วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

タスク 2 ―完璧主義者ですが、だめですか?(Lang8)―


1月30日(月)
タスク 2 ―完璧主義者ですが、だめですか?―

   ยังไม่จบกับการแนะนำตัว คราวนี้ขยับจากการบอกชื่อธรรมดาเป็นการบอก "ข้อดี" ของตัวเอง ซึ่งจากตัวอย่างส่วนใหญ่ที่อ.ให้อ่านจะใช้วิธีเขียนแบบ "พลิกข้อเสียให้เป็นข้อดี" เช่น เป็นคน 不器用 แต่มีความพยายาม เป็นคนไม่กล้าปฏิเสธคน แต่เพราะอย่างนั้นถึงได้มีเส้นสายมาก เป็นต้น

   ทริกนี้น่าสนใจทีเดียว การอวดข้อดีของตัวเองเมื่อถึงเวลาเป็นสิ่งจำเป็น แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะชมตัวเองไม่ให้น่าหมั่นไส้ การพลิกเอาสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นข้อเสียให้เป็นข้อดีจึงเป็นหนึ่งทางเลือกที่น่าลอง เราจึงตัดสินใจเลือก appeal จุดแข็งของตัวเองผ่านข้อเสียนี้เอง


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   หลังจากเขียนแล้วเราก็เอาลง Lang 8 ค่ะ เป็นเว็บที่จะสามารถให้เจ้าของภาษาเช็คความหมายและไวยากรณ์ให้เราได้ ตามที่อยู่เว็บนี้เลยค่ะ http://lang-8.com/ ใครสนใจก็ลองเข้าไปใช้กันได้นะคะ

   ขณะที่ชาวบ้านมาแก้ของเราได้ เราก็สามารถแก้ภาษาไทยให้กับคนอื่นได้เหมือนกันค่ะ (แต่คนถามภาษาไทยมาค่อนข้างน้อยนะ) ถ้าเราไปแก้ให้คนอื่นมากก็จะเป็นการสะสม "แต้มบุญ" ยิ่งแต้มบุญนี่เยอะขึ้นเท่าไหร่ โพสเราก็จะปรากฏอยู่บนๆ และมีโอกาสที่จะมีคนมาแก้ให้มากขึ้นค่ะ

   เทคนิกที่ทำให้คนเข้ามาแก้มีสองอย่างค่ะ ได้แก่ 1) ตั้งชื่อให้น่าสนใจ ให้คนอยากกดเข้ามาดูเนื้อหา และ 2) เนื้อหาที่ถามไม่ควรยาวเกินไป ไม่งั้นคนอ่านจะขี้เกียจแก้ได้



   นี่คือตัวอย่างการแก้ค่ะ จะสามารถแก้ประโยคต่อประโยคแบบนี้ได้เลย ถ้าประโยคไหนเขาเห็นว่าดีแล้วก็จะติ๊กถูกมาให้ว่าไม่ต้องแก้อะไร

   มีคนมาแก้ให้ไวมากจนตกใจเลยค่ะ (笑)แก้มาให้สองคน เราเอาคำแนะนำของทั้งสองคนมาปรับแก้งานและได้ผลออกมาดังนี้

   短所とも長所とも言い切れませんが、私は限られた時間内に完璧な状態を目指す性格傾向があります。努力型とも言えるでしょうが、完璧主義者と言えるかもしれません。「完璧」というより「自分の全力を尽くしたいでやりたいと思っています。難しくても、面倒でも、ほかの人が時間の無駄だと思うことでも、「やる」と決めたら簡単に諦めません。もちろんあまり無理しません。自分の限界を知り意識しながら、できるだけいい結果を出したいと思っています。

   แดงเถือกทั้งหน้า (苦笑)

   อย่างไรก็ตาม หลังจากรื้อแก้แทบทั้งพารากราฟแล้ว ทั้งสองคนก็พิมพ์ต่อท้ายไว้เช่นนี้ค่ะ


とても上手に書かれていると思います^-^添削しなくてもほとんど意味は通じますが、
より自然な日本語になるように添削しました。参考になさってください。


私も同じで、つい、細かい所にこだわってしまいます。

https://media.giphy.com/media/hyU0RHvlS3iQU/giphy.gif

   日本人って…やさしいよね…


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


    เราตัดสินใจเอา 完璧主義者 มาเป็นข้อดีค่ะ คำนี้แปลเป็นไทยคงใกล้เคียงกับคำว่า "พวกยึดติดกับความสมบูรณ์แบบ" ความจริงเรามี dilemma กับเรื่องนี้อยู่พอสมควร ไม่รู้จะเรียกว่าเป็นข้อดีหรือข้อเสียดี เวลาทำงานกลุ่ม หลายๆ คนชอบบอกว่าเรา "สุดโต่ง" หรือ "จริงจังมากเกินไป" แต่เราก็แค่อยากทำให้งานออกมาดีที่สุดเท่านั้นเอง...พองานออกมาดีมันก็หายเหนื่อยนะ และที่สำคัญคือ

    ความทรมานจากการทำงานยังดีกว่าความทรมานจากการเสียใจทีหลังหลายเท่าค่ะ

    แต่แน่นอนว่าตอนที่ไม่ไหวและเทไปเลยก็มีเหมือนกัน (ノ≧ڡ≦)

