วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2560

タスク 5.1ーあいづちー


4月24日(月)
タスク 5.1ーあいづちー

   อัพบล็อกรัวๆ เพราะอาทิตย์หน้าไฟนอลแล้ว ไม่ได้ดองงานนะ แต่เทอมนี้งานเทเข้ามาวันต่อวันจริงๆ เสร็จงานนี้ก็มีงานนี้ต่อ ทำเท่าไหร่ก็ไม่หมด เรียนกี่คาบต่ออาทิตย์ก็มีจำนวนงานเท่านั้นแหละ ฮือ เทอมที่แล้วยกให้เป็นเทอมแห่ง "การพรีเซ้นต์" ส่วนเทอมนี้ขอยกให้เป็นเทอมแห่ง "การเขียน" เลย เขียนกันมือหงิก


   อารมภบทชักยาว เข้าเรื่องดีกว่าค่ะ ต่อเนื่องจากคราวที่แล้ว ครั้งนี้ก็ยังอยู่ในเรื่องของ あいづち ค่ะ ตั้งแต่คาบที่แล้วก็เริ่มจากลองพูดกันก่อน ตามด้วยไปฟังของคนญี่ปุ่น แล้วค่อยกลับมาพูดใหม่อีกทีในคาบนี้

   ความเปลี่ยนแปลงน่ะเหรอ

   ...มี...มั้ยนะ...
   
https://img.gifmagazine.net/gifmagazine/images/500728/original.gif?1439694644

   การพูดครั้งที่สองนี้เรา 意識 เรื่องการแทรกให้น้อยลงค่ะ เพราะคราวที่แล้วรู้สึกจะ あいづち เยอะไปหน่อย สรุปการตอบรับในฐานะผู้ฟังออกมาดังนี้ค่ะ

   ครั้งแรก (赤ちゃん) : うん 7 ครั้ง ・ああ 2 ครั้ง・ーん 1 ครั้ง・へー 1 ครั้ง・そうか 1 ครั้ง・ทวนคำ 3 ครั้ง

   ครั้งที่สอง (飛行機) : うん 5 ครั้ง・うーん 1 ครั้ง・え!? 2 ครั้ง・แสดงความรู้สึก 1 ครั้ง (よかったね、乗れなくて)

   ดังนั้นบล็อกนี้เลยจะลองสรุปข้อดีข้อเสียของการใช้ あいづち ของตัวเองค่ะ

   ① คำที่ใช้และสถานการณ์

   อย่างที่บอกในบล็อกที่แล้วว่าเราติดคำว่า うん มากกว่าคำอื่น นับเป็นสักหกสิบเปอร์เซ็นต์ได้ แต่ก็มีคำอื่นๆ ที่ใช้ลดหลั่นกันลงมาเหมือนกันค่ะ เรียงลำดับตามนี้ค่ะ

   แค่ตอบรับเฉยๆ : うん(うんうん)→ うー(เป็นเสียงอือในภาษาไทยค่ะ) → ああ → ーん (แค่ส่งเสียงในคอ) หรือถ้ากับอาจารย์จะใช้ はい ลูกเดียว (ไม่ใช้ ええ ด้วย) ทั้งหมดนี้มักมาคู่กับการพยักหน้า ไม่ก็แค่พยักหน้าเฉยๆ หรือหัวเราะ

   แสดงความเห็นด้วย : うん→ ね →そうだね → หัวเราะ

   แสดงความตกใจ・แปลกใจ : へー → えっ?・ええーっ! → ホー → หัวเราะ

   แสดงความคิดเห็น : よかったね → 大変だよね → そっか ฯลฯ อันนี้ขึ้นอยู่กับบริบทเลยค่ะ

   กระตุ้นให้พูดต่อ・ให้กำลังใจ : うん → 何?→ で? → ทวนคำซ้ำ 

   จะสังเกตว่า うん ของเราใช้ในหลายความหมายมากๆ เลยไม่แปลกที่จะเป็นคำที่ติดปากที่สุด เรื่อง シフト ไม่ค่อยมีปัญหานะ แล้วแต่ว่าคุยกับใคร ระดับภาษาก็จะเปลี่ยนอัตโนมัติเอง

   อีกข้อหนึ่งที่พบคือเราจัดว่าการ "หัวเราะ" เป็นหนึ่งใน あいづち หลายประเภทเลยค่ะ เห็นด้วยก็หัวเราะ ตกใจก็หัวเราะ เพราะบางทีก็ไม่รู้จะพูดอะไร หัวเราะแทนแล้วกัน

   ส่วนอันที่ไม่ค่อยได้ใช้คือการตอบรับหลัง ね・よ เพราะคุยกับเพื่อนด้วยกันเอง แค่แต่งประโยคก็ยากแล้ว ไม่ค่อยมีใครถาม ね・よ มาให้ตอบรับสักเท่าไหร่ แต่พอมาคิดดูดีๆ ตอนที่คุยกับเพื่อนชาวญี่ปุ่น เขาก็พูดๆ ไปแล้ว ね กับเราเป็นพักๆ เหมือนกัน ก็เป็นอีกหนึ่งความใส่ใจให้อีกฝ่ายเข้าร่วมบทสนทนา ไม่ใช่พูดอยู่ฝ่ายเดียว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเราก็ตอบด้วย うん・うーん เหมือนเดิมนั่นแหละ5555

https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/originals/fa/23/
49/fa2349f30bbf9d259dc313d5a4021d89.gif

   ② จังหวะและความถี่

   อันนี้แหละค่ะที่คิดว่าใช้ต่างจากเจ้าของภาษา อย่างที่เขียนไปในคราวก่อนแล้วเหมือนกันว่าเรามักจะ あいづち ตอนที่รอเพื่อนคิด ซึ่งมักจะเป็นหลังคำช่วยหรือการเว้นวรรคใดๆ ก็ตามเลย ทำให้เราจะ うん ค่อนข้างบ่อย

   ขณะที่คนญี่ปุ่นจะส่งเสียงตอบรับหลังช่วงวรรคประโยค (หลัง「、」) หรือไม่ก็หลังจากที่จบประโยคไปแล้ว อย่างที่ฟังคราวก่อนพิธีกรผู้หญิงหัวเราะบ่อยมากและขำแรงมาก แต่ก็ไม่ได้ขัดจังหวะคนเล่าแต่อย่างใดเพราะรอให้เขาพูดจบประโยคไปก่อน

