ะ

   นั่นคือความสามารถของ 描写 หรือการพรรณนา

   การพรรณนาต่างจากการ "อธิบาย" ตรงที่มีจุดประสงค์หลักคือการทำให้ "เห็นภาพ" นี่แหละค่ะ

   คาบเรียนคราวนี้เปลี่ยนจากให้เขียนกลับมาเป็นให้พูดอีกครั้ง โดยโจทย์คือการบรรยายภาพที่เห็นให้เพื่อนเข้าใจ 

   เราได้ภาพนี้ค่ะ

   เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ชายคนหนึ่งที่นั่งว่างๆ อยู่ในล็อบบี้ ข้างๆ มีคุณลุงนั่งกางหนังสือพิมพ์อ่านอยู่ เหม่ออยู่ดีๆ ผู้ชายคนนั้นก็ดันไปสบตากับคุณลุงชาวต่างชาติถือแผนที่ทำท่าเหมือนกำลังหลงทางอยู่ คุณลุงได้จังหวะก็เดินเข้ามาหวังจะถามทาง แต่ผู้ชายคนนี้ดูท่าจะไม่ค่อยภาษาต่างประเทศเลยเหงื่อแตก ไม่รู้จะทำอย่างไร จวนตัวมากๆ เข้าก็แวบไปหลบหลังหนังสือพิมพ์ที่คุณลุงคนข้างๆ อ่านอยู่ โดยมีคุณลุงชาวต่างชาติทำท่ายัวะ

   พอจะนึกภาพออกไหมคะ ไปดูภาพจริงกันเลยค่ะ



*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*



   และสิ่งที่พูดออกมาเป็นดังนี้

   たぶん、ロビーで男の人が座ってる。そして、その男の人の隣に(あの)ある、他の人が新聞を読んでいる。そして、何もしていない男の人のほうが、おじいさん...たぶん外国人のおじいさんが地図を持って、迷っているようで...。(あの)そして、そのおじいさんと男の人が目があった。で、そのおじいさんが地図を持って、その男の人のほうに歩いてきた。でも、(えー)男の人が困ったそうな顔をして、隣の新聞を読んでいる人に、(あの)新聞の裏に隠した。...ということです。



*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   そして多すぎ!!フィラー超多すぎー!!

   ฝึกมากี่ครั้งกี่หนแล้ว โฮ่ยยยยยยยยย

   รายละเอียดก็ขาดเยอะมากกกกกกก Tense ก็มั่วไปหมดดดดดดด



穴掘って埋まってますぅーっ!!ー萩原雪歩ー
http://i47.tinypic.com/28cnh40.gif

   อะแฮ่ม...โวยวายไปก็ไม่ได้อะไร มาพูดถึงวิธีแก้ดีกว่า

   ปัญหาของภาพนี้คือตัวละครทั้งสามคนเป็นผู้ชายค่ะ ตรงคุณลุงอาจจะพอแยกได้ แต่การอธิบายผู้ชายสองคนที่นั่งอยู่เป็นอะไรที่ยุ่งมาก เพราะพูด その男 ไป あの男 มาก็ชักงงว่าไผเป็นไผ


   บางคนแก้ปัญหาด้วยการแยกเป็น 子ども กับ 新聞を読んでる男の人 และ おじいさん ก็เข้าใจง่ายดี (เพียงแต่ในรูปมันไม่ค่อยเหมือนเด็กเท่านั้นเอง)

   อีกปัญหาคือ expression ของตัวละครค่ะ เราที่เป็นคนเห็นภาพย่อมเข้าใจความรู้สึกของตัวละครอยู่แล้ว แต่เพื่อนที่หันหลังอยู่จะไม่สามารถรู้ได้ถ้าจินตนาการไม่กล้าแกร่งพอ (ฮา)

   ดังนั้นการบรรยาย สีหน้า อารมณ์ความรู้สึก และบรรยากาศของภาพให้เพื่อนจินตนาการได้จึงเป็นเรื่องสำคัญค่

   สรุปหลักสำคัญที่ทำให้ 描写 ต่างจาก 説明文 ได้ดังนี้

   1. พรรณนาให้ละเอียด อธิบายการกระทำทุกขั้นตอน รวมทั้งสีหน้าท่าทางของตัวละคร เอาให้ภาพในหัวคนฟังคล้ายกับภาพที่เราเห็นมากที่สุด แยกตัวละครให้ดี ถ้ามีตัวละครเยอะก็ใช้สรรพนามแยกแยะให้คนฟังเข้าใจว่าใครเป็นใคร

   2. ใช้ 表現 มุมมองต่างๆ เช่น ていく・てくる เพื่อแสดงทิศทางต่อบุคคลนั้นๆ เช่น おじいさんが男の人のほうに歩いてきた