    สิ่งที่คนญี่ปุ่นแก้ให้ไม่เชิงว่าผิดแกรมมา แต่แค่เปลี่ยนคำให้ดูดีขึ้น  อย่าง 全力でやる พอลองไปหาดูก็พบว่า 全力を尽くしたい ก็เป็นคำที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (แต่ดูดีกว่ามาก) อืม...ที่ผ่านมาก็ชอบใช้แต่คำบ้านๆ เพื่อความเซฟจริงๆ นั่นแหละ แต่ก็ปีสามแล้วนี่เนอะ ก็เลยคิดว่าจะลอง challenge ตัวเองใช้คำศัพท์ยากๆ ให้มากกว่านี้ค่ะ

頑張ります!-島村卯月-
https://thunder503.wordpress.com/2016/04/30/de-regreso/
475c57c6b15dab8df583d85a4aa33332/

プリム



วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

氷菓ศึกษา ーいいえ。もう春ですー


1月28日(日)
氷菓ศึกษา ーいいえ。もう春ですー

   อย่างที่ได้เกริ่นไปใน 目標 แล้วว่าเราชอบหนังสือชุด 氷菓 นี้มาก ด้วยความอัดแน่นและเฉียบคมของเนื้อหา แต่ด้วยความที่มันคมเกิ๊น สำหรับผู้เรียนต่างชาติตาดำๆ เลยออกจะสาหัสไปสักหน่อย แทบจะต้องเปิดดิกคำเว้นคำเลยทีเดียว

   สำหรับประเด็นศึกษาครั้งแรกสุดนี้คือ ประโยคสุดท้ายของเล่มสี่ (遠まわりする雛)หรือฉากสุดท้ายของอนิเมะค่ะ

   ...ใช่ค่ะ มันคือตอนจบ และคงเป็นการสปอยล์เนื้อเรื่องแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราคาใจกับประโยคสุดท้ายนี้มากจนอยากจะหยิบมาเป็นประเด็นศึกษาแรก ยังไงก็ต้องขออภัยล่วงหน้าสำหรับคนที่ยังไม่เคยดูและคิดจะดูด้วยนะคะ



*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   ก่อนอื่นขอแนะนำตัวละครเล็กน้อย เพราะต่อจากนี้จะขอเรียกชื่อตัวละครค่ะ ถ้าจะให้เรียกพระเอก นางเอก เพื่อนพระเอกนางเอกไปนานๆ เข้าเดี๋ยวจะงงว่าใครเป็นใครได้

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiJuxOjP8yEDgsTYg2I4w1JCn8Va7ppVMADSaPoZMfR0kJUPXfpnuDwhu1BvchUwSFx8-Jj7BDDve0LLKdkx85x9lBFKcs17NiHbbFTPHpRraE19_b-iXmrNpZ2a7GnDryYwO2Z1Rw27PI/s1600/
hyouka_dark_short_hair_long_green_eyes_eru_hd-wallpaper-1910602.jpg

   ตัวละครหลักในเรื่องนี้มีสี่คนตามในภาพค่ะ เริ่มจากสองคนที่อยู่ข้างหน้าคือคู่หลักของเรื่อง เรื่องนี้ดำเนินจากมุมมองของผู้ชายผมดำด้านหน้าค่ะ ชื่อโอเรกิ โฮทาโร่ (折木 奉太郎)เป็นคนที่พยายามประหยัดพลังงานตลอดเวลา เลยจะเป็นคนเอื่อยๆ เฉื่อยๆ แต่ไหวพริบดี เวลามีปริศนาอะไรก็มักจะคิดออกเสมอ คนซ้ายสุดชื่อจิทันดะ เอรุ (千反田 える)เป็นคนขี้สงสัยไปซะทุกอย่างและรับบทหาเรื่องมาให้พระเอกไขข้อข้องใจอยู่ตลอด

   ที่อยู่ข้างหลังอีกสองคนคือคู่รองค่ะ ผู้ชายทางขวาชื่อฟุคุเบะ ซาโตชิ (福部 里志)และคนทางขวาสุดคืออิบาระ มายากะ(伊原 摩耶花)ทั้งคู่จบม.ต้นที่เดียวกับโฮทาโร่

    ทั้งสี่คนเข้าเรียนม.ปลายที่โรงเรียนคามิยามะ (神山高校) และสังกัดอยู่ชมรมวรรณกรรมคลาสสิก(古典部)


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   สำหรับฉากสุดท้ายที่ว่า สถานการณ์คร่าวๆ เป็นแบบนี้ค่ะ ตลอดทั้งเรื่องที่ผ่านมาแทบไม่มีฉากกุ๊กกิ๊กแบบชัดๆ ระหว่างพระนางเลยค่ะ มีแค่ฉากประชิดเป็นระยะๆ ของจิทันดะที่มีระยะส่วนตัวแคบกว่าชาวบ้าน แต่แทบจะไม่มีการบรรยายว่าโอทาโร่คิดยังไงกับจิทันดะกันแน่ จนมาถึงท้ายเล่มสี่นี่เอง เรียกได้ว่าฉากนี้เป็นฉากที่หวานที่สุดของคู่นี้แล้ว

   ตอนนี้เป็นตอนที่จิทันดะเรียกให้โฮทาโร่ไปช่วยงานของที่บ้าน ระหว่างขากลับเธอก็เล่าให้ฟังว่าตัวเธอเป็นผู้สืบทอดกิจการของตระกูล จิทันดะเป็นตระกูลใหญ่และถือที่นาเป็นบริเวณกว้าง เธอรู้ตัวอยู่แล้วว่าตนมีความรับผิดชอบอะไรและไม่ได้รังเกียจหรือเศร้าใจที่จะต้องทำอย่างนั้น ที่ของเธอไม่ได้สวยงามหรือมีความเป็นไปได้มากนัก แต่เธอก็อยากแนะนำให้เขารู้จักกับมันอยู่ดี