   ก็คิดว่าตรงนี้ต้องปรับปรุงให้ตอบรับ "น้อยลง" คือรอให้ถึงจังหวะพักหายใจ ตอนจบประโยค หรือจังหวะที่เขาต้องการการตอบรับจากเราน่าจะดีกว่า (แต่โดยส่วนตัวคิดว่าที่ あいづち เยอะเพราะด้วยความที่ไม่ใช่ภาษาแม่ เลยพยายามตอบรับให้คนฟังรู้ว่า "เข้าใจนะ พูดต่อได้เลย" ก็คงต้องบาลานซ์ให้ดี ไม่มากไปไม่น้อยไป)




   ③ อวจนะภาษา

   คนญี่ปุ่นจะสังเกตปฏิกิริยาของคนฟังเสมอ ดังนั้นเวลาพูดจะมองเราไปด้วย ขณะที่เราเป็นพวก "ไม่ค่อยสบตาคน" ยิ่งเวลาต้องใช้ความคิดแล้วยิ่งหลบตา มองเพดาน มองฟ้า มองดิน มองทุกอย่างที่ไม่ใช่ตาเขา แต่ก็จะกลับมามองหน้าเขาตลอดนะ เพียงแค่ไม่ได้ "จ้องตา" มากเท่านั้นเอง (คือตวัดตากลับมาดูให้เห็นสีหน้าอย่างเดียว)

   ตอนที่โดนจ้องเรารู้สึกสองแบบค่ะ คือถ้าไม่รู้สึกประทับใจว่าเขาตั้งใจฟังมากก็เขินไปเลย ดังนั้นเลยคิดว่าจะเอามา adapt แค่นิดหน่อย คือจะไม่จ้องหน้าตลอดเวลา แต่พยายามสบตาให้มากขึ้น


https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/originals/5c/da/
c5/5cdac5fb29d889928c19ea10eaeb4d16.gif

   ④ ความรู้สึกที่ส่งออกมา

   เวลาพูดอะไรกับใครเราจะรู้สึกใช่ไหมคะว่าคนนี้ฟังเราอยู่หรือเปล่า คนที่ตอบอืมๆ ตลอดแต่รู้เหมือนฟังหูซ้ายทะลุหูขวา หรือคนที่มองเราตลอดแต่เหมือนเหม่ออยู่มากกว่า หรือคนที่หัวเราะและตอบรับมากจนเหมือนเสแสร้งก็มีใช่ไหมคะ ดังนั้นไม่ใช่แค่ 意識 ใน "สิ่งที่ควรทำ" ที่เขียนไว้ข้างต้นเท่านั้น แต่ "ความจริงใจ" ก็สำคัญค่ะ

   ยอมรับเลยว่าเป็นคนหน้าง่วง ไม่ได้ง่วงเลยหน้าก็เพื่อนก็ยังทักว่าไม่ได้นอนเหรอ ยิ่งตอนง่วงจริงบ้าง ง่วงม้ากมากบ้าง ถึงจะตั้งใจฟังแต่ก็ยังแอบรู้สึกว่าหน้าเหนื่อยไปรึเปล่า เขาจะคิดว่าเราเบื่อหรือเปล่า จุดนี้ก็คงต้องพยายามนิดหนึ่งล่ะค่ะ ทำตัวให้แจ่มใสขึ้น ให้เขารู้สึกถึงความตั้งใจของเราให้ได้ (เท่าที่ทำได้น่ะนะ...)

http://i.imgur.com/z56yK.gif

   และบางที 作り笑い ก็จำเป็นค่ะ อ่านๆ มาแล้วอาจจะ อ้าว...นี่พูดเรื่องความจริงใจอยู่ไม่ใช่เรอะ แกล้งหัวเราะนี่มันจริงใจตรงไหน เราคิดว่าเราไม่มีทางสนใจทุกเรื่องที่ทุกคนพูดได้หรอก ก็อย่าตัดรอน แต่ก็อย่าถึงขั้นเสแสร้งค่ะ สร้างออร่าความเป็นมิตรเล็กๆ ขึ้นมาให้เขาไม่รู้สึกแย่ที่คุยกับเราก็พอ (แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ เขาก็คงรู้เองแหละ...)

   อืม...เหมือนจะมีสาระ แต่ก็เป็นแค่ความคิดเห็นและการวิเคราะห์ตัวเองของเราค่ะ แต่ละคนก็มีสไตล์การพูดที่ต่างกันไป มันไม่มีแบบแผนตายตัวหรอกว่า あいづち ที่ดีที่สุดคือคำไหน จังหวะไหน บ่อยแค่ไหน ทั้งคนที่ あいづち上手 ก็มี ทั้งคนที่พูดน้อย ไม่ค่อยมองหน้า แต่เรารู้สึกว่าเขาตั้งใจฟังก็มี ก็ขึ้นอยู่กับบุคลิกของแต่ละคนและคู่สนทนาในสถานการณ์นั้นๆ ค่ะ



プリム


วันเสาร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2560

氷菓ศึกษา (7) ー生き雛ー



4月23日(日)
氷菓ศึกษา (7) ー生き雛ー

   ถ้าพูดถึงเดือนเมษายน ในขณะที่ประเทศเรามีเทศกาลสำคัญที่ทุกคนเฝ้ารอ (วันหยุดยาว) อย่างสงกรานต์ ญี่ปุ่นก็มีฮินะมัทสึริค่ะ

   หืม?



待って待って待って!
http://i.imgur.com/BwUBhlZ.jpg

   เดี๋ยวๆ ฮินะมัทสึริมันวันที่ 3 เดือน 3 ไม่ใช่เหรอ นี่มันเดือน 4 แล้วนะ

   ใช่ค่ะ แต่ญี่ปุ่นยังมีฮินะมัทสึริที่ "จัดเลทไปเดือนหนึ่ง" อยู่ ซึ่งก็คือเทศกาล 生き雛 ค่ะ เราก็ไม่เคยรู้มาก่อนจนมาดูเฮียวกะนี่แหละ รายละเอียดจะเป็นยังไงไปดูตัวบทกันเลยค่ะ


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   千反田:明後日、何か予定はありますか?



   奉太郎いや

   千反田:そうですか。良かった



   千反田:あの、折木さん。いきなりでご迷惑なのは重々承知なんですが、どうか、傘を持ってくれませんか

   受話器を握ったまま、思わず、首を傾けてしまった

   千反田:わたしの家の近くの神社で、雛祭りをやるんです。お内裏さま、お雛さま、右大臣左大臣、三人官女が揃います。昔は五人囃子もいたそうですが、最近は子供が少なくなって、減らされました

   なぜ子供の数が減ると雛飾りの五人囃子が省略されるのか、まったくわからない。しかしそれよりも根本的な矛盾がある。いまは四月で、雛祭りは三月



   奉太郎一ヶ月遅くないか?