   3. 表現 แสดงอารมณ์ เช่น てしまう・そう・よう・らしい เช่น その外国人のおじいさんと目があってしまった รวมทั้งคำแสดงอารมณ์/เพิ่มสีสัน เช่น なんと・すると ให้ดูมีจังหวะจะโคน มีไคลแม็กซ์ ไม่ใช่เล่าไปเรื่อยเปื่อย

   4. ใส่คำพูดประกอบเข้าไปเพื่อสร้างอรรถรส (ฮา) เช่น 男の人が「しまったー!」と思って ก็จะทำให้ผู้ฟังนึกหน้าและสถานการณ์ได้ง่ายขึ้น

   5. การเลือกใช้คำ เช่น ถ้าใช้ว่า 新聞を開いた จะเห็นภาพกางหนังสือพิมพ์มากกว่าแค่ 新聞を読んでた

   6. Tense อันนี้เป็นการพูดสด จะผิดก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่จะพยายามใช้ให้เป็น Tense เดียวกันมากกว่านี้ รวมถึงรูปสุภาพกับรูป普通 ด้วย

   จินตนาการคนฟังจะกล้าแกร่งขนาดไหน แต่ถ้าทำให้เขาเห็นภาพที่เราต้องการจะสื่อไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์ค่ะ แต่ละหลักที่ว่ามาก็เป็นเรื่องพื้นฐานที่เคยเรียนกันทั้งนั้น ดังนั้นพยายามขุดสิ่งที่อยู่ก้นกรุขึ้นมา "ประยุกต์" กันเถอะค่ะ

   ครั้งนี้ขอเป็นสั้นๆ แค่นี้ก่อนค่ะ วีคจุฬาเอ็กซ์โปหนักมากจริงๆ (ตายแป๊บ) นึกอะไรได้อาจจะมาเพิ่มเติมทีหลังนะคะ


http://media2.giphy.com/media/NlpnSfpBdjwxG/giphy.gif


プリム




วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

タスク 3.1 ―HP 紹介文 (final version) ―


3月5日(日)

タスク 3.1 ―HP 紹介文 (final version) ―


   จบกับเรื่องแนะนำตัวแล้วก็ถึงเวลาเขียนแนะนำอย่างอื่นแล้วค่ะ คราวนี้เป็นการเขียน HP 紹介文 หรือเขียนแนะนำมหาวิทยาลัยลงโฮมเพจ ไม่เกิน 400 ตัวอักษร โดยให้เลือกว่าจะแนะนำมหาวิทยาลัยหรืออักษร เราตอนแรกว่าจะเอาเรื่องโปรแกรมเกียรตินิยม แต่ข้อมูลค่อนข้างน้อย แถมภาษาน่าจะยาก เลยเปลี่ยนเป็นแนะนำอาคารของคณะอักษรค่ะ


   เริ่มจากตอนแรกก็ไปหาข้อมูลแล้วเรียบเรียงเป็นภาษาไทยก่อน แล้วค่อยแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นส่งให้อาจารย์ช่วยเช็ค และสุดท้ายก็ไปปรู๊ฟกับ Lang8 เป็นขั้นสุดท้ายค่ะ ดังนี้




*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

   ประเด็น : อาคารในอักษรศาสตร์

   จุดขาย : “เทวาลัย” เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แลนด์มาร์กของจุฬาฯ


   ข้อมูลที่อาจใช้ได้ :


   อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ออกแบบโดยนายช่างชาวเยอรมันและอังกฤษเมื่อ พ. ศ. 2456 วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2458 ใช้แบบไทยโบราณที่สุโขทัยและสวรรคโลกมาสร้างเป็นแบบ 


   อาคารมหาวชิราวุธ เป็นที่ตั้งของสำนักคณบดี สำนักงานเลขานุการคณะอักษรศาสตร์ สมาคมนิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ ศูนย์เรียนรู้ด้วยตนเอง ห้องพิพิธพัสดุ์ไท-กะไดและห้องโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ



http://www.memocent.chula.ac.th/downloader/d4c859b167a991e05eca2cc6f5cb58d3/

   อาคารบรมราชกุมารี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2537 และอาคารมหาจักรีสิรินธร ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพฯ ก่อสร้างในปี 2550 (ครบรอบ 90 ปี) เป็นอาคารของคณะอักษรศาสตร์








แนะนำอาคารในอักษรศาสตร์ ร่างแรก (ภาษาไทย)

   คณะอักษรศาสตร์มีอาคารประจำคณะอยู่ 3 หลัง ได้แก่ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ซึ่งนิสิตมักเรียกกันว่า “เทวาลัย” โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้น เป็นอาคารหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้สร้างอาคารมหาวชิราวุธขึ้นโดยมีทางเชื่อมกับอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เป็นที่ตั้งของสำนักงานต่างๆ และห้องสมุดคณะ ส่วนอาคารที่ใช้เรียนอีก 2 หลังได้แก่อาคารบรมราชกุมารีที่มีทั้งสิ้น 13 ชั้นและอาคารมหาจักรีสิรินธร ขนาดสูง 9 ชั้น เป็นที่ตั้งของศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ (สรรพศาสตร์สโมสร) ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล และโรงอาหารประจำคณะอีกด้วย