   โอ้โห ชัดกว่านี้ไม่มีแล้ว แน่นอนว่าโฮทาโร่เองก็คงพอจะเข้าใจว่าจิทันดะรู้สึกอย่างไร รวมถึงตัวเขาก็ตระหนักถึงความรู้สึกของตัวเองเช่นกัน เขาเกือบจะหลุดปากออกไปแล้วว่า "กิจการส่วนที่เธอทำไม่ได้น่ะ ให้ฉันสานต่อแทนมั้ย" แต่สุดท้ายเขากลับไม่ได้พูดออกไป (และทำให้บรรดาพ่อยกแม่ยกสาปส่งกันยกใหญ่) บทสนทนาหลังจากนั้นกลายเป็นพยากรณ์ลมฟ้าอากาศที่ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องที่คุยกันก่อนหน้าแต่อย่างใด

   บทสนทนาที่ว่าเป็นอย่างนี้ค่ะ

   ーネタバレ注意ですよ!ー


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   精一杯に無愛想を装い、俺はこう言った。

   「寒くなってきたな」

   しかし千反田は、少し驚いたように目を見開き、それから柔らかく微笑んで、ゆっくりとかぶりを振った。

   「いいえ。もう春です」


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

   คำศัพท์

   無愛想を装う : ปั้นหน้าเรียบเฉย พยายามไม่แสดงความรู้สึก

   見開く : เบิกตากว้าง

   かぶりを振る : ส่ายหัว (かぶり เป็นอีกเสียงอ่านของตัว 頭)

http://cdn.blogimage2.crooz.jp/usr/2012/09/22/catribon/ginancat/resource/
smp_thum_1ecd4ea8691c1b2850710bb8933f9d64a5fed28d.jpg

http://kenohito.blog67.fc2.com/blog-entry-1779.html

http://blog-imgs-55.fc2.com/r/o/l/rollingworld/20121217001151a03.jpg
   
   แล้วทั้งสองก็ยิ้มให้กันพร้อมกันเดินไปยังอาทิตย์อัสดงที่งดงาม...

   ...

   ค่ะ มันจบดื้อๆ แบบนี้แหละค่ะ

   พอลองไปหาดูก็พบว่าคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ดูจะชื่นชมว่าเป็นตอนจบที่ดี ซาบซึ้งตราตรึงใจ แต่สำหรับคนต่างชาติอย่างเราแล้ว...ไม่อะ! ไม่เห็นเข้าใจเลยว่ามันโรแมนติกอะไรตรงไหน ยังไม่ได้สารภาพเลยไม่ใช่เรอะ! จะยิ้มเขินกันทำไม!

   ด้วยความข้องใจในจุดนี้ เราเลยตัดสินใจหาความหมายแฝงที่ซ่อนอยู่ในประโยคลมฟ้าอากาศสองประโยคสั้นๆ นี้ว่ากลายเป็นประโยคสารภาพรักไปได้ยังไง


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   คนญี่ปุ่นเองก็พูดถึงความหมายของฉากจบนี้พอสมควรเหมือนกันค่ะ 

   สำหรับประโยคของโฮทาโร่ที่ว่า "อากาศหนาวขึ้นแล้วนะ" อาจมองได้ว่าเป็นการเปลี่ยนเรื่อง โฮทาโร่ที่ตระหนักถึงความรู้สึกของตัวเองและรู้ว่าถ้าเขาพูดประโยคนั้นออกไปจะเป็นการทำสัญญาหุ้นส่วนตลอดชีวิต ซึ่งจะทำให้หลักประหยัดพลังงานที่ยึดมาโดยตลอดต้องจบสิ้นลง โฮทาโร่ที่ยังลังเลว่าจะสามารถทำอย่างนั้นได้หรือเปล่าจึงยังไม่สามารถให้คำสัญญากับจิทันดะได้

   ทั้งๆ ที่โฮทาโร่พูดว่า "อากาศหนาวขึ้นแล้วนะ" แทนที่จะตอบว่า 「そうですね」หรือ「まだ暖かいですよ」ทำไมถึงได้เลือกตอบว่า "ไม่หรอกค่ะ นี่ฤดูใบไม้ผลิแล้ว"

   จิทันดะพูดประโยคนี้ด้วยนัยอะไรกันแน่

   ภาษาญี่ปุ่นมีสำนวนที่ว่า 「春が来た」อยู่ค่ะ สามารถแปลได้สามความหมาย ได้แก่

   ① 桜など、春を感じさせるものが姿を現したときに使う。คือความโดยตรงว่า "เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิแล้ว"

   ② 「春」という人物が来た。อันนี้ก็ความหมายโดยตรง ตร๊ง...ตรงกว่าอันแรกอีก

   ③ 恋をした という意味。มาแล้วค่ะความหมายโดยนัย แปลว่า "มีความรัก" ค่ะ

   แล้วทำไมถึงเปรียบเทียบว่า "ฤดูใบไม้ผลิ" เป็น "ความรัก" ?

