วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

タスク1 ―自己紹介―


1月14日(土)
タスク1 ―自己紹介―

   สิ่งที่ต้องมีแทบจะทุกครั้งเมื่อเริ่มคาบแรกคือการแนะนำตัว เพียงแต่ไม่ใช่ทุกคาบที่จะให้อัดเสียงแล้วเอามาวิเคราะห์อย่างนี้ นี่จึงเป็นครั้งแรกที่ได้มาคิดเกี่ยวกับการแนะนำตัวอย่างจริงๆ จังๆ และนี่คือผลลัพธ์ค่ะ
   
   ถอดเสียงที่อัดไว้ : こんにちは。初めまして。ピムパチャラと申します。今は、タイの猫について研究しています。ストレス解消は、料理を作ったりお菓子を作ったりしています。よろしくお願いします。

   …何なんだこれ。。゚(゚´Д`゚)゚。

   ไม่เคยรู้สึกว่าการแนะนำตัวเป็นเรื่องที่ยากมาก่อน เพราะเป็นแค่การพูดเรื่องของตัวเอง ซึ่งปกติก็จะพูดแค่ชื่อแล้วค่อยไปทำความรู้จักอื่นๆ ในภายหลัง...แต่ในบางโอกาสเราอาจจะไม่มี 余裕 ขนาดนั้น บางครั้งเราอาจมีโอกาสเดียวในการสร้าง First impression ให้เขาจำเราได้

   ซึ่งเราก็เพิ่งมาตระหนักว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย (T▽T)

   อาจารย์ถามหลังให้ทดลองแนะนำตัวในห้องว่าจำอะไรที่คนอื่นพูดได้บ้าง สิ่งที่เพื่อนจำของเราได้คือทำอาหาร แต่ไม่มีใครสักคนจำได้ว่าเราทำเคงคิวเรื่องอะไร เป็นเพราะเราไม่ได้เน้นตอนพูดเคงคิว ยิ่งไม่มีรายละเอียดอะไรต่อท้ายยิ่งจับความไม่ทัน ถ้าแค่ฟังผ่านๆ ร้อยทั้งร้อยคงไม่มีใครจำได้

   คิดดูสิว่าถ้านี่เป็นการแนะนำตัวในการประชุมแลกเปลี่ยนงานวิจัย แล้วไม่มีใครจำวิจัยของเราได้ มันจะเป็นความล้มเหลวแค่ไหน

   แล้วควรทำยังไง
   
   มีคนในกลุ่มสมมติว่าทำเคงคิวเรื่อง 自殺 พวกเราหัวเราะครืนแทบจะพร้อมกัน และแน่นอนว่าทุกคนจำหัวข้อเคงคิวของคนนี้ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วเราไม่สามารถจะทำให้หัวข้อเคงคิว 目立つ อย่างนี้ได้เสมอไป ดังนั้นสิ่งที่ทำได้คือการพูดให้ชัดๆ และอธิบายเพิ่มเติมสักเล็กน้อยให้ผู้ฟังมีเวลาคิดตามและจดจำ

   อีกอย่างที่อาจารย์ชี้ประเด็นออกมาคือการสร้าง つながり ของบทสนทนาของเรากับคนอื่น อย่างในวิดีโอตัวอย่างตอนที่มีการอ้างถึงคนก่อนหน้าว่า 「結構あがっていたんですけど、私も…」อย่างน้อยก็ต้องมีการหันกลับไปมองหน้ากันอีกครั้งแน่ๆ ล่ะ (ฮา) คิดว่าถ้าสามารถทำข้อนี้ได้ก็น่าจะดี

   สำหรับการใช้ภาษา เรื่องหนึ่งที่ไม่เคยสังเกตมาก่อนคือ คนญี่ปุ่นมักจะพูดหัวข้อค่อนข้างชัด เช่น 専門領域は ขณะที่คนไทยดูจะชอบการหลากคำ เปลี่ยนเป็น 研究しているのは บ้างล่ะ …について研究しています บ้างล่ะ ถึงจะไม่ผิดอะไร แต่ถ้ายกหัวข้อขึ้นมาให้ชัดหน่อยอาจจะดูญี่ปุ่นโป้ยขึ้นบ้าง (?) หรือเปล่านะ

   นอกจากนี้ แม้แต่รายละเอียดปลีกย่อยก็มีเรื่องน่าสนใจเหมือนกัน คือคนญี่ปุ่นจะไม่ใช้ 今 ขณะที่คนไทยพูดกันติดปาก เราเองก็หลุดพูดออกไปเหมือนกัน และการปิดท้ายด้วย ありがとうございます นั้นไม่มีในของญี่ปุ่น คราวนี้ไม่พลาดก็จริง แต่ตอนที่ตื่นเต้นหรือคิดไม่ออกก็น่าจะหลุดปากออกไปได้ไม่ยากเลย ก็เป็นจุดที่ควรระวัง

   ในห้องไม่มีเวลาพูดแก้ แต่คิดว่าถ้ามีโอกาสพูดอีกครั้งคงพูดประมาณนี้

   こんにちは。(ตรงนี้เว้นจังหวะให้ชาวบ้านตอบกลับก็เป็นกลยุทธ์ที่ดี) 初めまして。ピムパチャラと申します。研究領域は、タイでのよく見かける、あるいは人気がある猫はどのような種類があるかという研究をしています。ストレス解消は、料理をしたりお菓子を作ったりすることです。よろしくお願いします。

   よくなったのかなこれ…

   แค่การแนะนำตัวที่ไม่เคยคิดว่าต้องคิดอะไรมากยังเขียนออกมาได้ยืดยาวขนาดนี้

    まだまだだね私…(ó﹏ò。)

   でもこれからももっと頑張ります!

―プリムー


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น