   หลังจากตัดๆ เพิ่มๆ ข้อมูลจนพอใจแล้วก็ลงมือแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นค่ะ



*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


文学部の建物の紹介

   チュラーロンコーン大学の文学部における建物は三棟あります。1915年にラーマ6世によって設立された「マハーチュラーロンコーンビール」は最も古い歴史を持っています。文学部の最初の建物であり、大学の第一の建物であります。その後、マハーチュラーロンコーンビールへの廊下とともに、学部の事務所と図書館が付属する「マハワチラウットビール」が設立されました。この二棟は一般に「テーワーライ」とー棟のように呼ばれています。昔、授業設備のある校舎でした。現在校舎は二棟あり、「バロムラチャクマリーベール」がより先設立されました。二階にコンピュターセンター、三階から六階に教室、七階から十三階に各専門の事務所が付属しています。文学部創立90周年に、九階の校舎が建てられ、シリントーン王女殿下の名前から「マハチャクリシリントーンビール」と表記されていました。こちらにもう一つの図書室の「サパサートサモーソーン」があります。(397文字)




*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*



https://media.giphy.com/media/5npBFUpB2Djpu/giphy.gif

   ...ไม่ต้องให้คนอื่นบอกก็รู้ว่าพลาดอะไรบ้าง รวมฟีดแบ็คจากอาจารย์และเพื่อนแล้วสรุปเป็นข้อๆ ได้ประมาณนี้ค่ะ

   1) ไม่แบ่งย่อหน้า การเขียนครั้งนี้เป็นภาษาทางการ ศัพท์ยากก็เยอะ ศัพท์เฉพาะก็เยอะ เขียนเรียงเป็นพรืดขนาดนี้คงไม่มีใครอยากอ่าน


   2) ยังใช้คำผิด ด้วยความที่คราวนี้ต้องเขียนเป็นภาษาสวยๆ จะมา ここにこれがあります เหมือนปกติก็ไม่ได้แล้ว แต่ศัพท์สูงก็ใช้ยาก จะสังเกตว่ามีคำที่ใช้แบบงูๆ ปลาๆ อยู่เยอะ เช่น 付属する ก็ใช้คำช่วยมั่วเป็น が หรืออย่าง 表記されていました แปลว่าอะไรยังไม่แน่ใจเลย (ฮา)


   3) สัดส่วนการอธิบายแต่ละส่วนไม่ค่อยเท่ากัน บางที่พูดถึงมาก ขณะที่บางที่พูดถึงแค่ผ่านๆ


   4) ตัวเลขปนกัน บางอันใช้ตัวเลขอารบิค บางอันใช้เป็นคันจิ ข้อนี้รู้สึก 違和感 ตั้งแต่ตอนเขียนแล้ว เพราะเลขปีรู้สึกว่าควรใช้เป็นอารบิค แต่เลขชั้นหรือจำนวนหลังอยากใช้เป็นคันจิ แต่ก็ควรเลือกใช้อย่างเดียวไปเลยจริงๆ นั่นแหละ


   5) ไม่ต้องมีบทสรุปก็ได้ อันนี้ไม่ได้อยู่ในดราฟท์แรก แต่ใส่เข้าไปในการแก้ครั้งที่สองค่ะ คือเพิ่มการสรุปว่า "ถึงจะมีแค่สามตึก แต่เพราะอย่างนั้นนิสิตอักษรเลยผูกพันกับที่นี่มาก" ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเนื้อเรื่องที่กล่าวมาตอนต้น ดังนั้นข้อมูลแบบนี้บางทีก็ไม่จำเป็นต้องมีสรุปก็ได้ค่ะ


   หลังให้อ.ช่วยปรับ โยนลง Lang8 และตบๆ ตีๆ ขั้นสุดท้ายแล้วก็ออกมาดังนี้ค่ะ




*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


文学部の建物の紹介

(Final version)

 チュラーロンコーン大学の文学部の建物は4棟あります。

 1915年にラーマ6世によって設立されたマハーチュラーロンコーンビル」は文学部の最初の建物であり、大学の最古の建物であります。その後、学部の事務所と図書館のある「マハワチラウットビル」が設置されました。

 上記の2棟を合わせて一般に「テーワーライ」と呼ばれています。タイ風建築の建物のテーワーライはその伝統的なタイスタイルの美しさで、大学のランドマークと認められています。

 現在校舎は2棟あり、「バロムラチャクマリービル(BRK)」がより先に設立されました。2階はコンピュターセンター、3階から6階は教室、7階から13階は各専門の事務所となっています。

 文学部創立90周年に、9階建て校舎が建てられ、シリントーン王女殿下のお名前からマハチャクリシリントーンビル(MCS)」と名づけられました。学部の図書室と演劇学科劇場がこちらに付属しています。(391文字)