   คำตอบส่วนใหญ่บอกว่าฤดูใบไม้ผลิเป็นฤดูที่ข้ามผ่านความหนาวเหน็บของฤดูหนาวและอบอุ่นขึ้น เป็นช่วงที่ดอกไม้เบ่งบาน ซึ่งความอบอุ่นงดงามเช่นนั้นใกล้เคียงกับความรู้สึกเมื่อ "มีความรัก"

   ในช่วงแรกเมื่อคนเราเริ่มรู้สึกถึงความรักที่มีให้ใครสักคน มันไม่ได้มีเพียงความรู้สึกดีเท่านั้น แต่ยังเต็มไปด้วยความหวาดกลัว ความคาดหวัง การรอคอย เปรียบเหมือนฤดูหนาวที่ยาวนานและทรมาน แต่เมื่อข้ามผ่านความรู้สึกนั้นมาแล้ว สิ่งที่อยู่ภายในก็จะ「芽」ออกมาเป็นดอกไม้ที่สวยงาม

   อื้อหือ...ล้ำลึกเหลือเกิน

   สำนวนนี้สามารถใช้เป็นกริยาได้เลยค่ะ เช่น 「○○くん春が来た♡」หรือ「春が来た女の子」

   ด้วยเหตุดังนี้ ประโยคตอบกลับของจิทันดะจึงอาจไพล่ไปถึงความหมายนี้ก็เป็นได้

   「折木さんに、紹介したかったんです」

   เธอขอร้องให้โฮทาโร่มาช่วยงานของที่บ้านทั้งที่น่าจะขอคนอื่นที่เกี่ยวข้องหรืออยู่ใกล้กว่าได้ นั่นเป็นเพราะเธอตั้งใจจะให้เขาดูว่า "ที่ของเธอ" เป็นอย่างไร เธอจะต้องอยู่ที่นี่ และอยากจะให้เขาอยู่ด้วย นี่คือนัยแฝงที่ทั้งคนอ่านทั้งโฮทาโร่เข้าใจได้ไม่ยาก

   ยิ่งโฮทาโร่ที่สามารถไขปริศนาได้มากมายย่อมเข้าใจอยู่แล้ว

   หากคิดในอีกแง่หนึ่ง ประโยคของโฮทาโร่อาจตีความได้ว่า "สำหรับเขาที่ไม่เคยให้สนใจกับการเรียน กีฬา และความรักมาก่อน ตัวเขาอาจจะยังอยู่ในช่วงของฤดูหนาว สำหรับโฮทาโร่แล้วฤดูใบไม้ผลิของเขาอาจจะยังมาไม่ถึง" ดังนั้นเขาจึงยังไม่สามารถสารภาพรักกับจิทันดะได้เพราะตัวเองก็ยังไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่าความรู้สึกระหว่างพวกเขาทั้งสองคืออะไรกันแน่

   แต่ถึงแม้จะยังไม่ถึงฤดูใบไม้ผลิ แต่เขาก็เริ่มรู้สึกถึงอากาศหนาวแล้ว แปลว่าเขาเองก็รู้สึกถึง "อะไรบางอย่าง" แล้วเหมือนกัน

   นั่นคือคำตอบของโฮทาโร่ "ฉันยังไม่แน่ใจ"

   เมื่อจิทันดะได้ยินดังนั้นก็ยิ้มออกมาเล็กน้อย จิทันดะที่คิดเรื่องอนาคตของตัวเองเป็นอย่างดีและสามารถรวบรวมความกล้าบอกไปว่า "อยากจะแนะนำให้รู้จักกับบ้านของตัวเอง" ย่อมไม่มีความลังเลแบบนั้น

   เธอรู้ว่ามันไม่ใช่แค่ความรู้สึกกำกวมของฤดูหนาวอีกต่อไปแล้ว

   นั่นคือคำตอบของจิทันดะ "ฉันว่าฉันแน่ใจค่ะ"

   ไม่ค่อยแน่ใจเหมือนกันว่า もう春です ของจิทันดะหมายถึงแค่ความรู้สึกของเธอ หรือความรู้สึกของทั้งสองคน แต่เอาเป็นว่าประโยคนี้ไม่ได้หมายถึงฤดูใบไม้ผลิหรือคนที่ชื่อฮารุแน่ๆ (ฮา)

   พอมาวิเคราะห์แบบนี้แล้วก็พอจะรู้สึกถึงความโรแมนติคอยู่เหมือนกัน ก็เป็นตอนจบที่สวยงามจริงๆ นั่นแหละ...🌸

   อย่างไรก็ตาม อ.โยเนซาวะก็ได้ตลบหลังทุกคนในเล่มห้าด้วยการให้โฮทาโร่เป็นหวัดในวันต่อมา สรุปว่าที่เขาบอกว่าหนาวนั่น ไม่ว่าจะมีนัยแฝงอะไรหรือไม่ แต่ก็มีความหมายว่าหนาวจริงๆ อยู่ด้วย...อาจ๊ารย์...! เอาความโรแมนติคและการวิเคราะห์ยืดยาวของหนูกลับมา!
   
https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/originals/c1/1e/82/c11e82c93cba0c68c742ec61e81dac8b.jpg
プリム



วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

タスク1.2 ―自己紹介(2)―



1月28日(土)
タスク1.2 ―自己紹介(2)―


   บล็อกครั้งนี้สืบเนื่องจาก タスク1 เมื่อคราวที่แล้ว หลังจากที่ได้พูดสดกันไปแล้วอ.ก็ให้การบ้านกลับไปเขียน 魅力的な自己紹介 อีกที พูดสดอาจจะคิดไม่ทันไม่เป็นไร เอากลับไปเรียบเรียงดีๆ แล้วเขียนมาแล้วกัน แต่มีเงื่อนไขคือห้ามใส่ชื่อตัวเอง ให้แทนด้วยหมายเลขประจำตัวเอา

   มั่นใจไหมว่าการเขียนที่สามารถใช้เวลาคิดเรียบเรียงจะดีกว่าการด้นสด ตอบเลยว่าไม่ แถม 魅力的 ด้วยเนี่ยนะ? แบบไหนถึงจะเรียกว่า 魅力的 ยังไม่รู้เลย!