   千反田:あ、はい、そうです。旧暦あわせですから





   奉太郎明後日だったな。雛飾りの横で、立っていればいいんだろう?

   千反田:ええ、一緒に歩いてもらいます

   奉太郎歩くって、雛と?

   千反田:…そうです

   奉太郎雛が歩くのか

   千反田:そうですよ

   当然のように受け答えする千反田だが、なぜかだんだんと声が小さくなる。俺が「なんで雛が」と言いかけたところで、たまりかねたようにこう言った



   千反田:確かにお雛さまですが、あまり雛、雛と言わないでください。わたしだって、少しは恥ずかしいんですから

   奉太郎まさか、雛って



   千反田:…あ、もうしかして折木さん、何も知らなかったんですか?

   水梨神社では、毎年旧暦の雛祭りに、女の子が着飾って『生き雛』となるんです『生き雛』を先頭に行列を作り、集落を巡ります。水梨神社の生き雛まつりといえばそれなりには有名だと思っていたので、折木さんもてっきりご存知かと…

   ええ。中学校に上がってから、お雛さまの役目は毎年、わたしが仰せつかっています

*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

   โดยสรุปก็คือ ทุกปีศาลเจ้ามิซึนาชิจะมีการจัดงานวันเด็กผู้หญิงโดยยึดวันที่ตามปฏิทินจันทรคติ โดยจะให้เด็กผู้หญิงแต่งตัวเป็น "ตุ๊กตามีชีวิต" แล้วเดินขบวนวนรอบๆ ประมาณ 40 นาทีค่ะ

   ก่อนจะพูดถึงเทศกาลนี้ ขอพูดถึงแท่นวางตุ๊กตาวันเด็กผู้หญิงแบบปกติก่อนค่ะ 

   雛祭り จัดขึ้นเพื่ออธิษฐานให้ลูกสาวมีความสุข ขจัดพลังชั่วร้ายออกไปจากชีวิตผ่านตุ๊กตา ให้ประสบแต่ความสำเร็จ สุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีรูปร่างหน้าสวยงาม

   ในวันเทศกาล ชาวญี่ปุ่นจะนำตุ๊กตาฮินะ(雛人形)มาตั้งโชว์ไว้บนชั้น จำนวนชั้นจะมากหรือน้อยเป็นการแสดงถึงฐานะของแต่ละบ้าน ซึ่งระดับจะสูงสุดที่ 7 ขั้น โดยทั่วไปตุ๊กตาที่นำมาวางในหนึ่งเซทจะมีประมาณ 15 ตัว

   เริ่มจากชั้นบนสุดคือตุ๊กตาเจ้าชาย (お内裏さま)และตุ๊กตาเจ้าหญิง(雛さま)โดยจะวางเจ้าหญิงไว้ทางซ้ายของเจ้าชาย ชั้นต่อมาเป็นชั้นของสามนางกำนัล(三人官女)ถัดมาเป็นนักดนตรีห้าคน (五人囃子)ตามด้วยเสนาบดีฝ่ายขวาและซ้าย(右大臣・左大臣)และชั้นที่ห้าคือคนรับใช้สามคน(仕丁)นอกจากนั้นก็จะประดับด้วยกิ่งต้นท้อ ฮิชิโมจิ(菱餅)สาเกขาว และชิราชิซูชิ(ちらし寿司)
   
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/d/d9/Hina_matsuri_display.jpg
   แบบนี้ค่ะ

   สำหรับเทศกาล 生き雛 ก็จะเปลี่ยนจากตุ๊กตาเหล่านี้มาเป็นคนจริงๆ โดยให้ใส่ชุดเหมือนกับตุ๊กตาค่ะ



   คนที่มารับบทเป็นเจ้าชายคือรุ่นพี่อิริสึ ที่ได้พูดถึงไปในตอน お茶 ค่ะ ถึงแม้จะเป็นบทผู้ชาย แต่ตุ๊กตาตัวหลักในขบวนนี้จะใช้ผู้หญิงล้วนค่ะ

   แล้วก็มาถึงคนที่ทำให้โอทาโร่ทำหน้าแบบนี้



   แน่นอนว่าคือเจ้าหญิงหรือจิทันดะนั่นแหละค่ะ จิทันดะปรากฏตัวในชุดจูนิโตเอะเต็มยศ ด้านนอกสุดเป็นสีส้ม ถัดไปด้านในเป็นสีชมพู ฟ้า เหลือง ขาวไปเรื่อยๆ สิบสองชั้น



   หลังจากนั้นภาพทุกอย่างก็เบลอและกลายเป็นสโลว์โมชั่นด้วยความตกอยู่ในภวังค์ของโฮทาโร่ แต่อยากจะบ่นเกียวอนิมากว่ามันปวดตานะ!




   ส่วนภาพบรรยากาศของจริงเป็นแบบนี้ค่ะ


http://minashijinjya.sakura.ne.jp/home/wp-content/uploads/2014/05/ce65ad1d4b94099aa3146780356be6ae.jpg

http://www.ja-hida.or.jp/season/img/spring_04_05.jpg

http://image.photohito.k-img.com/uploads/photo51/user50264/7/4/74feda5e494
ce63e2f70f7adc89ead3e/74feda5e494ce63e2f70f7adc89ead3e_l.jpg
http://www.takayama-dp.com/live/gallery/ikibinamatsuri01.jpg

   เทศกาลนี้จัดขึ้นในสมัยโชวะที่อุตสาหกรรมผ้าไหมรุ่งเรืองค่ะ เป็นการเฉลิมฉลองของชาวเลี้ยงไหมและอวยพรให้ผู้หญิงมีความสุข โดยจัดหลังวันเด็กผู้หญิงไปเดือนหนึ่งเพื่อเลี่ยงอากาศหนาว พอหลังสงครามโลกอุตสาหกรรมผ้าไหมได้ลดบทบาทลงไปมาก เทศกาลนี้จึงเป็นตัวโปรโมทและช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมผ้าไหมค่ะ ตอนจบของเทศกาลจะมีการโยนเค้กข้าว และอวยพรให้การเพาะปลูกอุดมสมบูรณ์ค่ะ ซึ่งก็ยังจัดอยู่จนถึงปัจจุบัน ปีนี้ก็เพิ่งผ่านไปหมาดๆ นี้เอง