*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

   สรุปแล้วหลักๆ ที่โดนแก้มีดังต่อไปนี้ค่ะ


   1) การใช้คำศัพท์ที่ถูกต้อง เป็นธรรมดาอยู่แล้วที่จะผิด เพราะคำไหนที่ไม่คุ้นเคยก็ย่อมไม่แปลกที่จะใช้ไม่เป็นอยู่แล้ว ในที่นี้ก็ขอสรุปเอาไว้ 4 ข้อที่ควรจำไปใช้ต่อไปค่ะ

   ① 付属する อย่างที่พูดถึงไปข้างบน โดยปกติแล้วคำนี้จะใช้กับ สถานที่+に+付属する(+คำนาม)ตอนแรกเราใช้เป็น 学部の事務所と図書館付属する「マハワチラウットビール」ซึ่งเป็นการใช้ที่ผิด แต่พอใช้ว่า 学部の図書室と演劇学科劇場こちら付属していますก็ผ่าน Lang8 มาได้ด้วยดี

   ② となっている ต้องการจะสื่อว่าอาคารนี้ "ประกอบด้วย" อะไรบ้าง คำนี้ตอนแรกใช้ว่า OO階にOO、OO階にOOから構成されています。แต่คนญี่ปุ่นช่วยแก้มาให้ดังนี้ค่ะ




   คนญี่ปุ่นเสนอวิธีเขียนมาให้ถึงสามวิธีเลยค่ะ แต่เนื่องจากคนญี่ปุ่นที่มาแก้ให้ทั้งสองคนแก้มาเป็น となっています ทั้งคู่ เลยเลือกใช้ตามเป็น 階はコンピュターセンター、3階から6階は教室、7階から13階は各専門の事務所となっています。


   ③上記 เป็นคำที่เห็นบ่อยมากถึงมากที่่สุด ใช้ไม่ยาก แต่ไม่เคยใช้ ต่อจากนี้จะพยายามเอาไปใช้แน่นอน

   伝統的な อันนี้ใส่เพิ่มเข้าไปในร่างฉบับที่สอง อาจารย์แก้ให้ในห้องค่ะ คือตอนแรกใช้เป็น 伝統的な美しさで、大学のランドマークとも言えます。แต่อ.บอกว่าถ้าใช้เป็น 伝統的な美しさ เลยจะดูแปลกๆ เลยใส่ タイスタイル เข้าไปตรงกลาง ให้คำว่า "โบราณ" ไปขยายคำว่า "แบบไทย" คือเป็น "ความงามแบบไทยโบราณ" ไม่ใช่ "ความงามโบราณ"

   และตรงสุดท้ายควรเป็น "การยอมรับให้เป็นแลนด์มาร์กของจุฬาฯ" จึงควรใช้ 認められています หรือ 評価されています ซึ่งพอเขียนเป็น 認められています ไป คนญี่ปุ่นก็ไม่ได้แก้กลับมา


   ⑤ การใส่วงเล็บซ้อนวงเล็บ ชื่อตึกของจุฬาฯ ยาวๆ ทั้งนั้นค่ะ คนไทยเราอาจจะย่อเป็น "บรม" หรือ "มหาจักร" ก็เข้าใจกันได้ แต่สำหรับคนต่างชาติแล้วควรจะมีชื่อย่อแบบเป็นทางการให้ด้วย เช่น ของตึกบรมฯ คือ BRK 

   แต่ประเด็นคือใส่เครื่องหมายคำพูดครอบชื่อไปแล้วรอบหนึ่งไง แล้วควรจะทำอย่างไรกับวงเล็บที่จะเพิ่มเข้าไป คนญี่ปุ่นใน Lang8 ก็บอกให้วงเล็บซ้อนไปเลยค่ะ 「バロムラチャクマリービル(BRK)」แบบนี้ไปเลย

   2) จัดย่อหน้า จุดประสงค์ของการเขียนแนะนำนี้คือ "เพื่อให้คนที่ไม่รู้จักจุฬาฯ อ่าน" จึงควรจัดย่อหน้าแบ่งเป็นเรื่องๆ ไป เอาให้กราดตาผ่านแล้วจับจุดได้ว่าตรงนี้กำลังพูดถึงอะไร จะน่าอ่านขึ้นเยอะเลยค่ะ

   3) การจัดเนื้อหา ต้องไม่มากไป ไม่น้อยไป ยาวไปคนก็ไม่อ่าน น้อยไปก็ไม่ได้สาระอะไร กำหนดจุดประสงค์ให้ชัดและอธิบายส่วนนั้นไปเลย ที่สำคัญคือต้องมีเอกภาพ พูดเรื่องเดียวกันตั้งแต่ต้นจนจบอย่างมีลำดับ ไม่จำเป็นต้องจบสวยงามแบบ 校長先生のスピーチ ก็ได้เพราะนี่คือข้อเขียน "ให้ข้อมูล"