   หลังจากพิลาปรำพันกับตัวเองพอเป็นพิธีแล้วก็เค้นหัวพยายามเขียนออกมาได้ดังนี้ค่ะ


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   はじめまして。19です。輝く星空がよく見える郊外で育ってきたので、どこにいても毎晩夜空を見上げています。兄弟も近所の友達もいない私にとっては、飼っている猫が大事な友だちで、誰にも負けないくらい猫が大好きです。趣味は読書です。落ち込んでいる時でも、好きな本を読むだけで元気になることがあります。本には読者を笑わせたり泣かせたりする力があって、すごいと思います。ファンタジーや推理小説が好きですが、最近ノンフィクションもよく読んでいます。読書が好きのため、理学より文学のほうが得意です。アニメがきっかけで、日本語を選びました。勉強するにつれて、難しくなってきたんですが、新しいことを学ぶのを楽しんでいます。将来は日本語が使える仕事ができたらいいと思っています。そのために、これからももっと頑張りたいと思います。よろしくお願いします。

*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   ครั้งนี้ยาวหน่อยค่ะ เพราะกำหนดความยาวคือ 300-400 ตัวอักษร

   เริ่มจากการตีความคำว่า 魅力的 ของเราก่อน อย่างที่เขียนไปครั้งที่แล้วว่าการแนะนำตัวที่ดีก็คือการทำให้คู่สนทนาของเราจำเราได้ ซึ่งการจะทำอย่างนั้นก็ต้องพยายามดึงจุดเด่นของตัวเองออกมา เราไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่ว่าจุดเด่นของตัวเองคืออะไร เลยตัดสินใจดึงเอาสิ่งที่น่าจะต่างกับหลายๆ คนคือความเป็น 「田舎」 ของตัวเอง

   ถึงจะมาจากทั่วประเทศ แต่เด็กจุฬาฯ กว่าค่อนก็ยังเป็นเด็กเมืองอยู่ดีค่ะ เราเลยเอาบรรยากาศบ้านๆ ของชานเมืองนี่แหละมา appeal ตัวเอง ซึ่งก็ได้ผลอยู่เหมือนกันค่ะ

   สิ่งที่เพื่อนคอมเม้นท์มาว่าดีมีอยู่สองจุดคือประโยค 輝く星空がよく見える郊外で育ってきたので、…毎晩夜空を見上げています。」ในตอนแรก บอกว่าเป็นการขึ้นต้นที่แหวกไปจากคนอื่นๆ ให้อารมณ์รักธรรมชาติ และประโยค 「趣味は読書です。」ก็สนับสนุนภาพความสงบแบบเอื่อยๆ นี่ให้ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ตั้งใจไว้ค่ะ ดีใจเหมือนกันที่สามารถสื่อไปถึงคนอื่นได้ (*゚ー゚)ゞ

   ส่วนสิ่งที่อ.ฟีดแบ็คมาว่าดีคือประโยคนี้ค่ะ 本には読者を笑わせたり泣かせたりする力があって จริงๆ แล้วนอกจากการนำเสนอตัวเองตรงๆ การนำเสนอ "สิ่งที่เรารัก" ก็เป็นอีกวิธีที่จะนำเสนอตัวเองแบบอ้อมๆ ได้

七夕のイラスト「天の川・星空」
http://www.irasutoya.com/2012/05/blog-post_4564.html

   ส่วนข้อดีของคนอื่นๆ ที่ทั้งเพื่อนและอาจารย์ยกมาคือ "ความเป็นเอกภาพ" ค่ะ กล่าวคือการพูดเนื้อเรื่องหลักๆ เป็นหัวข้อเดียว เช่น ใครติ่งไอดอลก็พูดแต่เรื่องนั้น ใครจะพูดเรื่องอนิเมะ เรื่องเกม เรื่องการท่องเที่ยวก็พูดเป็นเรื่องๆ ไป อย่างน้อยจำชื่อไม่ได้ก็ยังมีอิมเพรสชันว่าคนๆ นี้เป็น 「アニメの人」หรือ「ゲームの人」ฯลฯ

   ตอนเขียนเราพยายามเขียนเป็นแบบสตอรี่ค่ะ คือเล่าหลายๆ เรื่องให้เขารู้จักเราในหลายๆ มุม พยายามคุมให้โทนของเรื่องไปในทางเดียวกัน (ในที่นี้ก็คือฟีลจิบชาอ่านหนังสือใต้ต้นไม้) และให้เรื่องราวต่างๆ เชื่อมโยงกัน เพราะอยู่ในที่แบบนี้เลยเป็นคนแบบนี้ เลยชอบสิ่งนี้ เลยเลือกอย่างนี้ แต่ก็ทำให้กลายเป็นเรื่องแบบ あちこち ไปหน่อย ถ้าสามารถรวบให้คนฟังสรุปในหัวได้ว่าเราเป็น「何の人」ได้ก็อาจจะดีค่ะ


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   สุดท้ายคือเรื่องชื่อเล่นค่ะ ชื่อเล่นเป็นวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยที่ญี่ปุ่นไม่มี ก็เป็นอีกจุดที่สามารถนำมา appeal ตัวเองได้ เราไม่ได้ใส่ส่วนนี้เพราะที่ไม่พอ...Σ(ノ≧ڡ≦)てへ☆ 