   อนิเมะทำออกมาสวยมากและใกล้เคียงกับของจริงมากค่ะ ใครสนใจก็ลองไปดูกันได้นะคะ (ตอนที่ 22 ค่ะ)



プリム



วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

タスク 5 ーいい聞き手とは?ー



4月17日(月)
タスク 5 ーいい聞き手とは?ー

   หยุดยาวสงกรานต์ที่ผ่านมาไปเที่ยวไหนกันบ้างหรือเปล่าคะ หลายๆ คนไปเที่ยวบ้างเยี่ยมญาติบ้าง แต่ก็มีเพื่อนคนหนึ่งบอกว่า "...พอดูงานแล้ว...น้ำว่าน้ำไม่ไปเที่ยวก็ได้" (พี่น้ำ, 2560) เราไปทำบุญแค่วันเดียว ที่เหลือก็หมกตัวปั่นงานอยู่กับบ้านลูกเดียวเลยค่ะ(苦笑)


   และแล้วก็ถึงวันสุดท้ายของวันหยุดสงกรานต์แล้วค่ะ




   ง..งาน...ยังเหลือเป็นกองเลย

   อะแฮ่ม เข้าเรื่องค่ะเข้าเรื่อง บล็อกคราวนี้เป็นเรื่องของ "การฟัง" ค่ะ สำหรับไทยและหลายๆ ประเทศแล้ว การฟังที่ดีมักจะหมายถึงการตั้งใจฟังอยู่เงียบๆ รอให้ผู้พูดพูดจนจบโดยไม่ขัดจังหวะ ถ้ายิ่งอื้อๆ อ้าๆ บ่อยเข้าจะยิ่งเหมือนไปเร่งเขาพูด แต่สำหรับญี่ปุ่นแล้วไม่ใช่อย่างนั้น

   ตอนที่ได้ยินคนญี่ปุ่นคุยกันครั้งแรก ความรู้สึกแรกเลยคือ 「うるさいなあ…」

   เคยได้ยินคนอีสานคุยกันไหมคะ คนอีสานจะแย่งกันพูดเหมือนทะเลาะกัน จะมีการส่งเสียง "ฮื่อ อื้อ อื้ม" อยู่บ่อยๆ จะว่าไปก็คล้ายคนญี่ปุ่นอยู่เหมือนกัน (แต่อีสานเราค่อนข้างกระโชกโฮกฮากกว่าเยอะ...)

   สำหรับคนญี่ปุ่นแล้ว การส่งเสียงตอบรับหรือ あいづち เป็นการแสดงออกให้รู้ว่าเราตั้งใจฟังเขาอยู่นะ เป็นมารยาทอย่างหนึ่งเลย

   เคยเจอวิดีโอหนึ่งค่ะ เป็นของวง 乃木坂46 ที่ให้เมมเบอร์พูดถึงเมมเบอร์อีกคน วิดีโอนี้เป็นของ 高山一美 ที่พูดถึง 斎藤飛鳥 ค่ะ



   วิดีโออาจจะยาวสักหน่อย ดูตรง 1.03-1.23 ค่ะ คาซึมิพูดถึงข้อดีของอาสึกะว่า "เป็นคนที่ตั้งใจฟังเรื่องที่คนอื่นพูดและคอยหัวเราะอยู่เสมอ" เราฟังตรงนี้แล้วแปลกใจนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่เมมเบอร์จะพูดถึงเมมเบอร์อีกคนว่าใจดี เอาใจใส่ มีความพยายาม อะไรประมาณนั้น แต่สิ่งที่คาซึมิชมอาสึกะคือ "การตั้งใจฟังคนอื่น"

   ความรู้สึกแวบแรกคือเหมือนมันเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก แต่พอมาคิดดีๆ คนที่ตั้งใจฟังเรื่องของเรา พยักหน้าและหัวเราะให้กับสิ่งที่เราพูดก็เป็นคนน่ารักจริงๆ นั่นแหละ

   หลังจากวิดีโอจบ (หลัง 2.30) คนที่พากย์เสียงคุยกันต่อก็มีการใช้ あいづち ค่ะ555

   พอเรียนๆ ไปเรื่อยๆ รู้ตัวอีกทีเราเองก็ติด あいづち มาโดยไม่รู้ตัวซะแล้ว เพราะอยู่กลุ่มเดียวกับเพื่อนที่ あいづち เก่งมาก อ.ถึงกับออกปากในคาบคอนเวอร์ที่ให้ฝึกว่า 「あそこのグループあいづちすごくうまい」

   เราเป็นคนติดคำว่า うん ค่ะ เพราะออกเสียงง่ายสุด ไม่ต้องอ้าปากก็ได้ ปกติเราจะส่งเสียง あいづち เวลาที่คู่สนทนาเว้นช่วง ซึ่งด้วยความที่ยังอยู่ในช่วงของ "การเรียนรู้" การเว้นวรรคของฝ่ายตรงข้ามจึงมักจะเป็นตอนที่ "คิดคำไม่ออก" เช่นหลังคำช่วย หลัง~て เราเลยส่งเสียงออกไปเป็นการให้กำลังใจ คนไหนคิดบ่อยหน่อยเราก็จะ うん ถี่ตามไปด้วย

   ส่วนเวลาคุยกับคนญี่ปุ่นที่พูดคล่องปรื๋อ あいづち ของเรามักจะเป็น うん・ああ・へえ・หัวเราะ・พยักหน้า ส่วน あいづち ที่ใช้กับอ. มักจะเป็น พยักหน้า・หัวเราะ・はい (และมักปิดท้ายว่า わかりました)

   ผลจากการทำกิจกรรมในห้อง ทุกคนในคลาสผลออกมาเหมือนกันคือใช้ うん เยอะสุด ไม่ค่อยมีใครใช้ はい หรือ ええ ที่เป็นภาษาสุภาพ ขณะที่พี่ปีที่แล้วเกือบทั้งหมดจะใช้ はい เสียเยอะ

   どうしてだろう「(°ヘ°)

   แล้วคนญี่ปุ่นจริงๆ ใช้ยังไงกันแน่

   เวลาดูรายการไอดอลหรือช่วงทอล์คโชว์ในคอนจะรู้สึกอุไซ่มาก ยิ่งคนเยอะๆ ยิ่งได้ยินแต่ あいづち แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าอันไหนเงียบๆ ไม่ค่อยหืออืออะไรกันก็จะรู้สึกว่าพวกนี้ไม่ชอบหน้ากันหรือเปล่า