   4) คำนึงถึงคนอ่านเป็นสำคัญ ไม่ใช่สิ่งที่อยากเขียน ข้อมูลส่วนไหนที่จะมีประโยชน์กับเขา เช่น ชื่อตึก ไม่มีตารางเรียนไหนยัดชื่อเต็มของอาคารได้หรอก ก็ต้องใช้ชื่อย่อทั้งนั้น ในการแนะนำก็ควรจะให้ชาวต่างชาติรู้ว่า BRK หรือ MCS คืออะไรก็ดี หรืออย่างที่เราๆ ชาวอักษรเรียกเทวาลัยๆ กัน ถ้าคนต่างชาติหาในเว็บก็อาจสับสนได้เพราะมันคือสองตึกรวมกัน



*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   สรุปแล้วบทเรียนในครั้งนี้ก็คือการใช้ภาษาทางการและคำศัพท์สวยๆ สิ่งที่สามมาก็คือการใช้ผิดความหมายหรือใช้คำช่วยผิด แต่อย่างสำนวนที่ว่า 聞くは一時の恥、聞かぬは一生の恥 นั่นแหละค่ะ ลองใช้ๆ ไปก่อน ไม่เข้าใจก็ถาม ผิดก็จำ ดีกว่ามัวสงสัยไม่กล้าใช้ไปเรื่อยๆ

   เรื่องสำคัญอีกเรื่องคือ "การเขียนเพื่อให้คนอ่าน" การเลือกข้อมูล แบ่งย่อหน้าและเรียบเรียงให้เข้าใจง่ายเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้มีคนมาอ่านข้อความของเราค่ะ

   ก็เป็นเรื่องเบสิคนะ แต่ไม่ง่ายเลยจริงๆ ค่ะ 


http://24.media.tumblr.com/04fe5199ccdb5fc36d8c146fca0d9a50/
tumblr_mk4oetsYMb1rrvz9so1_500.gif


プリム


วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560

氷菓ศึกษา (5) ーบูรณาการวิชาประวัติวรรณคดีญี่ปุ่นー


3月4日(土)
氷菓ศึกษา (5) ーบูรณาการวิชาประวัติวรรณคดีญี่ปุ่นー

   ประเด็นศึกษาเพิ่มเติมชักจะเยอะกว่า タスク ซะแล้ว (´・ω・`) แต่เนื่องจากเพิ่งสอบวิชาประวัติวรรณคดีมาหมาดๆ เลยอยากบันทึกไว้ค่ะ

   บล็อกครั้งนี้ไม่เชิงเป็นประเด็นศึกษา แต่เป็นแค่การบันทึกมากกว่า เรื่องของเรื่องมันมีอยู่ว่า ขณะกำลังอ่านประวัติวรรณคดีอย่างคร่ำเคร่ง ไม่รู้คิดยังไงอยู่ดีๆ ก็เดินไปเปิดเฮียวกะเล่มสามมาอ่านเล่นแก้เครียด แล้วก็ยังไม่วายเจอ 徒然草 ซึ่งเป็นหนึ่งในเนื้อหาที่จะสอบ

https://mytokyoblues.files.wordpress.com/2015/12/stops-reading.gif?w=560

   นี่อุตส่าห์ว่าจะอ่านคลายเครียดแล้วยังจะเจออีกเรอะ!

   ความจริงแล้วนี่ไม่ใช่ครั้งแรกค่ะ ตอนเรียนปีสองก็เจอเนื้อหาที่เรียนตอนนั้นพอสมควรเหมือนกัน เพราะอย่างไรเสีย นี่ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "ชมรมวรรณกรรมคลาสสิก" อย่ากระนั้นเลย ไหนๆ ก็มีวิชาที่ให้เขียนบล็อกโดยเฉพาะแล้วก็จดไว้สักหน่อยดีกว่า (แฮะๆ)

   กำหนดขอบเขตไว้แค่เล่มสาม(クドリャフカの順番)เล่มสี่(遠まわりする雛)และเล่มห้า (ふたりの距離の概算)ผลการรวบรวมเป็นดังนี้


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   ★เล่มสาม(クドリャフカの順番)★

   ① 世阿弥・観阿弥

   เล่มนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับงานวัฒนธรรมค่ะ ชมรมวรรณกรรมคลาสสิกต้องจัดทำหนังสือรวมบทความเฮียวกะขึ้น ขณะเดียวกันชมรมวิจัยการ์ตูนที่อิบาระเป็นสมาชิกควบอยู่ด้วยก็ทำหนังสือรวมบทความเช่นกันค่ะ ได้แก่เล่มนี้



   漫研の目玉は、古今の漫画を百本集めレビューした文集、「ゼアミーズ」。なぜ、「ゼアミーズ」なのかと訊いたら、去年のが「カンアミーズ」だったからそうだ。なぜ去年「カンアミーズ」だったなのかは、馬鹿馬鹿しくて訊く気がしなかった。