            Tips อาจารย์แนะนำมาคือ "การพูดซ้ำๆ" ค่ะ

   แต่จะพูดซ้ำเฉยๆ ก็ดูย้ำคิดย้ำทำกระไรอยู่ (...) ดังนั้นก็ต้องคิดให้มีศาสตร์มีศิลป์หน่อยนะคะ อย่างเช่นของเราคงจะเป็นประมาณนี้ค่ะ

   「ピムパチャラと申します。ニックネームはプリムです。プリムは、花のプリムローズからのプリムです。私の名前は長いので、プリムと呼んでください。」

   …とか。かな。

   แค่นี้ก็ย้ำไปสี่ห้ารอบแล้วนะ น่าจะพอจำได้บ้างไหมนะ (☍﹏⁰)

   ちなみに คนที่ชื่อ Prim มีสองความหมายค่ะ อาจจะหมายความว่า "เรียบร้อย" ก็ได้ แต่ของเรามาจากดอกพริมโรสค่ะ (อันเดียวกับน้องของแคทนิสใน Hunger game นั่นแล) ดอกนี้ภาษาญี่ปุ่นเรียก 桜草 หรือ 月見草 ค่ะ ถ้าลองใช้คำแรกหาจะเจอดอกสีชมพู ถ้าใช้คำหลังหาจะเจอทั้งชมพู เหลือง ขาวเลยค่ะ

   จริงๆ ดอกพริมโรสมีหลายสี แต่เท่าที่ถามจากแม่ดูเหมือนตอนตั้งชื่อแม่จะจินตนาการถึงดอกเยี่ยงนี้

http://www.nicewallpapers.net/wall/primrose-white.jpg

   覚えてくれれば、うれしいです…♡

プリム


目標 : 氷菓ศึกษา


1月27日(金)
目標 ―氷菓ศึกษา―

   แม้ตอนแรกจะตั้งใจว่าจะไม่หาเรื่องใส่ตัวและทำแค่ タスク ที่ได้รับมาเท่านั้น แต่พอได้เห็นของเพื่อนบางคนแล้วก็รู้สึกว่า "เออ อุตส่าห์ลงวิชานี้แล้วก็ลองใช้โอกาสทำอะไรให้เป็นประโยชน์หน่อยสิ!" และตัดสินใจแบบฉับพลันว่าจะกำหนดเป้าหมายของบล็อกนี้ดูบ้าง

   จริงๆ แล้วเรามีหลายเรื่องที่สนใจ ทั้งวงการอนิเมะ ไอดอล 2.5D (หรือเซย์ยูไอดอลนั่นแหละค่ะ) มังงะ และ ドラマ ถ้าจะทำทั้งหมดที่สนใจก็ดูจะ バラバラ ไปหน่อย เราเลยตัดสินใจมาตายรังที่งานอดิเรกอันดับหนึ่งตลอดกาลคือ "หนังสือ" แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังเถียงกับตัวเองไม่จบไม่สิ้นสักทีว่าจะเอา "แค่ไหน"

   ฝ่ายค้าน : จะเอาหนังสือน่ะหนังสืออะไร หัวข้อจะกว้างไปไหน วรรณกรรมโบราณไล่มายันวรรณกรรมปัจจุบัน นิตยสารล่ะ ข่าวอีกล่ะก็ไม่อ่าน อ่านแต่นิยายกับการ์ตูน

   ฝ่ายเสนอ : งั้นก็ตัดการ์ตูนออก...

   ฝ่ายค้าน : แล้วนิยายน่ะอ่านอยู่กี่เล่มกันเชียว ทั้งบ้านมีนิยายภาษาญี่ปุ่นอยู่สี่เล่ม อ่านยังไม่จบสักเล่มอีกต่างหาก

   ฝ่ายเสนอ : เอ่อ...ถ้าหาเพิ่มล่ะ...

   ฝ่ายค้าน : ว่างเหรอ

   ฝ่ายเสนอ : ...ไม่ค่ะ

   สุดท้ายก็เถียงฝ่ายค้านไม่ได้ เลยตัดสินใจเลือกหาประเด็นศึกษาจากหนังสือเล่มหนึ่งค่ะ อันได้แก่ซีรีย์ชุด 「氷菓」 หรือแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ "ปริศนาความทรงจำ" เขียนโดยอาจารย์ 米澤穂信

เล่มที่มีอยู่ที่บ้านค่ะ เวอร์ชันใต้ปกแจ็กเก็ตก็เป็นปกแบบญี่ปุ่นแหละ

   เรื่องนี้ได้ถูกนำมาทำเป็นอนิเมะแล้วเมื่อปี 2555 โดยค่ายเกียวโตอนิเมชัน (ภาพสวยมาก เซย์ยูดี สนับสนุนให้ดู)

https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/originals/67/50/d3/6750d31c305a5ac6a93bc2986bbd0426.jpg

กำลังจะได้ทำเป็นไลฟ์แอคชั่นในปีนี้ (2017) ด้วยค่ะ

   ความจริงแล้วชื่อทางการของหนังสือชุดนี้คือ 古典部シリーズ ค่ะ เพราะเป็นเรื่องราวในทุกเล่มเกี่ยวกับชมรมวรรณกรรมคลาสสิค (古典部) มีทั้งหมดห้าเล่มด้วยกัน 氷菓 เป็นชื่อของเล่มแรก แต่ด้วยความที่อนิเมะใช้ชื่อว่าเฮียวกะ เราจึงขอเรียกหนังสือชุดนี้ว่าเฮียวกะไปเลยนะคะ

https://images-na.ssl-images-amazon.com/images/I/81P80BDSVBL.jpg
   ***เพิ่มเติม***

   เล่มหกออกแล้วเจ้าข้าเอ๊ย!! *・゜゚・*:.。..。.:*・'(*゚▽゚*)'・*:.。. .。.:*・゜゚・*

   6年待ってましたーあ!!