   อ.บอกว่าพิธีกรหญิงของ TBS ラジオcloud ถือเป็นตัวอย่างของคนที่ あいづち ดี ทำให้คนเล่าสามารถพูดเรื่องราวของตัวเองได้ลื่นไหล เราก็ลองไปฟังของเทป 2012.08.12「必死に走った話」มาค่ะ สรุป あいづち และสำนวนตอบรับของพิธีกรหญิงออกมาได้ดังนี้


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

   ① 流れ

   ไม่ได้แสดงความรู้สึกอะไรเป็นพิเศษ แต่ส่งเสียงเป็นครั้งคราวเพื่อเป็นการบอกว่า "ฟังอยู่นะ" หรือ "แล้วไงต่อคะ" เช่น

   見知らぬおじさんに「おい、おい」と傘でつんつん刺されました(うん)

   200メートルほど走って(うん)交番へ(ええ)

   そしてお巡りさんに「顔は見てないんですけど、50代くらいのおじさんが私を傘でつんつんしながら(笑)おいおいって威嚇してきたんです」と(笑)伝えました(はーい)

   私は喜んで、「たかの、たかの!」と叫びながらやつを追ってきましたが(はい)

   ② แสดงความเห็นด้วย

   こわいよね(うん)

   いいね(ですねー)そうね「諦めるな!」(ですね)ねー大事ですよね(はい)

   牛柄の牛っていいね?(笑)やー本当に(ね)牛柄の牛だったんですね(そうだったんですね)

   ③ แสดงความแปลกใจ・ตกใจ

   そして、おじさんは颯爽と電車をつかまえて乗ってきました(おおー)

   朝、通学時にバス停に走っていくことが多くて(えー)バスがちょっと遠くね、黄色のが見えてたら「ぶやー」と走るんですよね(へー)

   目の前で民家があったので、すぐ軒下に飛び込んだんです(はー)

   そしたら、その子は何とも断る雰囲気ではなさそう(は!)

   ④ หัวเราะ

   私は父親を不審者扱いって交番に届けた胸を正直に話しました(笑)

   当時60代だった父親は50代に間違えられたことを妙に喜んでいましたが(笑)

   すると、後ろから同じように走ってきたサラリーマン風のおじさんに「おい!諦めるな!」(笑)と言われました(大笑い)

   ⑤ ทวนคำ

   そこの牛が散歩から帰って来てだけだそうですが(自分で行って来れるんだー)

   ⑥ แสดงความคิดเห็นตัวเอง


   ただ残念ながらこんな興奮を超える興奮はもうあなたの人生にはないよ(何でそんなことをいうの)ないよ(笑)ないよだって(そうかな)17歳でしょう?(そうか)

   เป็นคนที่หัวเราะเยอะมาก หัวเราะจนขำตาม แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้ดูขัดจังหวะ เพราะส่วนใหญ่แล้วจะ あいづち หลังจากพูดจบประโยคแล้วหรือเว้นช่วงหลัง ~て ไม่ได้พูดหลังคำช่วยเหมือนเรา ._. มีการใช้ うん บ้าง はい・ええ บ้างสลับระดับกันไป

   ปล. แต่ละเรื่องสนุกทั้งนั้นเลยค่ะ(笑)


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

   อย่างไรก็ตาม あいづち นี้ต้องระวังนิดหนึ่งค่ะ คือใช้กับคนญี่ปุ่นหรือเพื่อนที่เรียนญี่ปุ่นด้วยกันน่ะได้ แต่เวลาไปหลุดตอนคุยกับเพื่อนคนอื่นหรือญาติๆ จะได้รับสายตาแปลกๆ เหมือนเราพูดแทรกเขา เคยหลุด "เห" ใส่ลูกพี่ลูกน้องแล้วได้รับคอมเม้นต์ว่า "อุทานญี่ปุ่นจัง" 

   นอกจากนี้ เราชอบใช้ うん ในภาษาญี่ปุ่นก็จริง แต่พอแปลเป็นไทยว่า "อืม" แล้วเราเกลียดมากเลย เพราะให้ความรู้สึกเหมือนผู้ฟังไม่ใส่ใจ หรืออย่าง "ฮะ/หา" ที่คนไทยอุทานกันประจำนั้น ถ้าไปฮะใส่คนญี่ปุ่นแรงๆ คนญี่ปุ่นก็อาจตกใจบ้าง เพราะบ้านเขาไม่ใช้กัน ดังนั้นการเป็น "ผู้ฟังที่ดี" ในแต่ละภาษาก็ต่างกันไปค่ะ ที่เซฟที่สุดคงเป็นหัวเราะกับพยักหน้าที่ใช้ทุกวัฒนธรรมละมั้ง...

   ก็ต้องระวังเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรมกันหน่อยเนอะ





プリム


วันเสาร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2560

タスク 4.2 ーもっといいストーリーのためにー


4月15日(土)
タスク 4.2 ーもっといいストーリーのためにー 

   อย่างที่บอกไปตั้งแต่บอกแรกสุดแล้วว่าเราเป็นคนชอบเขียนค่ะ และออกจะถนัดเรื่องสั้นเป็นพิเศษ เพราะเรื่องยาวเขียนไม่ค่อยจะจบ จำได้ว่าจุดเริ่มต้นคือราวๆ อนุบาล 3 เคยได้ยินเรื่องเด็กหญิงหิมะกันไหมคะ ที่มีคนปั้นหิมะขึ้นเป็นรูปเด็กผู้หญิง แล้วหิมะนั้นก็เกิดมีชีวิตขึ้นมาจริงๆ แต่พอถูกไอร้อนจากเตาผิง เด็กหญิงก็ละลายกลายเป็นแอ่งน้ำ


   โห...ตอนนั้นร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวรเลยค่ะ ไม่ชอบตอนจบเอามากๆ สุดท้ายแม่ไม่รู้จะปลอบยังไงแล้วก็บอกให้ "แต่งตอนจบใหม่ขึ้นเองสิ"