   หนังสือรวมบทความของพวกอิบาระชื่อ "เซอามีซ์" ค่ะ เหตุผลก็เพราะหนังสือรวมบทความปีที่แล้วชื่อว่า "คันอามีซ์" ทั้งสองเล่มนี้ตั้งชื่อตามสองพ่อลูก 観阿弥 และ 世阿弥 นักแสดงละครโนในสมัยมุโรมาจิที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการละครโน โดยคันอามิได้ใส่ศิลปะชั้นสูงเข้าไปเพื่อพัฒนาให้ละครโนเป็นที่นิยมของชนชั้นสูง ต่อมาเซอามิก็ได้ทำให้ละคนโนแพร่หลายจนได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งละครโน"

   เพิ่งเรียนและสอบไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเลยค่ะ (;´▽`;)

   นอกจากนี้ เซอามิได้เขียนตำราละครโนชื่อ 風姿花伝 ไว้ค่ะ ในหนังสือเล่มนี้มีข้อความหนึ่งกล่าวว่า「秘すれば花。秘せざれば花なるべからず。」แปลว่า การแสดงให้ผู้ชมเห็นเพียงส่วนหนึ่งแล้วจึงค่อยเปิดเผยในจังหวะที่เหมาะสม จะสามารถทำให้ผู้ชมประทับใจ ต่อมาการใช้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กลายมาเป็นสำนวน 「言わぬが花」ซึ่งเทียบได้กับ "พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง" ของไทย

   เราเอาข้อมูลตรงนี้ไปใช้ประกอบรายงานวิชาภาษาในสังคมญี่ปุ่นด้วยค่ะ



   徒然草

   มาแล้วตัวจุดประกายให้เขียนประเด็นศึกษานี้ เพิ่งเจอไปสดๆ ร้อนๆ เทอมนี้เลยค่ะ หลังจากพยายามอ่านสอบแต่ก็ไม่ค่อยจะเข้าหัวเท่าไหร่นัก ก็เลยตัดสินใจพักชั่วคราว ไปหยิบเอาเล่มสามมาอ่านแบบสุ่มๆ

   ในงานวัฒนธรรมนี้ ซาโตชิลงสมัครแข่งตอบปัญหาเพื่อหวังจะโปรโมทชมรม (และแน่นอนว่าเพื่อความสนุกของตัวเอง) แต่เนื่องจากชมรมวรรณกรรมคลาสสิคแทบจะไม่ได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับ "วรรณกรรม" เลย ตอนแนะนำชมรมซาโตชิจึงบอกว่า


   "แต่ชมรมวรรณกรรมคลาสสิคของพวกผมก็ไม่ได้มานั่งวิเคราะห์วรรณกรรมจำพวก 'ข้อเขียนจากความว่าง' กันหรอกนะครับ"

   พอเหลือบมองเชิงอรรถก็เจอ 徒然草 เข้าเต็มๆ ถ้าดื่มน้ำอยู่ก็คงสำลักล่ะค่ะ

   อุตส่าห์หนีมาแท้ๆ...(ノ_・。)

   徒然草 เขียนโดย 兼好法師 เป็นวรรณกรรมประเภทเรียงความ ที่ฉบับแปลใช้ว่า "ข้อเขียนจากความว่าง" เป็นเพราะ 徒然 แปลว่าความเบื่อหน่าย พระเค็งโกเขียนเรื่องนี้ระหว่างที่นั่งเบื่อหน่ายอ้างว้างอยู่ นึกอะไรได้ก็เขียนออกมา เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับการมองชีวิตมนุษย์และธรรมชาติ

   อธิบายได้แม่นไม่ต้องเปิดหนังสือเลยทีเดียว ( ̄ω ̄)ぷっ


     わらしべ長者
   
   ตอนเช้าของวันงานวัฒนธรรม พี่สาวของโฮทาโร่ได้ให้ปากกาหมึกซึมที่พังแล้วมา ไม่รู้ว่าจะให้ทำไมเหมือนกัน แต่โฮทาโร่ก็ถือว่า 書けない พ้องเสียงกับคำว่า 欠けない จึงคิดเสียว่าเป็นลางดี

   ในงานวัฒนธรรมสมาชิกแต่ละคนต้องแยกไปทำงานของตัวเอง โฮทาโร่รับหน้าที่เป็นคนขายหนังสืออยู่ที่ห้องโดยวางเจ้าปากกาหมึกซึมไว้บนโต๊ะ จะไม่เกิดอะไรขึ้นเลยถ้านักเรียนคนนี้ไม่เดินเข้ามา



   ในจังหวะที่หนุ่มพังค์นี่กำลังจะซื้อเฮียวกะก็ดันเหลือบไปเห็นปากกาหมึกซึมที่วางอยู่และทำท่าตื่นเต้นมาก เพราะเห็นว่าปากกานี่เป็นเครื่องประดับที่เข้ากับชุดของตัวเอง (ตรงไหนกันนะ...) โฮทาโร่ที่ไม่ต้องการมันอยู่แล้วจึงยกให้ นักเรียนคนนั้นเลยแลกปากกากับบัตรเข้าหลังเวทีของชมรมตัวเอง