   หลังจากรอมาหกปีก็ออกจนได้ค่าาา!!

https://images-na.ssl-images-amazon.com/images/I/81P80BDSVBL.jpg

   ***กลับเข้าเรื่อง***

   เรื่องนี้เราดูเมะก่อนค่ะ ผลก็คือชอบมากจนไปตามหาหนังสือมาอ่าน โชคดีที่สำนักพิมพ์เอนเธอร์เอามาแปลหมดทั้งห้าเล่มเลยสบายหน่อย เพราะต้นฉบับถือว่าภาษายากพอควร เราซื้อมาแค่เล่มแรกแล้วเอามาอ่านเทียบกับฉบับแปลยังแทบรากเลือดเลยค่ะ(笑)  

   แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยกหนังสือเล่มนี้ขึ้นแท่นหนังสือญี่ปุ่นในดวงใจอันดับหนึ่งเลยค่ะ เพราะอ.โยเนซาวะผูกเรื่องได้ดีจริงๆ หนังสือชุดนี้เป็นหนังสือสืบสวนค่ะ แต่จะแตกต่างกับนิยายสืบสวนเรื่องอื่นๆ ตรงที่ไม่มีคนตาย ไม่มีการก่อการร้ายหรืออะไรอย่างนั้น แต่เป็นเรื่องชวนสะกิดใจเล็กๆ น้อยๆ ที่พบได้จริงในชีวิตประจำวัน

   ทุกรายละเอียด ทุกเรื่องราวที่วางไว้แทบจะไม่มีจุดไหนสูญเปล่า ทุกประโยคสามารถเอามาใช้ได้หมดแม้กระทั่งปัจฉิมลิขิตของเล่มก่อนหน้า! และถึงแม้เนื้อหาจะอัดแน่นขนาดนั้นแต่อ.ก็ยังสามารถใส่อารมณ์ขันอันล้ำลึกและเสน่ห์บางอย่างที่ทำให้ติดตามได้ตลอดเรื่อง

   ด้วยเหตุนี้เราจึงเลือกหนังสือชุดนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นศึกษาเป็นหลักค่ะ โดยจะนำจุดที่น่าสนใจในเรื่องมาค้นคว้าเพิ่มเติมลงในบล็อกนี้ เช่น ไวยากรณ์ที่สงสัย วัฒนธรรมที่สนใจ เป็นต้น อาจจะมีจากหนังสือเรื่องอื่นแทรกๆ เข้ามาบ้างตามโอกาส แต่ยังไงก็น่าจะดึงมาจากเรื่องนี้เป็นหลักค่ะ

「私、気になります!」ー千反田えるー

http://cdn-ak.f.st-hatena.com/images/fotolife/p/pema/20120531/20120531083720.gif


プリム


วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

タスク1 ―自己紹介―


1月14日(土)
タスク1 ―自己紹介―

   สิ่งที่ต้องมีแทบจะทุกครั้งเมื่อเริ่มคาบแรกคือการแนะนำตัว เพียงแต่ไม่ใช่ทุกคาบที่จะให้อัดเสียงแล้วเอามาวิเคราะห์อย่างนี้ นี่จึงเป็นครั้งแรกที่ได้มาคิดเกี่ยวกับการแนะนำตัวอย่างจริงๆ จังๆ และนี่คือผลลัพธ์ค่ะ
   
   ถอดเสียงที่อัดไว้ : こんにちは。初めまして。ピムパチャラと申します。今は、タイの猫について研究しています。ストレス解消は、料理を作ったりお菓子を作ったりしています。よろしくお願いします。

   …何なんだこれ。。゚(゚´Д`゚)゚。

   ไม่เคยรู้สึกว่าการแนะนำตัวเป็นเรื่องที่ยากมาก่อน เพราะเป็นแค่การพูดเรื่องของตัวเอง ซึ่งปกติก็จะพูดแค่ชื่อแล้วค่อยไปทำความรู้จักอื่นๆ ในภายหลัง...แต่ในบางโอกาสเราอาจจะไม่มี 余裕 ขนาดนั้น บางครั้งเราอาจมีโอกาสเดียวในการสร้าง First impression ให้เขาจำเราได้

   ซึ่งเราก็เพิ่งมาตระหนักว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย (T▽T)

   อาจารย์ถามหลังให้ทดลองแนะนำตัวในห้องว่าจำอะไรที่คนอื่นพูดได้บ้าง สิ่งที่เพื่อนจำของเราได้คือทำอาหาร แต่ไม่มีใครสักคนจำได้ว่าเราทำเคงคิวเรื่องอะไร เป็นเพราะเราไม่ได้เน้นตอนพูดเคงคิว ยิ่งไม่มีรายละเอียดอะไรต่อท้ายยิ่งจับความไม่ทัน ถ้าแค่ฟังผ่านๆ ร้อยทั้งร้อยคงไม่มีใครจำได้

   คิดดูสิว่าถ้านี่เป็นการแนะนำตัวในการประชุมแลกเปลี่ยนงานวิจัย แล้วไม่มีใครจำวิจัยของเราได้ มันจะเป็นความล้มเหลวแค่ไหน