   เหมือนเกิดรัศมีแห่งการบรรลุอะไรสักอย่างเรืองรองอยู่บนหัว

   พอเริ่มโตอ่านหนังสือเองได้แล้วก็ก้าวสู่การเป็นหนอนหนังสือเต็มตัว รู้สึกว่าหนังสือเป็นอะไรที่มหัศจรรย์มากๆ เวลาอ่านจะหลุดเข้าไปในโลกของหนังสือนั้น ยิ่งไม่มีพี่น้อง ไม่มีเพื่อนบ้าน หนังสือยิ่งเป็นเหมือนเพื่อนที่อยู่กับเราตลอดเวลา


読む本の中で、いつも空想を膨らませていた
読み終わったとき、ちょっぴり寂しかったけど
それでも、本があれば大丈夫だと思った
ー国木田花丸ー
http://pa1.narvii.com/6273/a041d7175ddd9cccbc3029f2a4c2c302eabee7c9_hq.gif

   พออ่านมากๆ ได้พบเจอกับโลกหลายๆ ใบ ก็ค่อยๆ เปลี่ยนจากการอยากอ่านเป็นการอยากเขียนเรื่องของตัวเอง อยากสร้าง "โลก" ของตัวเองขึ้นมาบ้าง และขีดๆ เขียนๆ อะไรเรื่อยเปื่อยมาโดยตลอด


   แต่ถ้าจะบอกว่า "ก็เคยเขียนเรื่องมาแล้วนี่ เขียนเพิ่มอีกเรื่องน่าจะไม่ยากไม่ใช่เหรอ" ละก็ผิดถนัดเลยค่ะ

   การเขียนเรื่องเป็นภาษาไทยกับภาษาญี่ปุ่นมันคนละเรื่อง!

   ยิ่งเป็น 描写 ที่ต้องใช้ภาษาสวยๆ แล้ว ถึงจะเคยแต่งมาก่อนก็ใช่ว่าจะเขียนได้ง่ายๆ เพราะเราไม่ชอบการแต่งแบบแปล ให้แต่งเป็นภาษาอะไรก็จะแต่งเป็นภาษานั้นเลย ไม่มีการเขียนเป็นไทยก่อนแล้วค่อยแปลเอา

   สิ่งที่เราอาจจะพอมีพื้นคือ "ไอเดีย" ค่ะ เราจะคิดพล็อตได้เร็วเพราะอ่านเยอะ มีคลังส่วนนี้เยอะ แต่ที่ขาดแคลนมากๆ คือ "คลังคำ" เพราะยังอ่านหนังสือญี่ปุ่นไม่เยอะขนาดนั้น แล้วดันเลือกเรื่องยากอีก เลยทำให้ค่อนข้างไม่พอใจในผลลัพธ์แต่ก็ต้องส่งๆ ไปก่อน ตอนที่อาจารย์ถามว่า "ให้คะแนนตัวเองเท่าไหร่" และเราตอบไปว่า "ห้า" นั้นไม่ได้ถ่อมตัว แต่เป็นความรู้สึกว่ามันยังดีได้กว่านี้

   อนึ่ง ด้วยความที่เป็นเรื่องสั้นที่ถูกจำกัดทั้งเวลาทั้งพื้นที่ แถมยังมีกำแพงภาษาที่ไม่เคยปีนไปก่อน คะแนนเต็มในหัวของเราจึงเป็น "แปด" ดังนั้นห้าก็ไม่ใช่ว่าจะแย่อะไรขนาดนั้น...

   อาจจะดูเหมือนคน きびしい กับตัวเองไปหน่อย แต่มันเป็นอีโก้นักเขียนของเราเองน่ะค่ะ...

   พอให้แลกกันอ่านในห้องแบบปิดชื่อ (ที่ส่องเอาก็เห็นอยู่ดี) ก็ได้อ่านและคอมเม้นท์เรื่องของคนอื่นๆ และเพื่อนก็คอมเม้นท์ของเรามาเหมือนกันค่ะ ดังนี้


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   ข้อดี

   1. เขียนบรรยายละเอียดมาก

   2. ศัพท์ที่ใช้ดูสวยดี

   3. ชอบบรรยากาศเรื่อง ชอบธีมสับสนกับอนาคตตัวเอง จบสวย ดูอบอุ่น

   4. ชอบศัพท์ตอนบรรยายตอนทำแก้ว


   ข้อเสีย

   1. ย่อหน้าแรกระหว่างบรรยายว่าเดินอยู่ที่ไหนกับเรื่องวันเกิดมันดูเปลี่ยนเรื่องเร็วไปนิดหนึ่ง

   2. ตรง 私、欲しいものなんかわかりませんよ。อ่านแล้วแอบงงว่าคิดในใจหรือพูด

   3. 天才のない自分 → 才能のない自分/天才ではない自分

   4. ถ้ามีที่น่าจะเคาะบรรทัดแบบนิยาย จะช่วยให้แยกความคิดกับประโยคคำพูดได้มากขึ้น

   5. แล้วก็ประเด็นเรื่องตัวเอง ถ้ามีที่บรรยาย 心情 ตัวละคร แบบถ้าบรรยายให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของความคิดของตัวละครได้จะดีมาก


*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*

http://pa1.narvii.com/5800/1936ef46be55158bad20b730ac40891250a0f0ba_hq.gif

   ตอนที่เขียนด้วยความรีบเร่งก็เต็มไปด้วยความคิดว่า คนอื่นจะเข้าใจไหม จะเห็นภาพไหม จะรู้สึกถึงอะไรสักอย่างไหม แต่พอเห็นคอมเม้นท์ ทั้งในห้องทั้งในบล็อกที่แต่งใหม่...ก็ดีใจค่ะ ภาพที่อยู่ในหัวแต่ละคนคงไม่เหมือนกันหรอก จากตัวอักษรหน้ากระดาษเดียวอาจสามารถกลายเป็น "โลก" ที่ต่างกันเป็นสิบๆ ใบ...ร้อยๆ ใบ เป็นความเป็นไปได้ที่ไม่สิ้นสุด

   ซึ่งมันสุดยอดเลยนะ

   สำหรับข้อที่ควรแก้ไข อ่านแล้วก็รู้สึกว่า...เออแฮะ โดยเฉพาะข้อ 3 พอมาหาดูแล้วไม่มีใครใช้ 天才のない自分 จริงๆ ด้วย มีแต่อันที่เพื่อนแก้มา เลยแก้ตามที่เพื่อนบอกค่ะ ส่วนข้อ 4 และข้อ 5 นั้น เราก็อยากทำเหมือนกัน...แต่ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่...orz