   หลังจากนั้นบรรดาคนที่แวะเวียนมาที่ห้องชมรมก็แลกของกับโฮทาโร่ไปเรื่อยๆ จากปากกาเป็นบัตร จากบัตรเป็นปืนกล็อค จากปืนกล็อคเป็นแป้งสาลี แป้งสาลีเป็นเข็มกลัด (ในอนิเมะเปลี่ยนเป็นกระจกอย่างที่เห็นค่ะ) จากเข็มกลัด (กระจก) เป็นหนังสือการ์ตูนที่ช่วยให้โฮทาโร่ไขปริศนาของงานวัฒนธรรมได้สำเร็จ

   โฮทาโร่ถึงกับรำพันกับตัวเองว่า「なんかわらしべ長者みたい」

   わらしべ長者 เป็นหนึ่งในเรื่องเล่าที่อยู่ใน「今昔物語集」เรื่องนี้ไม่เชิงว่าได้เรียนในคาบ แต่เหมือนอ. เล่าเพิ่มให้ฟังมากกว่า

   เป็นเรื่องเกี่ยวกับทาโร่ที่มีชีวิตความเป็นอยู่ลำบากยากแค้น แต่เป็นคนขยันและซื่อสัตย์ นับถือเจ้าแม่กวนอิม คืนหนึ่งเจ้าแม่กวนอิมก็มาเข้าฝันว่าให้กำสิ่งแรกที่ฉวยได้เมื่อออกจากศาลเอาไว้ให้ดี สิ่งที่ทาโร่คว้ามาได้คือฟางเส้นหนึ่ง ทาโร่ก็เดินถือฟางนั้นไปเรื่อยๆ ก็มีแมลงปอมาเกาะ พอเดินผ่านขบวนขุนนาง ลูกขุนนางคนหนึ่งก็ร้องจะเอาฟางแมลงปอของทาโร่และแลกกับส้มสามผล ระหว่างทางก็มีคนมาขอแลกของกับทาโร่เรื่อยๆ ส้มแลกกับผ้าไหม ผ้าไหมแลกกับม้า ม้าแลกกับที่นา จนสุดท้ายทาโร่ก็กลายเป็นเศรษฐี โดยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์จะสอนให้เป็นคนดีและนับถือเจ้าแม่กวนอิม สิ่งดีๆ ก็จะตามมา

   ของโฮทาโร่ก็เป็นลักษณะเดียวกัน (ชื่อแอบคล้ายกันอีกแน่ะ) เพียงแต่ของที่ได้มานั้นไม่ได้มีมูลค่าสูงขึ้น แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่แลกๆ มาก็นำไปสู่การไขปริศนาและแก้ปัญหาของชมรม (คืออะไรนั้นไปอ่านเอาเอง ฮา)


   ★เล่มสี่(遠まわりする雛)★

   เล่มสี่นี้ไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกันทั้งเล่มเหมือนสามเล่มที่ผ่านมา แต่เป็นการรวมตอนสั้นๆ ที่เนื้อหาแยกกันมาไว้ด้วยกันค่ะ


    天満宮

   บทที่ 5 「あきましておめでとう」เป็นช่วงปีใหม่ค่ะ โฮทาโร่ที่นั่งๆ นอนๆ อยู่กับบ้านทั้งวันก็ได้รับโทรศัพท์จากจิทันดะชวนไปไหว้พระปีใหม่ด้วยกัน


   千反田:「元日に何か予定がありますか?」

   奉太郎:「いや、特に」

   すると千反田の声が華やいだ。

   千反田:「そうですか。では、初詣に行きませんか?」

   奉太郎:「...まさか天満宮じゃないだろうな」

   千反田:「え、天満宮がいいんですか?でも遠いですよ。...かなり」

   ที่โฮทาโร่ระบุชัดเจนว่า "คงไม่ใช่ศาลเจ้านี้หรอกนะ" เพราะเคยถูกพี่สาวลากไปไหว้ขอพรตอนที่พี่จะเข้ามหาวิทยาลัยค่ะ ฉากของเรื่องเฮียวกะอยู่ที่เมือง 高山 (จังหวัด 岐阜) ค่ะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ 飛騨天満宮 ศาลเจ้าเท็นมังงูเป็นศาลเจ้าที่บูชา 菅原道真 ที่เป็นเทพแห่งการศึกษา มักนิยมไปขอพรเกี่ยวกับการเรียนการสอบกัน