   แล้วควรทำยังไง
   
   มีคนในกลุ่มสมมติว่าทำเคงคิวเรื่อง 自殺 พวกเราหัวเราะครืนแทบจะพร้อมกัน และแน่นอนว่าทุกคนจำหัวข้อเคงคิวของคนนี้ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วเราไม่สามารถจะทำให้หัวข้อเคงคิว 目立つ อย่างนี้ได้เสมอไป ดังนั้นสิ่งที่ทำได้คือการพูดให้ชัดๆ และอธิบายเพิ่มเติมสักเล็กน้อยให้ผู้ฟังมีเวลาคิดตามและจดจำ

   อีกอย่างที่อาจารย์ชี้ประเด็นออกมาคือการสร้าง つながり ของบทสนทนาของเรากับคนอื่น อย่างในวิดีโอตัวอย่างตอนที่มีการอ้างถึงคนก่อนหน้าว่า 「結構あがっていたんですけど、私も…」อย่างน้อยก็ต้องมีการหันกลับไปมองหน้ากันอีกครั้งแน่ๆ ล่ะ (ฮา) คิดว่าถ้าสามารถทำข้อนี้ได้ก็น่าจะดี

   สำหรับการใช้ภาษา เรื่องหนึ่งที่ไม่เคยสังเกตมาก่อนคือ คนญี่ปุ่นมักจะพูดหัวข้อค่อนข้างชัด เช่น 専門領域は ขณะที่คนไทยดูจะชอบการหลากคำ เปลี่ยนเป็น 研究しているのは บ้างล่ะ …について研究しています บ้างล่ะ ถึงจะไม่ผิดอะไร แต่ถ้ายกหัวข้อขึ้นมาให้ชัดหน่อยอาจจะดูญี่ปุ่นโป้ยขึ้นบ้าง (?) หรือเปล่านะ

   นอกจากนี้ แม้แต่รายละเอียดปลีกย่อยก็มีเรื่องน่าสนใจเหมือนกัน คือคนญี่ปุ่นจะไม่ใช้ 今 ขณะที่คนไทยพูดกันติดปาก เราเองก็หลุดพูดออกไปเหมือนกัน และการปิดท้ายด้วย ありがとうございます นั้นไม่มีในของญี่ปุ่น คราวนี้ไม่พลาดก็จริง แต่ตอนที่ตื่นเต้นหรือคิดไม่ออกก็น่าจะหลุดปากออกไปได้ไม่ยากเลย ก็เป็นจุดที่ควรระวัง

   ในห้องไม่มีเวลาพูดแก้ แต่คิดว่าถ้ามีโอกาสพูดอีกครั้งคงพูดประมาณนี้

   こんにちは。(ตรงนี้เว้นจังหวะให้ชาวบ้านตอบกลับก็เป็นกลยุทธ์ที่ดี) 初めまして。ピムパチャラと申します。研究領域は、タイでのよく見かける、あるいは人気がある猫はどのような種類があるかという研究をしています。ストレス解消は、料理をしたりお菓子を作ったりすることです。よろしくお願いします。

   よくなったのかなこれ…

   แค่การแนะนำตัวที่ไม่เคยคิดว่าต้องคิดอะไรมากยังเขียนออกมาได้ยืดยาวขนาดนี้

    まだまだだね私…(ó﹏ò。)

   でもこれからももっと頑張ります!

―プリムー


はじめに


1月14日
ーはじめにー

   ปกติเป็นคนชอบเขียนไดอารีอยู่แล้ว แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ได้ "การบ้าน" มาเป็นการเขียนบล็อก จากที่เคยแอบเขียนแบบเงียบๆ แล้วต้องมาเขียนให้คนอื่นนอกจากตัวเองอ่านแบบนี้ก็เขินอยู่หน่อยๆ เหมือนกัน

   บล็อกนี้เป็นบล็อกเฉพาะกิจที่เปิดขึ้นเพื่อประกอบวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์หรือที่พวกเรามักเรียกว่า App jp ling ที่ตอนแรกคิดว่าเป็นวิชาท่องจำเหมือนวิชาภาษาศาสตร์เบื้องต้นที่เรียนเมื่อเทอมที่แล้ว แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย เป็นวิชาภาคปฏิบัติสุดๆ ที่ทำให้เราต้องแวะเวียนมาที่บล็อกนี้ทุกอาทิตย์

   ถ้าเป็นพี่ปีที่แล้ว บล็อกแรกจะเป็น 目標 ว่ามีวัตถุประสงค์จะทำอะไร แต่ปีนี้ไม่ใช่อย่างนั้นแล้ว เราจะต้องเอา タスク ที่ทำในห้องและเขียน 内省 ต่อยอด เห็นบางคนเขียนแบบขีดเส้นใต้แยกออกมาเป็นหัวข้อๆ เลย แต่เราไม่ถนัดแบบนั้นเพราะชินกับการเขียนไดอารี่มาตลอด เลยคิดว่าจะไม่เขียนเป็นหัวข้อชัดๆ แต่จะออกแนววิเคราะห์ไปเรื่อยๆ มากกว่า

   ถึงจะเห็นลางหายนะอยู่รางๆ แต่ด้วยความที่ชอบเขียนเป็นทุนเดิมอยู่พอสมควร ก็ (คิดว่า) จะตั้งใจทำงานทุกงานและหวังว่าจะสนุกกับมันค่ะ

よろしくお願いします!(*´▽`*)

ープリムー