   หลังจากได้ฟีดแบคจากทั้งเพื่อนและอาจารย์ ก็กลับมานั่งแก้และส่งไปอีกครั้ง การส่งครั้งสุดท้ายนี้เราให้คะแนน "เจ็ดเต็มแปด" ค่ะ แปลเป็นภาษาชาวบ้านทั่วไปได้ว่า "พอใจกับมันแล้ว"

   เราไม่ได้แก้เฉพาะคำผิด แต่มีทั้งตัดทิ้ง เพิ่มใหม่ สลับลำดับ รวบประโยค พลิกมันทั้งย่อหน้า ถ้าอ่านเทียบกับดราฟท์แรกก็จะมีส่วนที่ต่างพอสมควร และ 星空の玉 ฉบับสุดท้ายก็เป็นเช่นนี้ค่ะ (ถ้าขี้เกียจอ่านดูแค่ตรงที่ไฮไลต์ไว้ก็พอค่ะ)



*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*



星空の玉
 
 「大学に行くべきか、働くべきか、夜空は知っているかな」白い吐息がすぐに消えた。高校三年生の誕生日に、そんなくだらないことを思いながら才能のない自分のことや見えない将来のことを悩んで、一人で冬の夕暮れのにぎやかな商店街をぼんやり歩いていた。特にほしい物もないし、両親もたぶんプレゼントを買ってくれるが、何かを買いたい気持ちだった。しかし、買いたいものはなかなか見つからなかった。

 にぎやかな商店街の片隅に小さい屋台があった。たこ焼き屋やラーメン屋のような屋台ではなくて、黄色い電球形蛍光灯で飾ってあり、そのキラキラ光っている淡いイルミネーションがきれいだった。たくさんの釜が置いてあった。釜の中は何かのどろどろに溶かしている金色、真っ黒、青色、桃色などの液体がが輝いていた。その釜からの熱い水蒸気がまわりの空気を暖めていた。

  何を売っているんだろう。私の考えることがわかったかのように、釜たちの後ろに立っていたおじいさんが優しく微笑んでくれた。「ガラスを作るんですよ、お嬢さん。いかがでしょう?」私は考えずに、不思議とうなずいた。「じゃあ、何がいいでしょう?」と聞かれて、少し考えてみた。…特にありません。私、欲しいものなんかわかりませんよ。でも、何も言えずに、ただ首を横に振いて愛想笑いをした。おじいさんが柔らかく微笑んだ。「だったら、砂に任せようか」答えを待たずに彼は金色の釜に向いた。釜の中にある液体はとても甘いキャラメルにそっくりだった。「おいしそうでしょう。でもこれは砂だからね」彼は釜の中のどろどろのガラスを管の先にとって、優しく息をはいてガラスを少し膨らませた。金色の溶けたガラスが赤い玉の形になって、熱い玉が冷やされてとても透明な玉ができた。玉の一番上には穴があった。

 おじいさんが黒と青の溶けた砂をその玉の底に入れて、紫と白いのを少しずつ、絵を描くように、とても器用な手で玉の中にキラキラ夜空を作った。次、もう一度金色の砂の釜から管の先にほんの少し解けた砂を取った。管を吹きながら形を整えて、とても、とても小さな金色のガラス星ができた。おじいさんの動きが早くて、まるで魔法を使っていたかのようで、目を離せなかった。金色と桃色のちっちゃい星がたくさんできあがって、置いてあるガラスの星たちは光を受けてダイヤモンドのように輝いていた。いや、宝石よりもきれいだった。おじいさんの汗も幸せな笑顔もキラキラだった。おじいさんがその星たちを夜空につけて、もうできたと思ったら、おじいさんがもう一度青い砂を取った。少し形になると、私の大好きなイルカを作っているとわかった。どうしてわかるんだろう。まあ、たまたまかな。おじいさんが玉に水を入れて、そのガラスイルカを入れてから玉の穴を閉じた。最後に、銀色のネックレスにつけた。おじいさんが私に振り向いてきて、持っている物を見せてくれた。その小さな玉に星空がキラキラと輝いていて、水色のイルカが星たちの中で泳いでいた。言葉にできないくらいきれいなネックレスだった。

 「…いくらですか?」震えた声で聞いた。こんなきれいな物には持っているお金は足りるかと心配になったので、たったの500円だと聞いた時とても驚いた。本当にいいのかと迷っていながらお金を払った。私にネックレスを渡したおじいさんはこう言った。「夜空さえ手に入れたお嬢さんにとっては、何ができないでしょうね」

 それは心が迷子になっていた私にとって、大きな意味を持つことばだった。初めて心から笑い出した。もやもやした気持ちがその瞬間に消えたみたいだった。私はおじいさんにお礼を言って、背中を向けて帰ろうとした瞬間、おじいさんの声が聞こえてきた。「お誕生日おめでとう」

 私はすぐに振り向いたが、そこにはもうおじいさんの姿はいなかった。冷めた釜たちだけが残っていた。どこに行ってしまったんだろう。どうしてお誕生日だとわかったんだろう。私はしばらくそこに立ちつくしていたが、考えてもわからないことを諦めて、おじいさんの言葉と釜からのぬくもりを胸に抱いて、星空のネックレスを握って街に向かって走り出した。



*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   ปัญหาที่พบก็เป็นปัญหาคลาสสิกค่ะ แบ่งเป็น 2 หัวข้อใหญ่ตามเดิมคือ 1) ไวยากรณ์ และ 2) ความเป็น 日本っぽい

   1) ไวยากรณ์ มี 2 อย่างที่น่าสนใจคือ


   - ていく/てくる เจ้าเก่า หลังจากอ. บอกให้พยายามใช้ ทุกคนก็พยายามใส่ลงไปในเรื่องของตัวเอง แต่ก็มีทั้งที่ใส่เยอะไป กับไม่ใส่ในที่ที่ควรใส่อยู่ดี คราวนี้เราไม่มีปัญหาในส่วนนี้ คงไม่ต้องอธิบายหลักการใช้อะไรเพราะทุกคนก็เคยเรียนกันมาอยู่แล้ว แค่ต้องลองผิดลองถูกแล้วจำไปใช้ต่อไป