   อย่างไรก็ตาม เนื่องจากศาลเจ้าเท็นมังงูอยู่ค่อนข้างไกล จิทันดะจึงชวนโฮทาโร่ไป 荒楠神社 แทน ศาลเจ้าอาคุเรสึนี้เป็นชื่อสมมติค่ะ ต้นแบบจากสถานที่จริงคือ 日枝神社 (ศาลเจ้าฮิเอะ)

http://livedoor.blogimg.jp/shika7/imgs/7/e/7ec13749.jpg

http://blog-001.west.edge.storage-yahoo.jp/res/blog-b8-52/
fujisyuu01/folder/437095/83/9417583/img_15?1347081182

   เราได้เรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปตอนปีสอง ข้อนี้จึงเป็นหนึ่งในสองข้อที่ได้เรียนก่อนได้อ่านนิยายค่ะ (เพราะตอนนั้นนิยายแปลยังไม่ออก)

   ⑤ 

   ฉากเดียวกันกับข้อที่แล้วเลยค่ะ พวกโฮทาโร่จับโอมิกุจิกัน และสิ่งที่โฮทาโร่ได้ก็คือ



   どうしようもない。神社のどかかに捨てていくしかないが、そこいらに放り出すのも気が引ける。に結べばいいのだろうか。

   อีกข้อที่ได้เรียนก่อนอ่านค่ะ เรียนพร้อมๆ กับเท็นมังงูข้างบนเลย กิ่งต้นซากากิถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเขตแดนของเทพเจ้าที่บรรจบกับมนุษย์ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้บนหิ้งบูชาหรือในพิธีกรรมของศาลเจ้า และมักปลูกในศาลเจ้า พูดง่ายๆ คือเป็นต้นไม้มงคล โฮทาโร่เลยจะเอาใบเซียมซี "โชคร้าย" ไปผูกกับกิ่งซากากิเพื่อแก้เคล็ด


   ★เล่มห้า(ふたりの距離の概算)★


   ⑥ 百人一首

   อันนี้ปรากฏมาแค่ชื่อคำเดียวเท่านั้นแหละค่ะ (笑) ว่าในโรงเรียนนี้มีชมรม「百人一首部」นี้ด้วย ความจริงชมรมนี้เคยโผล่มาในอนิเมะตอนงานวัฒนธรรมแล้วค่ะ แต่ในนิยายไม่ได้กล่าวถึงแต่อย่างใด



   อนึ่ง กลอนที่ตัวละครกล่าวในตอนนี้ได้แก่ 

「つくばねの...」ที่มาจาก つくばねの峰よりおつるみなの川こひぞつもりて淵となりける

「はるすぎて...」 จาก 春過ぎて夏きたるらし白妙の衣ほしたり天の香具山

「たちわかれ...」 จาก たち別れいなばの山の峰に生ふるまつとしきかば今帰り来む

「ひさ...」จากひさかたの 光のどけき 春の日に 静心なく 花の散るらむ

   กลอนบทสุดท้ายคือที่จิทันดะลงไปเล่นค่ะ ด้วยความที่เป็นคนประสาทไว คนอ่านพูดได้แค่ 「ひさー」นางก็ตบแล้ว ∑( ̄ロ ̄|||) แต่เท่าที่หาดูก็ไม่มีบทอื่นนะ คิดว่าน่าจะมาจากกลอนบทนี้แหละค่ะ

   อันนี้ก็เพิ่งเรียนไปเทอมนี้ค่ะ แต่รู้จักมานานพอสมควรแล้ว ขอข้ามรายละเอียดนะคะ


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

 
จริงๆ ไม่ได้มีแค่นี้นะคะ แต่ที่ตรงกับที่เรียนเป๊ะๆ ก็ประมาณนี้

   เพราะไม่ค่อยถนัดวิชาประวัติศาสตร์ เลยพลอยไม่ชอบประวัติศาสตร์ไปด้วย แต่เวลาอ่านหนังสือแล้วเจอสิ่งที่เคยเรียน หรือได้เรียนในสิ่งที่เคยอ่านก็ทำให้เนื้อหานั้นๆ สนุกขึ้นนะคะ เวลาเก็ทพวกมุกความรู้ทั้งหลายก็ยิ่งสนุก ถ้ายิ่งฐานข้อมูลกว้างก็ยิ่งเข้าใจได้เร็ว

   คงต้องทิ้งอคติแล้วตั้งใจเรียนประวัติศาสตร์มากกว่านี้ล่ะมั้ง (笑)

   แต่การตั้งใจ "อ่าน" ก็สำคัญไม่แพ้กันค่ะ ถ้าแค่อ่านผ่านๆ ไปก็ไม่มีทางจำเรื่องพวกนี้ได้ ส่วนตัวแล้วเป็นคนชอบอ่านเชิงอรรถค่ะ (ฮา) ชอบอ่านแบบ "ทุกตัวอักษร" ไม่ใช่แค่เอาความ (เฉพาะนิยายนะคะ...(¬ω¬;)~>) เวลาเจอข้อมูลอะไรในหนังสือก็จะจำๆ ไว้ นึกออกบ้างนึกไม่ออกบ้างก็ไว้ว่าทีหลัง

   แบบนี้ก็สนุกดีค่ะ


プリム