   - かのようだ เป็นอันที่อ. ดอกจันมาว่าใช้ผิดกันเยอะ ขอสารภาพว่าทังชีวิตไม่เคยใช้แกรมมานี้เลยเพราะคิดว่ามีแต่ のように/ような สองอย่างนี้ต่างกันแค่ か ที่มาคั่นกลางเท่านั้นเอง แต่มันต่างกันยังไง


https://japanesetest4you.com/flashcard/learn-jlpt-n2-grammar-%E3%81%8B%E3%81%AE%E3%82%88%E3%81%86%E3%81%A0-ka-no-you-da/

https://japanesetest4you.com/flashcard/learn-jlpt-n4-grammar-%E3%81%AE%E3%82%88%E3%81%
86%E3%81%AB%E3%81%AE%E3%82%88%E3%81%86%E3%81%AA-no-you-nano-you-ni/

   ถ้าแปลเป็นไทยแล้วทั้งคู่จะแปลได้ว่า "ราวกับ" ซึ่งไม่น่าแปลกเลยที่จะใช้ผิด แต่ถ้าดูภาษาอังกฤษแล้วน่าจะเข้าใจง่ายกว่าค่ะ


   かのようだ ใช้กับการเปรียบเทียบสิ่งที่ไม่เป็นจริงค่ะ เช่นตัวอย่าง 1 ตุ๊กตาตัวนี้ทำอย่างประณีตจนดูเหมือนกับมีชีวิต แต่ตุ๊กตาไม่ได้มีชีวิตจริงๆ คงแปลไทยเทียบได้กับ "อย่างกับว่า"

   ขณะที่ のように/ような เป็นการอุปมาว่า "เหมือนกับ" เปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่ง เช่นตัวอย่าง 2 เสียงร้องของเขาเหมือนกับเสียงสุนัขบาดเจ็บ ทั้งเสียงของเขา และเสียงของสุนัขเป็นเรื่องจริงทั้งคู่ (หมายถึงทุกคนย่อมมี 意識 ในหัวว่าสุนัขบาดเจ็บครางเสียงยังไง) และเอามาเปรียบเทียบว่าเหมือนกัน

   พอมาดูเรื่องของเรา ทั้ง 私の考えることがわかったかのように และ まるで魔法を使っていたかのようで เป็นการเปรียบเทียบแบบสมมติค่ะ คือคุณลุงไม่มีทางรู้ความคิดของเด็กหญิง และคุณลุงก็ไม่มีทางมีเวทมนต์ แค่เปรียบเทียบว่า "ราวกับเป็นอย่างนั้น"

   - テンス เท่าที่อ่านของทุกคน ส่วนใหญ่จะใช้เป็นรูปอดีต ซึ่งเท่าที่ลองหาดูแล้ว เรื่องที่ใช้รูปปัจจุบันก็มีไม่น้อยเลย อย่างในเว็บนี้เป็นต้น http://ncode.syosetu.com/n8234p/ (นิยายยาวๆ เองก็ใช้ปัจจุบันเป็นหลักเหมือนกัน แต่อดีตแทรกๆ บ้างตามบริบท ของภาษาอังกฤษก็ใช้ present เหมือนกัน) ส่วนความสุภาพนั้นส่วนใหญ่จะใช้ 普通刑 มากกว่า です・ます

   2. ความเป็นธรรมชาติ ตรงนี้หมายถึงสำบัดสำนวน คำศัพท์ที่คนญี่ปุ่นคิดว่าดู 日本っぽい มากกว่า ซึ่งไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากจำและนำไปใช้ (ฮา)

   - การรักษา "ประธาน" ของประโยค เราโดนเรื่องนี้หลายรอบแล้วแต่ก็ลืมทุกที 金色の溶けたガラスが赤い玉の形になって、熱い玉が冷やされてとても透明な玉ができた。ประโยคนี้ประธานคือ "แก้ว" ค่ะ แต่ตอนแรกเราเขียนเป็น 熱い玉を冷やして ซึ่งประธานจะกลายเป็น "คุณลุง" แทน จึงต้องเปลี่ยนเป็นรูปถูกกระทำ

   - 金色の溶けたガラス ตอนแรกเขียนเป็น 溶けた砂 แต่อ. คอมเม้นท์มาว่าทรายที่หลอมแล้วจะไม่เรียกว่าทรายค่ะ ต้องเป็นแก้ว




*・゜゚・*:.。..。.:*・☆*:.。..。.:*☆・*:.。. .。.:*・゜゚・*


   โดยสรุปแล้ว องค์ประกอบของการเขียน 描写 ที่ดีนั้นมีดังนี้

   1) จินตนาการและความสนุกในการเขียน สร้างโลกของตัวเองขึ้นมาให้ได้ก่อน ถ้าขาดข้อนี้ไปมันจะกลายเป็น 説明文 ค่ะ

   2) วรรณศิลป์ การเลือกใช้คำสำคัญมาก เช่น การบรรยายให้ละเอียด คำแสดงความรู้สึก คำที่ทำให้เกิดความรู้สึกร่วม อย่าสั้นไป อย่าเวิ่นไป ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่เขียน

   3) จังหวะและการตัดบรรทัด ถ้าเป็นเรื่องที่มีไคลแม็กซ์ก็บรรยายตรงนั้นช้าๆ ชัดๆ ตัดบรรทัดให้ถูกช่วง (ถ้าเป็นพรืดเกินไปคนอ่านก็อาจจะไม่อยากอ่าน) เน้นส่วนที่ต้องการให้เห็นภาพหรือสื่ออารมณ์

   4) ไวยากรณ์และการใช้คำ ไม่มีอะไรพูดมาก ต้องเจ็บแล้วจำกันไปจนกว่าจะใช้ถูก

   ก็ประมาณนี้

   โดยส่วนตัวแล้วชอบ 描写 มากกว่า 紹介文 (タスク3) นะ จะเขียนอะไรก็ได้ ไม่ต้องแคร์ความจริงนัก (แต่ก็ค้นรีเสิร์ชอ้างอิงเป็นบ้าเหมือนกัน) แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้มั่นใจในเรื่องที่เขียนเลยสักนิดเดียว

   เป็นคนไม่ชอบให้คนอื่นอ่านเรื่อง เพราะรู้สึกว่ายังเขียนได้ไม่ดี แต่บางทีสิ่งที่เราขาดที่สุดอาจจะเป็น "ความมั่นใจ" ก็ได้ การได้รับทั้งคำติและคำชมก็สำคัญเหมือนกัน เพื่อจะได้ปรับปรุงและทำให้เรื่องเขียนของเราสมบูรณ์มากขึ้น

   自信を持って、もっと書こう!

https://ncache.ilbe.com/files/attach/new/20170304/14357299/8984774848/
9526772658/d09524f0e0aab6340c929229863932a6.gif


プリム